วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565

ปัญหาของใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ สำหรับนักเรียนก่อนประถมและชั้นประถม

 เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ 

ปัญหาของใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty)สำหรับนักเรียนก่อนประถมศึกษาและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่มีอายุ 5 ปี ถึง 11 ปี 11 เดือน 29 วัน

จากการที่คณะกรรมการอาหารและยาได้ให้การอนุมัติฉุกเฉินให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty) กับเด็กเล็กอายุ 5 ถึง 11 ปี โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำใบยินยอมเพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนไฟเซอร์ก่อนที่จะลงนามยินยอมให้เด็กในปกครองได้รับการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ดีใบยินยอมดังกล่าวมิได้ระบุข้อมูลที่สำคัญหลายประการเป็นเหตุให้ผู้ปกครองไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.      ในส่วนของข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด มิได้ระบุว่า อัตราเสียชีวิตจากโรคนี้ในเด็กกลุ่มอายุนี้ของไทยอยู่ที่เพียง 7 ในล้านราย[1] และเด็กส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตมีโรคประจำตัวอื่นๆอาทิ โรคมะเร็ง โรคแพ้ภูมิตนเองที่อาจเป็นเหตุให้เสียชีวิต

2.      ในส่วนความสำคัญของวัคซีนโควิด มีการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ว่า “การฉีดวัคซีนในเด็กตั้งแต่อายุ 5 ถึง 11 ปีจึงมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอที่จะป้องกันโควิด 19” ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว

2.1.   เด็กในวัยนี้มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดีอยู่แล้ว วัคซีนจึงไม่ใช่ความจำเป็น

2.2.   จากรายงานการวิจัยของบริษัทยาเองวัคซีนไฟเซอร์มิได้ป้องกันการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อได้ การระบุว่าเพื่อป้องกันโควิด 19 จึงเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ[2]

 

3.      ในใบยินยอม มิได้ระบุว่า วัคซีนที่ใช้เป็นการให้ใช้ ภายใต้การ “อนุมัติฉุกเฉิน”[3] (Emergency Use Authorization, EUA)[4] มิใช่การขึ้นทะเบียนตามปกติ การอนุมัติฉุกเฉินที่ข้ามขั้นตอนการทดสอบความปลอดภัยตามปกติ และปกป้องมิให้ บริษัทต้องรับผิดชอบใดๆหากเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงสำคัญที่ผู้ปกครองควรได้รับรู้

4.   ในใบยินยอม มิได้ระบุว่า การวิจัยเพื่อทดสอบความปลอดภัยของวัคซีนไฟเซอร์ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการและจะเสร็จสิ้นลงในปีพุทธศุกราช ๒๕๖๘[5] การมิได้ระบุข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า วัคซีนไฟเซอร์นั้นได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยแล้ว




5.      ในใบยินยอมระบุว่าเป็นวัคซีนมีประสิทธิภาพ ความปลอดภัยสูงสามารถป้องกันการเจ็บป่วย และช่วยลดความรุนแรงของโรคได้” ซึ่งไม่เป็นความจริง เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ตลอดจนไม่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งนี้จากรายงานการวิจัยที่สนับสนุนทุนโดยบริษัท ไฟเซอร์เอง[6] ซึ่งลงตีพิมพิ์ในวารสารทางการแพทย์ของนิวอิงค์แลนด์ (January 6, 2022 N Engl J Med 2022; 386:35-46 DOI: 10.1056/NEJMoa2116298) ได้ระบุในหน้า 43 ภายใต้หัวข้อ “ประสิทธิภาพ” (Phase 2-3 Efficacy) ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “No cases of severe Covid-19 or MIS-C were reported” ไม่มีการรายงานผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือ มีภาวะอักเสบหลายระบบ (MIS-C) กล่าวคือ ไม่พบผู้ป่วยโควิดรุนแรงหรือ มีภาวะ MIS-C ทั้งในกลุ่มทดลองที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์และในกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก ซึ่งทำให้ ไม่สามารถสรุปได้ว่า วัคซีนไฟเซอร์สามารถป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง หรือ ป้องกันภาวะ MIS-C ได้ ทั้งนี้รายงานวิจัยดังกล่าวเป็นรายงานการวิจัยเดียวกันที่ทางบริษัทใช้ยื่นในการขออนุมัติฉุกเฉินจาก คณะกรรมการอาหารและยา

6.      มีรายงานการพบว่าเกิดภาวะ MIS-C ในเด็กที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ได้[7] จึงควรระบุในใบยินยอมว่า วัคซีนไฟเซอร์อาจทำให้เกิดภาวะ MIS-C ได้

7.      ในใบยินยอม ระบุผลข้างเคียงที่พบ น้อยกว่าที่พบจริง ทั้งนี้ ในใบยินยอมดังกล่าวระบุผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ น้อยกว่า ที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา ของบริษัทยาเอง ที่สำคัญมิได้ระบว่า วัคซีนสามารถทำให้เสียชีวิต หรือมีโอกาสพิการได้

8.   มีข้อมูลภายหลังที่ระบุชัดเจนว่า บริษัทยามีความพยายามในการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีนไฟเซอร์นี้ โดยพยายามปิดข้อมูลดังกล่าวเอาไว้  75 ปี ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสาธารณะที่ ศาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีคำตัดสินให้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ และสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://phmpt.org/pfizers-documents/ แต่มิได้มีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใส่ไว้ในใบยินยอม

ตามคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย[8] ข้อที่ ๒.ระบุว่า “ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูล “ที่เป็นจริง”และเพียงพอ เกี่ยวกับการเจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษา จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติต่อตน” การที่ ใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty)สำหรับนักเรียนก่อนประถมศึกษาและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่มีอายุ 5 ปี ถึง 11 ปี 11 เดือน 29 วัน ของกระทรวงสาธารณสุข มิได้ระบุข้อมูลที่เป็นจริง และพอเพียง ตามที่ระบุในรายละเอียดข้างต้นจึงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรมทางการแพทย์ ขัดต่อสิทธิอังพึงมีของผู้ป่วยตามประกาศของแพทยสภาอย่างชัดเจน จึงขอให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงใบยินยอมดังกล่าวให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นหากมีผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ เกิดผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนนี้ ใบยินยอมดังกล่าวจะไม่สามารถปกป้อง บุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ทำการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ใหักับผู้ป่วยได้ แม้ว่า ผู้ป่วยหรือผู้ปกครองจะลงนามให้การยินยอมแล้วก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากถือว่า บุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ทำการฉีดวัคซีนให้กับผู้ป่วย “จงใจให้ข้อมูลที่บิดเบือนไม่ตรงกับข้อเท็จจริง” ผลจากการกระทำนี้ อาจทำให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการฉีดวัคซีน สามารถฟ้องร้องเอาผิดและเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคลากรทางการแพทย์คนดังกล่าวได้










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องเล่าหลังเข็ม 4

  เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ ขอหยิบpกเรื่องที่ คุณวิบูลย์ อิงคากุล นำมาบอกเล่าผ่านทางFB 🕀🕀🕀...