เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ
ขอหยิบpกเรื่องที่ คุณวิบูลย์ อิงคากุล นำมาบอกเล่าผ่านทางFB
🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀
7 เมษายน 2565
เมื่อภรรยาผม (70ปี) เป็นสโตรกหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม4
เรื่องที่นำมาเล่านี้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของคนที่ไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็ม4 เข็มกระตุ้น (Booster) ที่รณรงค์กันว่าในคนที่สูงวัยการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม4จะป้องกันการติดโอมิครอนได้ดีมากเพราะแม้จะติดโอมิครอนก็จะไม่เป็นอันตรายแก่ชีวิต ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 ผมจึงพาภรรยาไปฉีดไฟเซอร์เข็ม4 ก่อนเข้าไปฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาล เราก็ไปนั่งกินข้าวกลางวันกันที่ศูนย์การค้าเปิดใหม่ที่อยู่ติดกับโรงพยาบาลนั้น เรากินกันอย่างเอร็ดอร่อยเมื่อเวลาก่อนเที่ยงเล็กน้อย กินข้าวเสร็จแล้วก็เดินมาที่โรงพยาบาลระยะทางประมาณ200เมตรเพื่อฉีดวัคซีนโดยภรรยาของผมไม่มีอาการเหนื่อยอ่อนที่ผิดปกติใดๆเลย ไม่มีอาการอ่อนเพลียแม้แต่น้อย เรายังพูดคุยกันปกติ ภรรยาของผมยังบ่นถึงและยังคงขยาดจากการฉีดเข็ม3เมื่อหลายเดือนก่อนที่ฉีดไปแล้วเธอนอนโทรมแบบอ่อนเปลี้ยเพลียแรงด้วยพิษไข้อยู่ 3-4วัน เธอยังปรารภด้วยกลัวว่าการฉีดไฟเซอร์ในวันนี้จะมีอาการอย่างที่เคยเป็นนั้นอีกหรือไม่เพราะทำให้รู้สึกแย่มากๆ
เมื่อเดินมาถึงโรงพยาบาลที่ฉีดวัคซีนพยาบาลก็จัดการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม4 เรียบร้อยโดยใช้เวลาไม่นาน เสร็จแล้วก็นั่งพักประมาน15 นาทีและตรวจวัดความดันโลหิต ปรากฎว่าทุกอย่างปกติไม่มีปัญหาอะไรเลย จึงให้กลับบ้านได้ เราก็เดินมาที่ลิฟท์เพื่อจะไปที่จอดรถ ก่อนเข้าลิฟท์เพื่อนที่ทำงานที่โรงพยาบาลนั้นก็ยังมาส่งเรากลับบ้าน ภรรยาผมก็ยังพูดคุยหยอกล้อกันแบบปกติไม่มีอาการที่ผิดปกติอะไรเลย เมื่อเดินออกจากอาคารโรงพยาบาลเพื่อไปที่จอดรถ เดินพ้นประตูโรงพยาบาลมาได้ 4-5 ก้าวเท่านั้นภรรยาผมเริ่มก้าวขาไม่ออก ผมจึงรีบเข้าไปจับแขนและถามว่าเป็นอะไรหรือเปล่า เธอก็ตอบอะไรฟังไม่รู้เรื่องเหมือนมีอะไรอมคับปากอยู่ซึ่งเป็นอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับภรรยาผมแล้ว ผมจึงขอให้พยาบาลที่เข็นเตียงส่งคนป่วยอยู่ตรงนั้นพอดีรีบพาภรรยาผมเข้าห้องฉุกเฉินในทันที
เมื่อแพทย์ทางสมองได้มาตรวจ เขาจึงพาไปทำCT Scan ทันทีแล้วได้นำผลมาให้ผมดูจึงรู้ว่ามีลิ่มเลือดไปติดอยู่ในเส้นเลือดที่สมองซีกขวาด้านใกล้หน้าผาก ต้องรีบดูดลิ่มเลือดออกโดยด่วนด้วยการสอดสายยางตรงข้างเอวขึ้นไปที่เส้นเลือดที่สมองตรงจุดที่มีลิ่มเลือดติดค้างคาอยู่ ที่สุดก็ดูดออกมาได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก หลังจากนั้นก็ส่งภรรยาผมไปนอนในห้องICUเพื่อเฝ้าดูอาการและให้ผมกลับบ้านได้ คืนนั้นกลับบ้านด้วยความทุกข์ทรมานและไม่สบายใจมากๆเพราะเราอยู่ด้วยกันและไปไหนต่อไหนสองคนตลอด ไม่เคยแยกจากกันแบบนี้เลย
วันรุ่งขึ้นผมรีบไปดูอาการภรรยาผมที่โรงพยาบาลอีกครั้งก็ได้รับแจ้งว่าภรรยาผมมีอาการซึมอยู่ไม่รู้ว่าเพราะเหตุใด อาการยังไม่ตอบสนองดีนักและไม่ค่อยรู้สึกตัว หมอจะต้องนำเข้าเครื่องตรวจสอบดูว่าเกิดอะไรขึ้น พอตกบ่ายก็นำภรรยาผมไปทำComputer Scan เพื่อดูสมองส่วนที่มีลิ่มเลือดว่าเหตุใดดูดลิ่มเลือดออกแล้ว ยังไม่ฟื้นคืนดีได้ แพทย์ที่ทำการตรวจก็แจ้งผลการตรวจว่าภรรยาผมมีสโตรกชนิดลิ่มเลือดที่เส้นเลือดใหญ่ในสมอง บริเวณสมองส่วนนั้นมีเลือดออกอยู่และมีอาการบวม ยังไม่พ้นขีดอันตรายและจะติดตามใกล้ชิดในห้องICUต่อไป
เย็นวันนั้นผมกลับถึงบ้านด้วยความอ่อนเพลียและเป็นห่วงกังวลอย่างมากในอาการของภรรยา พอถึงเวลาประมาณสามทุ่มเศษ ก็มีพยาบาลโทรมาแจ้งว่ากำลังจะนำภรรยาผมเข้าตรวจCT Scanอีกครั้งหนึ่งเพื่อตรวจส่วนที่บวมในสมองด้านซ้ายส่วนหน้าว่ายังมีเลือดไหลอยู่อีกหรือไม่ โดยจะรู้ผลในทันทีเพราะกลัวว่าการบวมในสมองจะลามไปถึงแกนสมองที่อาจเป็นอันตรายได้ ประมาณ เวลา 22.00 น. พยาบาลได้โทรมาอีกครั้งบอกว่าสมองส่วนนั้นยังบวมและมีเลือดไหลอยู่ แพทย์ที่ดูแลจึงตัดสินใจจะนำภรรยาผมเข้าห้องผ่าตัดโดยด่วน การผ่าตัดต้องผ่ากระโหลกศีรษะออกเพื่อเข้าไปดูเนื้อสมองที่บวมและเลือดออกนั้นและจะนำเนื้อสมองส่วนนั้นมาตรวจสอบทางพยาธิว่ามีการติดเชื้อหรือเกิดจากอะไรที่ทำให้บวมและมีเลือดออกอยู่ คืนนั้นห้าทุ่มเที่ยงคืนแล้วผมไม่เป็นอันนอนเลย แต่ก็นอนแบบหลับๆตื่นๆด้วยความกังวลใจและห่วงใยว่าการผ่าตัดจะเกิดเหตุร้ายแรงอะไรตามมาหรือไม่ เมื่อถึงเวลา 03.00น.จึงรีบโทรไปที่ห้องICUของโรงพยาบาลเพื่อสอบถามผลภายหลังการผ่าตัดได้รับแจ้งจากพยาบาลว่ามีการผ่าตัดตั้งแต่เวลา23.00น.ถึง02.30น.โดยมีการตัดกระโหลกออกไปบางส่วนเพื่อดูสมองส่วนที่บวมและเลือดออก การผ่าตัดเป็นไปด้วยดีไม่มีเหตุแทรกซ้อนอันตรายใดๆ แต่ภรรยาผมยังคงไม่รู้สึกตัวอยู่
เช้าวันรุ่งขึ้น (วันที่ 26 มีนาคม) ผมจึงรีบเดินทางไปที่โรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการหลังผ่าตัด ก็มีเพื่อนอีกสองคนมาเฝ้าติดตามอาการด้วยเช้าวันนั้น พวกเราได้เข้าไปดูในห้องพักฟื้นICUก็ยังเห็นภรรยาผมหลับไหลไม่ได้สติและยังไม่ฟื้นจากการผ่าตัด
กลางวันวันนั้นเองพยาบาลโทรมาบอกผมว่าทางโรงพยาบาลจุฬาฯพร้อมจะรับโอนภรรยาผมไปดูแลและรักษาต่อ บ่ายวันนั้นจะย้ายไปโรงพยาบาลจุฬาฯที่ตึกภูมิสิริมังคลานุสรณ์ชั้น18 ในแผนกStroke ICU ที่ผมได้ไปติดต่อไว้ก่อนหน้านี้หนึ่งวัน(เพราะภรรยาผมเป็นคนไข้ที่รักษาประจำที่โรงพยาบาลจุฬาฯ)เพื่อการตรวจรักษาต่อเนื่อง ไม่นานหลังจากนั้นในตอนบ่ายวันที่ 26 มีนาคมจึงได้ย้ายภรรยาผมไปที่โรงพยาบาลจุฬาฯขณะเคลื่อนย้ายไปภรรยาผมก็ยังหลับไหลไม่ได้สติอยู่
ภรรยาผมย้ายมาอยู่ในICUที่ตึกภูมิสิริฯ ตั้งแต่วันที 26 มีนาคม มารับการรักษาพยาบาลที่แผนกICU Strokeที่โรงพยาบาลจุฬาฯอาการสมองบวมและเลือดออกก็ค่อยๆทุเลาขึ้นทีละนิดตามลำดับ แต่ก็ยังเป็นอันตรายอยู่ บางครั้งมีน้ำในปอดมาก บางครั้งหัวใจเต้นเร็วผิดปกติมาก
แพทย์ที่ดูแลแจ้งว่าได้ย้ายภรรยาผมจากICU Stroke ไปอยู่Stroke Unitแล้ว เมื่อไหร่ภรรยาผมกลับสู่ภาวะที่ไม่วิกฤตแล้ว กล่าวคือสมองไม่บวมเลือดไม่ไหลและหัวใจเต้นเป็นปกติซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกพักหนึ่ง(แต่ยังบอกไม่ได้ว่าเมื่อไหร่แน่) ก็จะให้กลับบ้านได้
ผลจากการเป็นสโตรกครั้งนี้ทำให้ซีกซ้ายของร่างกายเป็นอัมพาต มือเท้าด้านซ้ายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลย การพูดจาสื่อสารก็ทำไม่ได้ แต่สามารถฟังและทำตามคำสั่งได้ มือขวาและเท้าขวาเคลื่อนไหวได้
ที่นำประสบการณ์เรื่องนี้มาเล่าสู่กันนั้นก็อยากชี้ให้เห็นถึงอันตรายจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้โดยเฉพาะคนที่มีโรคภัยต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ เป็นต้น โดยเฉพาะคนที่เคยเกิดอาการแพ้หลังฉีดไฟเซอร์มาก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะฉีดเข็มที่2หรือ3ก็ตาม หากภายหลังการฉีดก่อนหน้านี้เคยมีอาการไข้มากหรือแพ้หนักๆก็ต้องชั่งใจให้ดีนะว่าจะฉีดวัคซีนโควิด-19เข็มกระตุ้นเข็ม4หรือไม่ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงถึงชีวิตหรืออันตรายแสนสาหัสอย่างที่ภรรยาผมได้พบเจออย่างไม่คาดถึง
เหตการณ์ครั้งนี้นับเป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงที่สุดในชีวิตของภรรยาผมและของผม ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าถ้าให้เลือกได้ขอป่วยเป็นโอมิครอนจะดีกว่ามาเป็นสโตรกอย่างนี้ที่จะต้องทนทุกข์ทรมาน ร่างกายซีกซ้ายเป็นอัมพาต พูดจาสื่อสารไม่ได้อย่างนี้ไปอีกนานเท่าใดก็ไม่รู้
ประสบการณ์ชีวิตครั้งนี้ร้ายแรงที่สุดและเป็นวิกฤตการณ์ของชีวิตอย่างมาก ไม่เฉพาะกับภรรยาผมเท่านั้น ทุกคนในบ้านก็วิกฤตทุกข์ทรมานไปด้วยเหมือนกัน เช่นเดียวกับญาติมิตรทั้งหลายที่มีความห่วงใยและกังวลใจในสโตรกของภรรยาผมกันทั้งนั้น ผมหวังว่าเธอคงจะค่อยๆมีอาการดีขึ้น ซึ่งจะต้องกินเวลานานเท่าไหร่ก็ยังไม่รู้เลย รู้แต่ว่าสุขภาพและสภาพร่างกายคงไม่ฟื้นฟูกลับมาเหมือนเดิมแน่นอน
🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀
6 พฤษภาคม 2565
พรุ่งนี้(วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2565)ภรรยาผมกำลังจะออกจากห้อง stroke unit ของโรงพยาบาล เพื่อไปฟื้นฟูและเฝ้าดูแลกันต่อที่บ้าน
ภรรยาผมเกิดอาการสโตรกเฉียบพลันในเวลาครึ่งชั่วโมงหลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มกระตุ้นเข็มที่ 4 ภรรยาผมต้องทนทุกข์ทรมานนอนอยู่ในห้องICUจนถึงวันพรุ่งนี้เป็นเวลาทั้งสิ้น 1 เดือน13 วันซึ่งนับเป็นเวลาวิกฤตที่สุดในชีวิตของเราทั้งสองคนและของครอบครัวเรา ภรรยาผมถูกผ่าตัดใหญ่ 2 ครั้งที่กะโหลกศีรษะกับผ่าตัดย่อยอีก1ครั้ง
เหตุสโตรกที่เกิดขึ้นกับภรรยาผมนั้น ผมเชื่อว่ามันมาจากผลของวัคซีนไฟเซอร์เข็มกระตุ้นแน่นอน จึงเกิดสโตรกแบบรวดเร็วภายใน 30 นาทีนับจากการฉีดวัคซีน ผลการฉีดมันก็ได้ก่อเกิดเหตุสโตรกอันน่าสะพรึงกลัวอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะภรรยาผมมีจุดอ่อนจากสุขภาวะของร่างกายอันมาจากโรคเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลินทุกวัน จึงเป็นจุดอ่อนที่วัคซีนไฟเซอร์เป็นตัวกระตุ้น(Trigger) ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ แล้วสร้างลิ่มเลือดขึ้นไปอุดตันที่สมองด้านขวาจึงทำให้ซีกซ้ายของร่างกายเป็นอัมพาตทั้งหมด แม้แต่การพูดและกินอาหารก็ไม่สามารถทำได้ ต้องให้อาหารทางสายยางและให้เฉพาะอาหารเหลวเท่านั้น
ดังนั้นผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลสูงมาก หรือมีความดันสูงมาก จึงควรหลีกเลี่ยงการไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างเฉียบพลันและโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างยิ่งเหมือนอย่างที่ภรรยาผมได้ประสบอยู่ในขณะนี้
ก่อนไปรับวัคซีนเข็ม 4 นี้ แม้จะเคยเห็นรายงานข่าวการต่อต้านการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดอยู่บ้างที่หลายประเทศในยุโรปและอเมริกาที่ได้มีการประท้วงอย่างรุนแรง แต่ก็ไม่คิดว่าการคัดค้านต่อต้านการฉีดวัคซีนจะมีเหตุผลที่ดี เพราะก็เห็นกันอยู่แล้วว่ามีการแพร่ระบาดของโรคโควิดที่กว้างขวางและรุนแรงจนทำให้ผู้คนเจ็บป่วยล้มตายไปมากมายทั่วโลก
แต่ข้อมูลเกี่ยวกับพิษสง ผลเสียและผลข้างเคียงที่เกิดจากวัคซีนป้องกันโรคโควิดนี้ก็ไม่ค่อยมีมากนัก และเราก็ไม่ได้เข้าถึงข้อมูลของผลร้ายดังกล่าว โดยเฉพาะข้อมูลว่าคนที่มีโรคประจำตัวอยู่ เช่น เบาหวาน, ความดันเหล่านี้ควรไปฉีดวัคซีนหรือไม่โดยเฉพาะวัคซีนเข็มกระตุ้นที่อาจเป็นอันตรายแก่คนป่วยเหล่านี้(ยิ่งเป็นผู้สูงวัยด้วยจะเป็นอันตรายแค่ไหนเพียงใด) ข้อแนะนำและข้อมูลเหล่านี้ไม่เคยมีการรับรู้เลย เราทั้งสองวางใจเกินไปที่เชื่อว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นยังไงก็ปลอดภัย แม้ว่าต้องนอนโทรมจากพิษไข้อยู่หลายวันภายหลังการฉีดเข็ม3ก่อนหน้านี้ แต่ที่ไหนได้วัคซีนเข็มกระตุ้นเข็ม 4 นี้ได้สร้างตราบาปในหัวใจให้ภรรยาและผมรวมทั้งลูกหลาน ไม่คาดคิดเลยว่าการฉีดวัคซีนเข็ม 4 นี้มันจะมีพิษสงร้ายแรงที่สุดและมีความเสี่ยงต่อชีวิตอย่างยิ่งถึงขนาดที่ต้องผ่าตัดสมองถึง 3 ครั้งและนอนในห้องคนไข้วิกฤต (ICU)นานหลายสัปดาห์ที่สุดแสนทรมานแก่ทั้งคนไข้ที่อยู่ในห้องICUและญาติพี่น้องเพื่อนฝูงนอกห้องICU มากมายที่มีแต่ความกังวลและความห่วงใยไปด้วย
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพราะคนไทยยังขาดข้อมูลถึงผลเสียร้ายแรงและพิษสงของวัคซีนที่น่าจะเปิดเผยให้ผู้คนได้รับรู้มากกว่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสูงและมีความดันโลหิตสูง ข้อมูลเช่นนี้กระทรวงสาธารณสุข คณะผู้ทำงานเรื่องโควิด แพทย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายควรจะต้องเปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้ในวงกว้าง อย่าปล่อยให้ประชาชนต้องเสี่ยงภัยเองโดยไร้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจว่าสมควรไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster)หรือไม่ หากมีข้อมูลให้ประชาชนคิดและตัดสินใจเองได้ก็จะแบ่งเบาภาระของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ต้องมารักษาพยาบาลผู้ป่วยอันเกิดจากการฉีดวัคซีนรวมทั้งจะเป็นการประหยัดค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่เป็นผลมาจากการฉีดวัคซีนนี้ได้มากมาย เพราะหากประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น เขาอาจตัดสินใจที่จะเสี่ยงเป็นโรคโควิดมากกว่าที่จะมาเป็นสโตรกและร่างกายเป็นอัมพาตหรือโรคอื่นๆอันเกิดจากพิษสงของวัคซีนอันมีผลกระทบต่อคุณภาพของชีวิตอย่างมากและระยะยาว