วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

มาตรการโควิด ทำให้มีผู้เสียชีวิต เพิ่มมากขึ้น

 เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ  

การระบาดของโรคโควิด-๑๙ สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้คนในสังคมมากมาย ความตื่นตระหนกดังกล่าว เกิดขึ้นเพราะความกลัวที่ว่า ติดโควิดแล้ว “ตายได้” มาตรการต่างๆนานา จึงถูกกำหนดมาเพื่อ “ลดอัตราการตาย” ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเว้นระยะห่าง มาตรการปิดบ้านปิดเมือง ตลอดจนการระดฉีดวัคซีน มาตรการเหล่านี้ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล มีคนตกงานเพิ่มขึ้นมากมาย ธุรกิจรายเล็กมากมายต้องปิดกิจการลง ทุกคนยอมทำตามเพื่อเป้าหมายเดียวกัน “ลดอัตราการตาย” แต่หลังจากดำเนินการมาครบสองปี เป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นไปตามคาดหวังไหม?


จากข้อมูลสถิติผู้เสียชีวิตของประเทศไทย ในปี ๒๕๖๔ คนไทยเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ 563,650 ราย ในจำนวนนี้เป็นการเสียชีวิตจากโควิด-๑๙ 14,509 ราย โดยเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๖๓ ถึง 62,212 ราย หรือเพิ่มขึ้น 12.4% โดยในปี ๒๕๖๓ มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 501,483 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตจากโรคโควิด-๑๙ 7,163 ราย ที่น่าสนใจคือ หากเทียบกับปี ๒๕๖๒ ที่ยังไม่มีการระบาดของโรคโควิด-๑๙ในประเทศไทย อัตราตายในปี ๒๕๖๓ ลดลงประมาณ 1% ผิดจากปี ๒๕๖๔ ที่มีอัตราตายเพิ่มขึ้นถึง 12% โดยที่แม้ว่าจะตัดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-๑๙ ออกแล้วยังมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุอื่นๆเพิ่มขึ้นถึง 47,703 ราย


ในปี ๒๕๖๓ มาตรการต่างๆที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาโควิด-๑๙ ไม่แตกต่างจากมาตรการในปี ๒๕๖๔ มีเพียงข้อเดียวที่ต่างกันคือ ในปี ๒๕๖๓ ไม่มีการระดมฉีดวัคซีน ในขณะที่ปี ๒๕๖๔ มีการระดมฉีดวัคซีนหนึ่งร้อยล้านโดส

          หากพิจารณาจำนวนผู้เสียชีวิตรายเดือนจะเห็นว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จะเห็นเริ่มเห็นความแตกต่างระหว่างจำนวนผู้เสียชีวิตในปี ๒๕๖๔ กับปีอื่นๆ ความแตกต่างนี้จะเห็นชัดเจนมากขึ้นตามลำดับเดือนถัดๆมา ในเดือนสิงหาคมที่มีการระบาดสูงสุด จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก ที่น่าสนใจคือ ภายหลังจากพีคสูงสุดในเดือนสิงหาคม ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-๑๙ ก็ลดลงมาเป็นลำดับโดยตลอด ตรงกันข้ามกับยอดเสียชีวิตโดยรวมที่ยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้มาจากไหน มาตรการที่ใช้ในปี ๒๕๖๔ ต่างจากมาตรการที่ใช้ในปี ๒๕๖๓ อย่างไร ทำไมทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น






















          หากการอ้างบังคับใช้มาตรการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาโควิดเป็นไปเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของคนไทย ข้อมูลของปี ๒๕๖๔ ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่า มาตรการเหล่านั้น “ล้มเหลว” ที่สำคัญ เป็นมาตรการล้มเหลวที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจซบเซาเป็นอย่างมากด้วย คำอ้างที่บอกว่า ยอมสูญเสียทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาชีวิต จึงเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น  ถึงเวลาหรือยังที่รัฐบาล ผู้มีอำนาจ หรือ ข้าราชการที่มีความจริงจังและจริงใจในการแก้ปัญหาของประเทศ จะทบทวนแนวทางการแก้ปัญหาที่ผ่านมา และพิจารณาแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น การดึงดันในแนวทางเดิมโดยไม่มีการทบทวนข้อมูลจริงที่เกิดขึ้น จะทำให้การแก้ปัญหาล่าช้า และสร้างความเสียหายกับประเทศมากยิ่งขึ้น









📝 : นิลฉงน นลเฉลย



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องเล่าหลังเข็ม 4

  เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ ขอหยิบpกเรื่องที่ คุณวิบูลย์ อิงคากุล นำมาบอกเล่าผ่านทางFB 🕀🕀🕀...