วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

เรื่องเล่าหลังเข็ม 4

 เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ

ขอหยิบpกเรื่องที่ คุณวิบูลย์ อิงคากุล นำมาบอกเล่าผ่านทางFB

🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀

7 เมษายน 2565

เมื่อภรรยาผม (70ปี) เป็นสโตรกหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม4


เรื่องที่นำมาเล่านี้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของคนที่ไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็ม4 เข็มกระตุ้น (Booster) ที่รณรงค์กันว่าในคนที่สูงวัยการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม4จะป้องกันการติดโอมิครอนได้ดีมากเพราะแม้จะติดโอมิครอนก็จะไม่เป็นอันตรายแก่ชีวิต  ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 ผมจึงพาภรรยาไปฉีดไฟเซอร์เข็ม4 ก่อนเข้าไปฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาล เราก็ไปนั่งกินข้าวกลางวันกันที่ศูนย์การค้าเปิดใหม่ที่อยู่ติดกับโรงพยาบาลนั้น เรากินกันอย่างเอร็ดอร่อยเมื่อเวลาก่อนเที่ยงเล็กน้อย  กินข้าวเสร็จแล้วก็เดินมาที่โรงพยาบาลระยะทางประมาณ200เมตรเพื่อฉีดวัคซีนโดยภรรยาของผมไม่มีอาการเหนื่อยอ่อนที่ผิดปกติใดๆเลย ไม่มีอาการอ่อนเพลียแม้แต่น้อย เรายังพูดคุยกันปกติ ภรรยาของผมยังบ่นถึงและยังคงขยาดจากการฉีดเข็ม3เมื่อหลายเดือนก่อนที่ฉีดไปแล้วเธอนอนโทรมแบบอ่อนเปลี้ยเพลียแรงด้วยพิษไข้อยู่ 3-4วัน เธอยังปรารภด้วยกลัวว่าการฉีดไฟเซอร์ในวันนี้จะมีอาการอย่างที่เคยเป็นนั้นอีกหรือไม่เพราะทำให้รู้สึกแย่มากๆ


เมื่อเดินมาถึงโรงพยาบาลที่ฉีดวัคซีนพยาบาลก็จัดการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม4 เรียบร้อยโดยใช้เวลาไม่นาน เสร็จแล้วก็นั่งพักประมาน15 นาทีและตรวจวัดความดันโลหิต ปรากฎว่าทุกอย่างปกติไม่มีปัญหาอะไรเลย จึงให้กลับบ้านได้ เราก็เดินมาที่ลิฟท์เพื่อจะไปที่จอดรถ ก่อนเข้าลิฟท์เพื่อนที่ทำงานที่โรงพยาบาลนั้นก็ยังมาส่งเรากลับบ้าน  ภรรยาผมก็ยังพูดคุยหยอกล้อกันแบบปกติไม่มีอาการที่ผิดปกติอะไรเลย เมื่อเดินออกจากอาคารโรงพยาบาลเพื่อไปที่จอดรถ เดินพ้นประตูโรงพยาบาลมาได้ 4-5 ก้าวเท่านั้นภรรยาผมเริ่มก้าวขาไม่ออก ผมจึงรีบเข้าไปจับแขนและถามว่าเป็นอะไรหรือเปล่า เธอก็ตอบอะไรฟังไม่รู้เรื่องเหมือนมีอะไรอมคับปากอยู่ซึ่งเป็นอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับภรรยาผมแล้ว ผมจึงขอให้พยาบาลที่เข็นเตียงส่งคนป่วยอยู่ตรงนั้นพอดีรีบพาภรรยาผมเข้าห้องฉุกเฉินในทันที


เมื่อแพทย์ทางสมองได้มาตรวจ เขาจึงพาไปทำCT Scan ทันทีแล้วได้นำผลมาให้ผมดูจึงรู้ว่ามีลิ่มเลือดไปติดอยู่ในเส้นเลือดที่สมองซีกขวาด้านใกล้หน้าผาก ต้องรีบดูดลิ่มเลือดออกโดยด่วนด้วยการสอดสายยางตรงข้างเอวขึ้นไปที่เส้นเลือดที่สมองตรงจุดที่มีลิ่มเลือดติดค้างคาอยู่ ที่สุดก็ดูดออกมาได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก หลังจากนั้นก็ส่งภรรยาผมไปนอนในห้องICUเพื่อเฝ้าดูอาการและให้ผมกลับบ้านได้ คืนนั้นกลับบ้านด้วยความทุกข์ทรมานและไม่สบายใจมากๆเพราะเราอยู่ด้วยกันและไปไหนต่อไหนสองคนตลอด ไม่เคยแยกจากกันแบบนี้เลย


วันรุ่งขึ้นผมรีบไปดูอาการภรรยาผมที่โรงพยาบาลอีกครั้งก็ได้รับแจ้งว่าภรรยาผมมีอาการซึมอยู่ไม่รู้ว่าเพราะเหตุใด อาการยังไม่ตอบสนองดีนักและไม่ค่อยรู้สึกตัว หมอจะต้องนำเข้าเครื่องตรวจสอบดูว่าเกิดอะไรขึ้น พอตกบ่ายก็นำภรรยาผมไปทำComputer Scan เพื่อดูสมองส่วนที่มีลิ่มเลือดว่าเหตุใดดูดลิ่มเลือดออกแล้ว ยังไม่ฟื้นคืนดีได้ แพทย์ที่ทำการตรวจก็แจ้งผลการตรวจว่าภรรยาผมมีสโตรกชนิดลิ่มเลือดที่เส้นเลือดใหญ่ในสมอง บริเวณสมองส่วนนั้นมีเลือดออกอยู่และมีอาการบวม ยังไม่พ้นขีดอันตรายและจะติดตามใกล้ชิดในห้องICUต่อไป 

เย็นวันนั้นผมกลับถึงบ้านด้วยความอ่อนเพลียและเป็นห่วงกังวลอย่างมากในอาการของภรรยา พอถึงเวลาประมาณสามทุ่มเศษ ก็มีพยาบาลโทรมาแจ้งว่ากำลังจะนำภรรยาผมเข้าตรวจCT Scanอีกครั้งหนึ่งเพื่อตรวจส่วนที่บวมในสมองด้านซ้ายส่วนหน้าว่ายังมีเลือดไหลอยู่อีกหรือไม่ โดยจะรู้ผลในทันทีเพราะกลัวว่าการบวมในสมองจะลามไปถึงแกนสมองที่อาจเป็นอันตรายได้ ประมาณ เวลา 22.00 น. พยาบาลได้โทรมาอีกครั้งบอกว่าสมองส่วนนั้นยังบวมและมีเลือดไหลอยู่ แพทย์ที่ดูแลจึงตัดสินใจจะนำภรรยาผมเข้าห้องผ่าตัดโดยด่วน การผ่าตัดต้องผ่ากระโหลกศีรษะออกเพื่อเข้าไปดูเนื้อสมองที่บวมและเลือดออกนั้นและจะนำเนื้อสมองส่วนนั้นมาตรวจสอบทางพยาธิว่ามีการติดเชื้อหรือเกิดจากอะไรที่ทำให้บวมและมีเลือดออกอยู่ คืนนั้นห้าทุ่มเที่ยงคืนแล้วผมไม่เป็นอันนอนเลย แต่ก็นอนแบบหลับๆตื่นๆด้วยความกังวลใจและห่วงใยว่าการผ่าตัดจะเกิดเหตุร้ายแรงอะไรตามมาหรือไม่  เมื่อถึงเวลา 03.00น.จึงรีบโทรไปที่ห้องICUของโรงพยาบาลเพื่อสอบถามผลภายหลังการผ่าตัดได้รับแจ้งจากพยาบาลว่ามีการผ่าตัดตั้งแต่เวลา23.00น.ถึง02.30น.โดยมีการตัดกระโหลกออกไปบางส่วนเพื่อดูสมองส่วนที่บวมและเลือดออก การผ่าตัดเป็นไปด้วยดีไม่มีเหตุแทรกซ้อนอันตรายใดๆ แต่ภรรยาผมยังคงไม่รู้สึกตัวอยู่ 


เช้าวันรุ่งขึ้น (วันที่ 26 มีนาคม) ผมจึงรีบเดินทางไปที่โรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการหลังผ่าตัด ก็มีเพื่อนอีกสองคนมาเฝ้าติดตามอาการด้วยเช้าวันนั้น พวกเราได้เข้าไปดูในห้องพักฟื้นICUก็ยังเห็นภรรยาผมหลับไหลไม่ได้สติและยังไม่ฟื้นจากการผ่าตัด


กลางวันวันนั้นเองพยาบาลโทรมาบอกผมว่าทางโรงพยาบาลจุฬาฯพร้อมจะรับโอนภรรยาผมไปดูแลและรักษาต่อ บ่ายวันนั้นจะย้ายไปโรงพยาบาลจุฬาฯที่ตึกภูมิสิริมังคลานุสรณ์ชั้น18 ในแผนกStroke ICU ที่ผมได้ไปติดต่อไว้ก่อนหน้านี้หนึ่งวัน(เพราะภรรยาผมเป็นคนไข้ที่รักษาประจำที่โรงพยาบาลจุฬาฯ)เพื่อการตรวจรักษาต่อเนื่อง ไม่นานหลังจากนั้นในตอนบ่ายวันที่ 26 มีนาคมจึงได้ย้ายภรรยาผมไปที่โรงพยาบาลจุฬาฯขณะเคลื่อนย้ายไปภรรยาผมก็ยังหลับไหลไม่ได้สติอยู่


ภรรยาผมย้ายมาอยู่ในICUที่ตึกภูมิสิริฯ ตั้งแต่วันที 26 มีนาคม มารับการรักษาพยาบาลที่แผนกICU Strokeที่โรงพยาบาลจุฬาฯอาการสมองบวมและเลือดออกก็ค่อยๆทุเลาขึ้นทีละนิดตามลำดับ แต่ก็ยังเป็นอันตรายอยู่ บางครั้งมีน้ำในปอดมาก บางครั้งหัวใจเต้นเร็วผิดปกติมาก


แพทย์ที่ดูแลแจ้งว่าได้ย้ายภรรยาผมจากICU Stroke ไปอยู่Stroke Unitแล้ว เมื่อไหร่ภรรยาผมกลับสู่ภาวะที่ไม่วิกฤตแล้ว กล่าวคือสมองไม่บวมเลือดไม่ไหลและหัวใจเต้นเป็นปกติซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกพักหนึ่ง(แต่ยังบอกไม่ได้ว่าเมื่อไหร่แน่) ก็จะให้กลับบ้านได้


ผลจากการเป็นสโตรกครั้งนี้ทำให้ซีกซ้ายของร่างกายเป็นอัมพาต มือเท้าด้านซ้ายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลย การพูดจาสื่อสารก็ทำไม่ได้ แต่สามารถฟังและทำตามคำสั่งได้ มือขวาและเท้าขวาเคลื่อนไหวได้


ที่นำประสบการณ์เรื่องนี้มาเล่าสู่กันนั้นก็อยากชี้ให้เห็นถึงอันตรายจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้โดยเฉพาะคนที่มีโรคภัยต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ เป็นต้น โดยเฉพาะคนที่เคยเกิดอาการแพ้หลังฉีดไฟเซอร์มาก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะฉีดเข็มที่2หรือ3ก็ตาม หากภายหลังการฉีดก่อนหน้านี้เคยมีอาการไข้มากหรือแพ้หนักๆก็ต้องชั่งใจให้ดีนะว่าจะฉีดวัคซีนโควิด-19เข็มกระตุ้นเข็ม4หรือไม่ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงถึงชีวิตหรืออันตรายแสนสาหัสอย่างที่ภรรยาผมได้พบเจออย่างไม่คาดถึง


เหตการณ์ครั้งนี้นับเป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงที่สุดในชีวิตของภรรยาผมและของผม ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าถ้าให้เลือกได้ขอป่วยเป็นโอมิครอนจะดีกว่ามาเป็นสโตรกอย่างนี้ที่จะต้องทนทุกข์ทรมาน ร่างกายซีกซ้ายเป็นอัมพาต พูดจาสื่อสารไม่ได้อย่างนี้ไปอีกนานเท่าใดก็ไม่รู้


ประสบการณ์ชีวิตครั้งนี้ร้ายแรงที่สุดและเป็นวิกฤตการณ์ของชีวิตอย่างมาก ไม่เฉพาะกับภรรยาผมเท่านั้น ทุกคนในบ้านก็วิกฤตทุกข์ทรมานไปด้วยเหมือนกัน เช่นเดียวกับญาติมิตรทั้งหลายที่มีความห่วงใยและกังวลใจในสโตรกของภรรยาผมกันทั้งนั้น ผมหวังว่าเธอคงจะค่อยๆมีอาการดีขึ้น ซึ่งจะต้องกินเวลานานเท่าไหร่ก็ยังไม่รู้เลย  รู้แต่ว่าสุขภาพและสภาพร่างกายคงไม่ฟื้นฟูกลับมาเหมือนเดิมแน่นอน


🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀🕀

6 พฤษภาคม 2565

พรุ่งนี้(วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2565)ภรรยาผมกำลังจะออกจากห้อง stroke unit ของโรงพยาบาล เพื่อไปฟื้นฟูและเฝ้าดูแลกันต่อที่บ้าน


 ภรรยาผมเกิดอาการสโตรกเฉียบพลันในเวลาครึ่งชั่วโมงหลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มกระตุ้นเข็มที่ 4    ภรรยาผมต้องทนทุกข์ทรมานนอนอยู่ในห้องICUจนถึงวันพรุ่งนี้เป็นเวลาทั้งสิ้น 1 เดือน13 วันซึ่งนับเป็นเวลาวิกฤตที่สุดในชีวิตของเราทั้งสองคนและของครอบครัวเรา ภรรยาผมถูกผ่าตัดใหญ่ 2 ครั้งที่กะโหลกศีรษะกับผ่าตัดย่อยอีก1ครั้ง 


เหตุสโตรกที่เกิดขึ้นกับภรรยาผมนั้น ผมเชื่อว่ามันมาจากผลของวัคซีนไฟเซอร์เข็มกระตุ้นแน่นอน  จึงเกิดสโตรกแบบรวดเร็วภายใน 30 นาทีนับจากการฉีดวัคซีน ผลการฉีดมันก็ได้ก่อเกิดเหตุสโตรกอันน่าสะพรึงกลัวอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะภรรยาผมมีจุดอ่อนจากสุขภาวะของร่างกายอันมาจากโรคเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลินทุกวัน จึงเป็นจุดอ่อนที่วัคซีนไฟเซอร์เป็นตัวกระตุ้น(Trigger) ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ แล้วสร้างลิ่มเลือดขึ้นไปอุดตันที่สมองด้านขวาจึงทำให้ซีกซ้ายของร่างกายเป็นอัมพาตทั้งหมด แม้แต่การพูดและกินอาหารก็ไม่สามารถทำได้ ต้องให้อาหารทางสายยางและให้เฉพาะอาหารเหลวเท่านั้น


ดังนั้นผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลสูงมาก หรือมีความดันสูงมาก จึงควรหลีกเลี่ยงการไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างเฉียบพลันและโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างยิ่งเหมือนอย่างที่ภรรยาผมได้ประสบอยู่ในขณะนี้ 


ก่อนไปรับวัคซีนเข็ม 4 นี้ แม้จะเคยเห็นรายงานข่าวการต่อต้านการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดอยู่บ้างที่หลายประเทศในยุโรปและอเมริกาที่ได้มีการประท้วงอย่างรุนแรง แต่ก็ไม่คิดว่าการคัดค้านต่อต้านการฉีดวัคซีนจะมีเหตุผลที่ดี เพราะก็เห็นกันอยู่แล้วว่ามีการแพร่ระบาดของโรคโควิดที่กว้างขวางและรุนแรงจนทำให้ผู้คนเจ็บป่วยล้มตายไปมากมายทั่วโลก 


แต่ข้อมูลเกี่ยวกับพิษสง ผลเสียและผลข้างเคียงที่เกิดจากวัคซีนป้องกันโรคโควิดนี้ก็ไม่ค่อยมีมากนัก และเราก็ไม่ได้เข้าถึงข้อมูลของผลร้ายดังกล่าว โดยเฉพาะข้อมูลว่าคนที่มีโรคประจำตัวอยู่ เช่น เบาหวาน, ความดันเหล่านี้ควรไปฉีดวัคซีนหรือไม่โดยเฉพาะวัคซีนเข็มกระตุ้นที่อาจเป็นอันตรายแก่คนป่วยเหล่านี้(ยิ่งเป็นผู้สูงวัยด้วยจะเป็นอันตรายแค่ไหนเพียงใด) ข้อแนะนำและข้อมูลเหล่านี้ไม่เคยมีการรับรู้เลย     เราทั้งสองวางใจเกินไปที่เชื่อว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นยังไงก็ปลอดภัย แม้ว่าต้องนอนโทรมจากพิษไข้อยู่หลายวันภายหลังการฉีดเข็ม3ก่อนหน้านี้ แต่ที่ไหนได้วัคซีนเข็มกระตุ้นเข็ม 4 นี้ได้สร้างตราบาปในหัวใจให้ภรรยาและผมรวมทั้งลูกหลาน ไม่คาดคิดเลยว่าการฉีดวัคซีนเข็ม 4 นี้มันจะมีพิษสงร้ายแรงที่สุดและมีความเสี่ยงต่อชีวิตอย่างยิ่งถึงขนาดที่ต้องผ่าตัดสมองถึง 3 ครั้งและนอนในห้องคนไข้วิกฤต (ICU)นานหลายสัปดาห์ที่สุดแสนทรมานแก่ทั้งคนไข้ที่อยู่ในห้องICUและญาติพี่น้องเพื่อนฝูงนอกห้องICU มากมายที่มีแต่ความกังวลและความห่วงใยไปด้วย


อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพราะคนไทยยังขาดข้อมูลถึงผลเสียร้ายแรงและพิษสงของวัคซีนที่น่าจะเปิดเผยให้ผู้คนได้รับรู้มากกว่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสูงและมีความดันโลหิตสูง  ข้อมูลเช่นนี้กระทรวงสาธารณสุข คณะผู้ทำงานเรื่องโควิด แพทย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายควรจะต้องเปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้ในวงกว้าง อย่าปล่อยให้ประชาชนต้องเสี่ยงภัยเองโดยไร้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจว่าสมควรไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster)หรือไม่ หากมีข้อมูลให้ประชาชนคิดและตัดสินใจเองได้ก็จะแบ่งเบาภาระของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ต้องมารักษาพยาบาลผู้ป่วยอันเกิดจากการฉีดวัคซีนรวมทั้งจะเป็นการประหยัดค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่เป็นผลมาจากการฉีดวัคซีนนี้ได้มากมาย เพราะหากประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น เขาอาจตัดสินใจที่จะเสี่ยงเป็นโรคโควิดมากกว่าที่จะมาเป็นสโตรกและร่างกายเป็นอัมพาตหรือโรคอื่นๆอันเกิดจากพิษสงของวัคซีนอันมีผลกระทบต่อคุณภาพของชีวิตอย่างมากและระยะยาว

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ทบทวน immunology 101

 เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ 



1.   Live vaccine คือวัคซีนที่กระตุ้นภูมิได้ดีที่สุด ใครๆก็รู้ การติดเชื้อคือ ได้ live vaccine นั่นเอง ทำไมไม่เห็นมีใครบอกว่า ถ้าติดเชื้อแล้ว ไม่ต้องฉีดวัคซีน

2.   หลังจากการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อทุกๆส่วนของไวรัส ไม่ใช่เฉพาะกับสไปก์โปรตีน เหมือนที่ยาฉีดยีนไวรัสที่หลอกว่าเป็นวัคซีนทำ เพื่อเข้าใจง่ายๆ ถ้าเทียบให้เข้าใจ การเน้นแต่สไปก์ เหมือนเราแค่ถ่ายแต่ “หน้า” คนร้ายไว้ แล้วบอกร่างกายว่า ถ้าผู้ร้ายที่มีหน้าตาแบบนี้มาให้จัดการ ปัญหาเกิดตรงที่ เมื่อผู้ร้ายไปแปลงโฉม (กลายพันธุ์) รูปที่ถ่ายไว้รูปเดิมเลยไม่สามารถนำมาจับผู้ร้ายหน้าใหม่ได้ ต่างจากภูมิตามธรรมชาติ ที่จำทั้ง หน้าตา ส่วนสูง รูปทรงกะโหลก จอม่านตา ลายนิ้วมือ ลายนิ้วเท้า ท่าเดิน น้ำเสียง ฯลฯ เพราะฉะนั้นต่อให้ผู้ร้ายไป “แปลงโฉม” มาก็ยังสามารถจับได้

3.      เรารู้ว่า ร่างกายมีทั้ง IgG และ IgA โดย IgG อยู่ในกระแสเลือด (ถึงต้องเจาะเลือดตรวจกัน) แต่ IgA อยู่ในสารคัดหลั่ง น้ำมูกน้ำลาย วัคซีนที่ฉีดกัน กระตุ้น IgG ที่อยู่ในเลือด แปลว่าต้องรอให้ เชื้อ “เข้าสู่กระแสเลือดถึงเริ่มทำงาน” ซึ่งสายเกินไปแล้ว มีความพยายามจะบอกว่า ระดับ IgG ที่สูงๆ สามารถ ยับยั้งไวรัสได้ ใช่ แต่เขาลืมไปว่าเป็นการทำลอง “ในหลอด” เอาเชื้อใส่ให้เจอ IgG ตรงๆ แต่ในชีวิตจริงๆ เชื้อ จะต้องผ่านเยื่อบุปอดเข้าไปในเซลล์ทางเดินหายใจ แล้วถึงค่อยเข้าไปในเลือด ต่อให้ IgG ในเลือดทำงาน เชื้อก็เข้าไปขยายตัวในเซลล์บุผนังทางเดินหายใจ เซลล์บุผนังปอด เซลล์บุผนังเส้นเลือดแล้ว เพราะฉะนั้นเลิกอ้างคำว่า ระดับแอนตี้บอดี้สูงๆสามารถยับยั้งไวรัส “ในหลอดทดลอง” สักที ในทางตรงกันข้าม การติดเชื้อ และสร้างภูมิตามธรรมชาติ ร่างกายจะสร้าง IgA แอนตี้บอดี้ที่จัดการเชื้อไวรัสได้ทันทีที่มันเหยียบลงบนผิวของทางเดินหายใจ จัดการมันก่อนที่มันจะสามารถเข้าสู่ร่างกายได้

4.      ภูมิคุ้มกันแบบ adaptive ไม่ได้มีแต่ แอนตี้บอดี้ มีภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ ด้วย t cell เพราะฉะนั้นการพูดถึงแต่ระดับ แอนตี้บอดี้ เป็นแค่การ โฆษณา “ขายของ” ไม่ใช่วิทยาศาสตร์

5.      ทั้ง B cell immunity (ภูมิคุ้มกันแบบสร้างแอนตี้บอดี้) และ T cell immunity (ภูมิคุ้มกันแบบเซลล์) ล้วนมี “ความจำ” ความจำที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทั้งสองระบบถูกกระตุ้นให้ ตื่นขึ้นมาทำงานได้ “โดยไม่ต้องสร้าง” แอนตี้บอดี้ หรือ t cell ไว้รอ

6.      นอกจากภูมิคุ้มกันแบบ adaptive แล้ว ร่างกายยังมีภูมิคุ้มกันแบบติดตัวมาแต่เกิด innate immunity ที่ก็สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ และเราก็สามารถทำให้ภูมิคุ้มกันชนิดนี้แข็งแรงขึ้นได้ง่ายๆ ด้วยหลัก 5 อ กับ 1 ห คือ อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อุจจาระ และอารมณ์ บวกกับหลับให้พอเพียง เป็นการทำให้ “สุขภาพดี” ที่ดีต่อทุกโรค มิใช่กับเฉพาะโควิด เด็กเล็กๆจะมีภูมิคุ้มกันแบบนี้ที่แข็งแรงทำให้ในเด็กอาการจะเป็นน้อยกว่าผู้ใหญ่ ใครๆก็รู้กัน แต่น่าสงสัย ทำไมบรรดา “ผู้เชี่ยวชาญ” ไม่ยักรู้

ถ้าเข้าใจตามที่กล่าวทั้งหมดนี้ จะเข้าใจว่า ถ้าติดเชื้อแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่ดีกว่า ที่มีทั้ง antibody และ cellular immunity แถมมี IgA ที่สามารถจับเชื้อได้ตั้งแต่ตอนที่เราหายใจเอาเชื้อเข้าไป และที่สำคัญภูมิเหล่านั้น มีความจำ ที่อยู่นานจนไม่ต้องไปกระตุ้นให้เหนื่อย

ข้อมูลเหล่านี้ เป็น สิ่งที่สอนกันใน โรงเรียนแพทย์ บรรดาหมอๆทั้งหลายต้องรู้ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไม ลืมกันหมด หรือ ว่ามีอะไร มาบดบังตา กลัวว่า วัคซีน ที่สั่งๆ มาจะไม่ได้ใช้ กลัวว่า บริษัทยา จะไม่พอใจไม่พาไปเที่ยว หรือ กลัวว่าปลายปีจะไม่มีโบนัส?

ขอท้า “ผู้เชี่ยวชาญ” ท่านไหนก็ได้มาออกทีวีถกกันเรื่องนี้หน่อยกล้าไหม หรือว่า เก่งแต่ในสื่อโซเชียล สื่อที่มีการปิดกั้น เซ็นเซอร์ ข้อมูลที่ทำให้วัคซีนขายไม่ออกอย่างชัดเจน


📝: นิลฉงน นลเฉลย



วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

จดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนคนไทย และผู้มีอำนาจใน ศคบ /สธ

  เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ  



จดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนคนไทย และผู้มีอำนาจใน ศคบ /สธ

เรียน ทุกท่านเพื่อกรุณา รับทราบ

ผมเคยนำข้อมูลสถิติการเสียชีวิตของคนไทยโดยรวมเมื่อปีที่ผ่านมามา นำเสนอ พร้อมทั้งตั้งข้อสงสัยว่า ทำไม คนไทยตายเพิ่มขึ้นในปี 64 เมื่อเทียบกับปี 63 ทั้งที่ ฉีดวัคซีนไปเป็นร้อยล้านโดส วัคซีนที่อ้างว่าจะลดอัตราการเสียชีวิตลง ตามรายละเอียดในเอกสารแนบ "มาตรการโควิดทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น" นอกจากนี้ยังเอาข้อมูลของรัฐบาลมาวิเคราะห์ให้ดูด้วยว่าอัตราการฉีดวัคซีนในแต่ละจังหวัด นอกจากจะไม่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโควิดแล้ว กลับทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย ตามเอกสาร "ถ้าวัคซีนป้องกันการเสียชีวิตจากโควิดได้ ทำไมอัตราตายในจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนมากจึงสูงกว่าจังหวัดที่มีอัตราการฉีดวัคซีนน้อย"

วันนี้ผมเอาข้อมูลของปีนี้มาให้ดูครับ

เดือนเมษาที่ผ่านมาคนไทยตาย 55,398 ราย รวมตั้งแต่ต้นปี มค ถึง เมษา 2565 คนไทยตายทั้งสิ้น 199,226 ราย มากกว่าในปี 2564 ที่ตายทั้งสิ้น 174,096 ถึง 25,130 ราย หรือ เพิ่มขึ้น 12.6 % ในจำนวนนี้ตาย กับ/จาก โควิด 6,844 ราย แปลว่า หากไม่นับที่ตายจากโควิด คนไทยตายเพิ่มขึ้น 9% หรือ 18,286 ราย ในช่วงเวลาสี่เดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 อะไรทำให้คนไทยตายเพิ่มขึ้น ?

โรคเก่ากำเริบ?

อะไรทำให้โรคเก่ากำเริบ?

ยาพิษที่รณรงค์ให้ฉีดกัน?

ข้อมูลที่ส่งให้นี้มิใช่ความคิดเห็น แต่เป็นข้อมูลจริงๆที่ ไปดูได้ใน

https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/view

https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=death-statistics

ฝากให้ท่านทั้งหลายช่วยกันหาคำตอบนะครับ ท่านอาจารย์นรินทร์ รองอธิการบดีจุฬา ท่านน่าจะเข้าใจดีว่า การดูอัตราเสียชีวิตรวมของประเทศ เป็นวิธีที่ใช้ในการประเมินนโยบายสาธารณสุขได้ดีครับ ที่ผ่านมาเราทำอะไร ผิดพลาด เราจะแก้ไขมันได้อย่างไร ใครคิดได้ช่วยตอบหน่อยครับ

เอ้าบรรดา “ผู้เชี่ยวชาญ” ใน ศคบ เงียบอยู่ทำไมครับ ออกมา “แก้ต่าง” ให้หน่อยว่า เกิดอะไรขึ้น?

อย่าลืมครับ ข้อมูล ไม่เคย โกหก มีแต่มนุษย์เท่านั้นครับ ที่โกหก






จดหมายเปิดผนึก ถึงชาวไทยทุกท่าน

 เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ  


จดมายเปิดผนึก 

 

เรียน ทุกท่านเพื่อกรุณา รับทราบ

 

ผมเคยนำข้อมูลสถิติการเสียชีวิตของคนไทยโดยรวมเมื่อปีที่ผ่านมามา นำเสนอ พร้อมทั้งตั้งข้อสงสัยว่า ทำไม คนไทยตายเพิ่มขึ้นในปี 64 เมื่อเทียบกับปี 63 ทั้งที่ ฉีดวัคซีนไปเป็นร้อยล้านโดส วัคซีนที่อ้างว่าจะลดอัตราการเสียชีวิตลง ตามรายละเอียดในเอกสารแนบ [1] "มาตรการโควิดทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น" นอกจากนี้ยังเอาข้อมูลของรัฐบาลมาวิเคราะห์ให้ดูด้วยว่าอัตราการฉีดวัคซีนในแต่ละจังหวัด นอกจากจะไม่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโควิดแล้วกับ ทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย ตามเอกสาร[2] "ถ้าวัคซีนป้องกันการเสียชีวิตจากโควิดได้ ทำไมอัตราตายในจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนมากจึงสูงกว่าจังหวัดที่มีอัตราการฉีดวัคซีนน้อย"

 

วันนี้ผมเอาข้อมูลของปีนี้มาให้ดูครับ

เดือนเมษาที่ผ่านมาคนไทยตาย 55,398 ราย รวมตั้งแต่ต้นปี มค ถึง เมษา 2565 คนไทยตายทั้งสิ้น 199,226 ราย มากกว่าในปี 2564 ที่ตายทั้งสิ้น 174,096 ถึง 25,130 ราย หรือ เพิ่มขึ้น 12.6 % ในจำนวนนี้ตาย กับ/จาก โควิด 6,844 ราย แปลว่า หากไม่นับที่ตายจากโควิด คนไทยตายเพิ่มขึ้น 9% หรือ 18,286 ราย ในช่วงเวลาสี่เดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 อะไรทำให้คนไทยตายเพิ่มขึ้น ? โรคเก่ากำเริบ? อะไรทำให้โรคเก่ากำเริบ? ยาพิษที่รณรงค์ให้ฉีดกัน? อันนี้มิใช่ความคิดเห็น แต่เป็นข้อมูลจริงๆที่ ไปดูได้ใน


 


 https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/view

 https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=death-statistics

  

ฝากให้ท่านทั้งหลายช่วยกันหาคำตอบนะครับ ท่านอาจารย์นรินทร์ รองอธิการ ท่าน่าจะเข้าใจดีว่า การดูอัตราเสียชีวิตรวมของประเทศ เป็นวิธีที่ใช้ในการประเมินนโยบายสาธารณสุขได้ดีครับ ที่ผ่านมาเราทำอะไร ผิดพลาด เราจะแก้ไขมันได้อย่างไร ใครคิดได้ช่วยตอบหน่อยครับ

---------------------------------------------------------- 📣 --------------------------------------------------------

[1] มาตรการโควิดทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

https://cmhealthlibertyrights.blogspot.com/2022/05/blog-post.html

[2] ถ้าวัคซีนป้องกันการเสียชีวิตจากโควิดได้ ทำไมอัตราตายในจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนมากจึงสูงกว่าจังหวัดที่มีอัตราการฉีดวัคซีนน้อย

https://cmhealthlibertyrights.blogspot.com/2022/04/blog-post_26.html




มาตรการโควิด ทำให้มีผู้เสียชีวิต เพิ่มมากขึ้น

 เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ  

การระบาดของโรคโควิด-๑๙ สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้คนในสังคมมากมาย ความตื่นตระหนกดังกล่าว เกิดขึ้นเพราะความกลัวที่ว่า ติดโควิดแล้ว “ตายได้” มาตรการต่างๆนานา จึงถูกกำหนดมาเพื่อ “ลดอัตราการตาย” ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเว้นระยะห่าง มาตรการปิดบ้านปิดเมือง ตลอดจนการระดฉีดวัคซีน มาตรการเหล่านี้ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล มีคนตกงานเพิ่มขึ้นมากมาย ธุรกิจรายเล็กมากมายต้องปิดกิจการลง ทุกคนยอมทำตามเพื่อเป้าหมายเดียวกัน “ลดอัตราการตาย” แต่หลังจากดำเนินการมาครบสองปี เป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นไปตามคาดหวังไหม?


จากข้อมูลสถิติผู้เสียชีวิตของประเทศไทย ในปี ๒๕๖๔ คนไทยเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ 563,650 ราย ในจำนวนนี้เป็นการเสียชีวิตจากโควิด-๑๙ 14,509 ราย โดยเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๖๓ ถึง 62,212 ราย หรือเพิ่มขึ้น 12.4% โดยในปี ๒๕๖๓ มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 501,483 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตจากโรคโควิด-๑๙ 7,163 ราย ที่น่าสนใจคือ หากเทียบกับปี ๒๕๖๒ ที่ยังไม่มีการระบาดของโรคโควิด-๑๙ในประเทศไทย อัตราตายในปี ๒๕๖๓ ลดลงประมาณ 1% ผิดจากปี ๒๕๖๔ ที่มีอัตราตายเพิ่มขึ้นถึง 12% โดยที่แม้ว่าจะตัดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-๑๙ ออกแล้วยังมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุอื่นๆเพิ่มขึ้นถึง 47,703 ราย


ในปี ๒๕๖๓ มาตรการต่างๆที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาโควิด-๑๙ ไม่แตกต่างจากมาตรการในปี ๒๕๖๔ มีเพียงข้อเดียวที่ต่างกันคือ ในปี ๒๕๖๓ ไม่มีการระดมฉีดวัคซีน ในขณะที่ปี ๒๕๖๔ มีการระดมฉีดวัคซีนหนึ่งร้อยล้านโดส

          หากพิจารณาจำนวนผู้เสียชีวิตรายเดือนจะเห็นว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จะเห็นเริ่มเห็นความแตกต่างระหว่างจำนวนผู้เสียชีวิตในปี ๒๕๖๔ กับปีอื่นๆ ความแตกต่างนี้จะเห็นชัดเจนมากขึ้นตามลำดับเดือนถัดๆมา ในเดือนสิงหาคมที่มีการระบาดสูงสุด จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก ที่น่าสนใจคือ ภายหลังจากพีคสูงสุดในเดือนสิงหาคม ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-๑๙ ก็ลดลงมาเป็นลำดับโดยตลอด ตรงกันข้ามกับยอดเสียชีวิตโดยรวมที่ยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้มาจากไหน มาตรการที่ใช้ในปี ๒๕๖๔ ต่างจากมาตรการที่ใช้ในปี ๒๕๖๓ อย่างไร ทำไมทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น






















          หากการอ้างบังคับใช้มาตรการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาโควิดเป็นไปเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของคนไทย ข้อมูลของปี ๒๕๖๔ ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่า มาตรการเหล่านั้น “ล้มเหลว” ที่สำคัญ เป็นมาตรการล้มเหลวที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจซบเซาเป็นอย่างมากด้วย คำอ้างที่บอกว่า ยอมสูญเสียทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาชีวิต จึงเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น  ถึงเวลาหรือยังที่รัฐบาล ผู้มีอำนาจ หรือ ข้าราชการที่มีความจริงจังและจริงใจในการแก้ปัญหาของประเทศ จะทบทวนแนวทางการแก้ปัญหาที่ผ่านมา และพิจารณาแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น การดึงดันในแนวทางเดิมโดยไม่มีการทบทวนข้อมูลจริงที่เกิดขึ้น จะทำให้การแก้ปัญหาล่าช้า และสร้างความเสียหายกับประเทศมากยิ่งขึ้น









📝 : นิลฉงน นลเฉลย



















วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565

ปัญหาของใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ สำหรับนักเรียนก่อนประถมและชั้นประถม

 เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ 

ปัญหาของใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty)สำหรับนักเรียนก่อนประถมศึกษาและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่มีอายุ 5 ปี ถึง 11 ปี 11 เดือน 29 วัน

จากการที่คณะกรรมการอาหารและยาได้ให้การอนุมัติฉุกเฉินให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty) กับเด็กเล็กอายุ 5 ถึง 11 ปี โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำใบยินยอมเพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนไฟเซอร์ก่อนที่จะลงนามยินยอมให้เด็กในปกครองได้รับการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ดีใบยินยอมดังกล่าวมิได้ระบุข้อมูลที่สำคัญหลายประการเป็นเหตุให้ผู้ปกครองไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.      ในส่วนของข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด มิได้ระบุว่า อัตราเสียชีวิตจากโรคนี้ในเด็กกลุ่มอายุนี้ของไทยอยู่ที่เพียง 7 ในล้านราย[1] และเด็กส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตมีโรคประจำตัวอื่นๆอาทิ โรคมะเร็ง โรคแพ้ภูมิตนเองที่อาจเป็นเหตุให้เสียชีวิต

2.      ในส่วนความสำคัญของวัคซีนโควิด มีการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ว่า “การฉีดวัคซีนในเด็กตั้งแต่อายุ 5 ถึง 11 ปีจึงมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอที่จะป้องกันโควิด 19” ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว

2.1.   เด็กในวัยนี้มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดีอยู่แล้ว วัคซีนจึงไม่ใช่ความจำเป็น

2.2.   จากรายงานการวิจัยของบริษัทยาเองวัคซีนไฟเซอร์มิได้ป้องกันการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อได้ การระบุว่าเพื่อป้องกันโควิด 19 จึงเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ[2]

 

3.      ในใบยินยอม มิได้ระบุว่า วัคซีนที่ใช้เป็นการให้ใช้ ภายใต้การ “อนุมัติฉุกเฉิน”[3] (Emergency Use Authorization, EUA)[4] มิใช่การขึ้นทะเบียนตามปกติ การอนุมัติฉุกเฉินที่ข้ามขั้นตอนการทดสอบความปลอดภัยตามปกติ และปกป้องมิให้ บริษัทต้องรับผิดชอบใดๆหากเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงสำคัญที่ผู้ปกครองควรได้รับรู้

4.   ในใบยินยอม มิได้ระบุว่า การวิจัยเพื่อทดสอบความปลอดภัยของวัคซีนไฟเซอร์ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการและจะเสร็จสิ้นลงในปีพุทธศุกราช ๒๕๖๘[5] การมิได้ระบุข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า วัคซีนไฟเซอร์นั้นได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยแล้ว




5.      ในใบยินยอมระบุว่าเป็นวัคซีนมีประสิทธิภาพ ความปลอดภัยสูงสามารถป้องกันการเจ็บป่วย และช่วยลดความรุนแรงของโรคได้” ซึ่งไม่เป็นความจริง เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ตลอดจนไม่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งนี้จากรายงานการวิจัยที่สนับสนุนทุนโดยบริษัท ไฟเซอร์เอง[6] ซึ่งลงตีพิมพิ์ในวารสารทางการแพทย์ของนิวอิงค์แลนด์ (January 6, 2022 N Engl J Med 2022; 386:35-46 DOI: 10.1056/NEJMoa2116298) ได้ระบุในหน้า 43 ภายใต้หัวข้อ “ประสิทธิภาพ” (Phase 2-3 Efficacy) ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “No cases of severe Covid-19 or MIS-C were reported” ไม่มีการรายงานผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือ มีภาวะอักเสบหลายระบบ (MIS-C) กล่าวคือ ไม่พบผู้ป่วยโควิดรุนแรงหรือ มีภาวะ MIS-C ทั้งในกลุ่มทดลองที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์และในกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก ซึ่งทำให้ ไม่สามารถสรุปได้ว่า วัคซีนไฟเซอร์สามารถป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง หรือ ป้องกันภาวะ MIS-C ได้ ทั้งนี้รายงานวิจัยดังกล่าวเป็นรายงานการวิจัยเดียวกันที่ทางบริษัทใช้ยื่นในการขออนุมัติฉุกเฉินจาก คณะกรรมการอาหารและยา

6.      มีรายงานการพบว่าเกิดภาวะ MIS-C ในเด็กที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ได้[7] จึงควรระบุในใบยินยอมว่า วัคซีนไฟเซอร์อาจทำให้เกิดภาวะ MIS-C ได้

7.      ในใบยินยอม ระบุผลข้างเคียงที่พบ น้อยกว่าที่พบจริง ทั้งนี้ ในใบยินยอมดังกล่าวระบุผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ น้อยกว่า ที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา ของบริษัทยาเอง ที่สำคัญมิได้ระบว่า วัคซีนสามารถทำให้เสียชีวิต หรือมีโอกาสพิการได้

8.   มีข้อมูลภายหลังที่ระบุชัดเจนว่า บริษัทยามีความพยายามในการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีนไฟเซอร์นี้ โดยพยายามปิดข้อมูลดังกล่าวเอาไว้  75 ปี ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสาธารณะที่ ศาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีคำตัดสินให้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ และสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://phmpt.org/pfizers-documents/ แต่มิได้มีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใส่ไว้ในใบยินยอม

ตามคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย[8] ข้อที่ ๒.ระบุว่า “ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูล “ที่เป็นจริง”และเพียงพอ เกี่ยวกับการเจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษา จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติต่อตน” การที่ ใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty)สำหรับนักเรียนก่อนประถมศึกษาและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่มีอายุ 5 ปี ถึง 11 ปี 11 เดือน 29 วัน ของกระทรวงสาธารณสุข มิได้ระบุข้อมูลที่เป็นจริง และพอเพียง ตามที่ระบุในรายละเอียดข้างต้นจึงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรมทางการแพทย์ ขัดต่อสิทธิอังพึงมีของผู้ป่วยตามประกาศของแพทยสภาอย่างชัดเจน จึงขอให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงใบยินยอมดังกล่าวให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นหากมีผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ เกิดผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนนี้ ใบยินยอมดังกล่าวจะไม่สามารถปกป้อง บุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ทำการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ใหักับผู้ป่วยได้ แม้ว่า ผู้ป่วยหรือผู้ปกครองจะลงนามให้การยินยอมแล้วก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากถือว่า บุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ทำการฉีดวัคซีนให้กับผู้ป่วย “จงใจให้ข้อมูลที่บิดเบือนไม่ตรงกับข้อเท็จจริง” ผลจากการกระทำนี้ อาจทำให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการฉีดวัคซีน สามารถฟ้องร้องเอาผิดและเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคลากรทางการแพทย์คนดังกล่าวได้










วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2565

ทำไมอัตราตายในจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนมากจึงสูงกว่าจังหวัดที่มีอัตราการฉีดวัคซีนน้อย?

เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ  


ถ้าวัคซีนป้องกันการเสียชีวิตจากโควิดได้ ทำไมอัตราตายในจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนมากจึงสูงกว่าจังหวัดที่มีอัตราการฉีดวัคซีนน้อย ?

เป็นที่ทราบกันดีว่า วัคซีนที่นำมาใช้ฉีดเพื่อป้องกันโรคโควิดนั้นไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ ไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ซึ่งไม่เป็นไปตามตามคำจำกัดความของ “การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค” ตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อมาตรา ๔ และมาตรา ๓๔[1] อย่างไรก็ดี มีความพยายามที่จะบอกว่า แม้จะป้องกันการติดเชื้อไม่ได้แต่วัคซีนยังกันป่วยหนัก กันตายได้ทั้งๆที่ การป้องกันการป่วยหนักและป้องกันการตายมิใช่วัตถุประสงค์หลักของวัคซีน และมีวิธีอื่นๆอีกมากมายในการป้องกันการป่วยหนักและการเสียชีวิตจากโควิดได้[2] ก็ยังมีการอ้างจากภาครัฐ โดยเฉพาะจากกระทรวงสาธารณสุขว่า



วัคซีนสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้จริง เป็นการอ้างอยู่บนพื้นฐานของความไม่เข้าใจว่า ยิ่งมีการกลายพันธุ์มากขึ้นเท่าไร ภูมิคุ้มกันที่สร้างมาเพื่อสู้กับสายพันธุ์ดั้งเดิมนั้น กลับสร้างปัญหาให้มากขึ้น จนเกิดภาวะ antibody dependence enhancement ภาวะที่ภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อสายพันธ์เดิมจำนวนมากนั้นกลับทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น[3] เมื่อติดเชื้อที่มีการกลายพันธุ์ไปอย่างมากอย่างโอมิครอน


ปัญหาจากการมีภูมิคุ้มกันเลวนี้ทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในจังหวัดที่มีการระดมฉีดวัคซีนในอัตราที่สูง จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคเอง[4] ที่มีการแสดงอัตราการได้รับวัคซีนของประชากร อัตราป่วยตายจากโควิด (มีผู้เสียชีวิตกี่เปอร์เซ็นต์จากผู้ป่วยที่เป็นโควิดทั้งหมด) และอัตราการเสียชีวิตจากโควิดต่อประชากรล้านคนในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ เมื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์หาความสัมพันธุ์พบว่า ไม่มีความสัมพันธุ์ระหว่างอัตราการฉีดวัคซีนกับอัตราป่วยตาย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.1 (รูปที่ ) ทั้งที่ถ้าการฉีดวัคซีนช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจริงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ได้ควรมีค่าเป็นลบ คือ ยิ่งฉีดมากอัตราเสียชีวิตยิ่งลดลง แต่ข้อมูลจริงจากกระทรวงสาธารณสุขเองกลับไม่เป็นเช่นนั้น



ที่สำคัญคือ เมื่อวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเสียชีวิตจากโควิดต่อประชากรล้านคนในแต่ละจังหวัด กับอัตราการฉีดวัคซีนในจังหวัดนั้น พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่สูงถึง 0.42 ซึ่งหมายความว่าอัตราของทั้งสองมีความสัมพันธ์กันโดยพบว่า ยิ่งฉีดวัคซีนมากขึ้นเท่าใด อัตราการเสียชีวิตยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ข้อมูลนี้สอดคล้องกับการศึกษาในต่างประเทศที่พบว่า ยิ่งมีการฉีดวัคซีนมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งมีการระบาดของโรคเพิ่มขึ้นเท่านั้น[5]


นอกจากข้อมูลจริงของสาธารณสุขจะแสดงให้เห็นว่าวัคซีน ไม่ได้ช่วยลดอัตราการตายตามที่อ้างแล้ว ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ยังพบว่า อัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากทุกสาเหตุในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 12.4 โดยเพิ่มขึ้น 62,212 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่เสียชีวิตจากโควิด 17,163 ราย คำถามที่น่าสงสัยคือ ผู้ที่เสียชีวิตนอกจากนั้นเกิดจากอะไร ถ้าวัคซีนช่วยทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงจริง การระดมฉีดวัคซีนในปีที่ผ่านมาถึงหนึ่งร้อยล้านโดสน่าจะทำให้อัตราการเสียชีวิตของคนไทยลดลงกว่าปี ๒๕๖๓ มิใช่เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 12.4% และถ้าย้อนกลับไปดูในปี ๒๕๖๓ ที่เริ่มมีการระบาดของโควิดคนไทยเสียชีวิต ลดลงจากเดิมร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๒ แปลกไหมว่า ในปี ๒๕๖๓ มีการระบาดแต่ไม่มีการฉีดวัคซีนอัตราตายลดลง ในขณะที่ในปี ๒๕๖๔ มีการระบาดและมีการระดมฉีดวัคซีนอัตราตายกลับเพิ่มขึ้น และเพิ่มสูงมากในช่วงท้ายของปีที่มีการระดมฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เมื่อติดตามดูข้อมูลของปีนี้พบว่าอัตราการเสียชีวิตของคนไทยเพิ่มขึ้นจากทุกปีก่อนหน้าอย่างชัดเจน (รูปที่ 3) ทั้งๆที่อัตราการเสียชีวิตจากโควิดมีแนวโน้มลดลง



ข้อมูลที่นำมานำเสนอนี้เป็นข้อมูลจากทางราชการเองทั้งจากกระทรวงสาธารณสุขและกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[6] ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ คนไทย จะตั้งคำถามว่า ศบค ทำอะไรกันแน่ ทำไมยิ่งแก้ยิ่งไม่จบ ทำไมประเทศหลากหลายประเทศทั่วโลกที่ไม่ระดมฉีดวัคซีนกลับแก้ปัญหาการระบาดได้ ทำไมมีคนมากมายในหลายประเทศออกมาเดินขบวนประท้วงการบังคับฉีดวัคซีน ทำไมรัฐบาลของหลายประเทศถึงออกมาปกป้องบริษัทยา แต่ไม่ปกป้องสิทธิของประชาชนของตนเอง คำถามเหล่านี้เป็นคนถามที่คนไทยควรสงสัย และเริ่มที่จะช่วยกันทำอะไรที่ช่วยให้คนไทย ได้ปลดแอก หลุดพ้นจากกับดักความคิด ที่คิดว่ามีแต่ยาของฝรั่งเท่านั้นที่แก้ปัญหาโควิดได้ จนไม่สนใจสมุนไพรไทย นวัตกรรมของคนไทยอีกมากมายที่สามารถนำมาแก้ปัญหานี้ของเราเอง





“การงานสิ่งใดของเขาที่ดี ควรจะเรียนร่ำเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเสียทีเดียว"

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว





📝: นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง


 

เรื่องเล่าหลังเข็ม 4

  เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ ขอหยิบpกเรื่องที่ คุณวิบูลย์ อิงคากุล นำมาบอกเล่าผ่านทางFB 🕀🕀🕀...