วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2565

ทำไมอัตราตายในจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนมากจึงสูงกว่าจังหวัดที่มีอัตราการฉีดวัคซีนน้อย?

เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ  


ถ้าวัคซีนป้องกันการเสียชีวิตจากโควิดได้ ทำไมอัตราตายในจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนมากจึงสูงกว่าจังหวัดที่มีอัตราการฉีดวัคซีนน้อย ?

เป็นที่ทราบกันดีว่า วัคซีนที่นำมาใช้ฉีดเพื่อป้องกันโรคโควิดนั้นไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ ไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ซึ่งไม่เป็นไปตามตามคำจำกัดความของ “การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค” ตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อมาตรา ๔ และมาตรา ๓๔[1] อย่างไรก็ดี มีความพยายามที่จะบอกว่า แม้จะป้องกันการติดเชื้อไม่ได้แต่วัคซีนยังกันป่วยหนัก กันตายได้ทั้งๆที่ การป้องกันการป่วยหนักและป้องกันการตายมิใช่วัตถุประสงค์หลักของวัคซีน และมีวิธีอื่นๆอีกมากมายในการป้องกันการป่วยหนักและการเสียชีวิตจากโควิดได้[2] ก็ยังมีการอ้างจากภาครัฐ โดยเฉพาะจากกระทรวงสาธารณสุขว่า



วัคซีนสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้จริง เป็นการอ้างอยู่บนพื้นฐานของความไม่เข้าใจว่า ยิ่งมีการกลายพันธุ์มากขึ้นเท่าไร ภูมิคุ้มกันที่สร้างมาเพื่อสู้กับสายพันธุ์ดั้งเดิมนั้น กลับสร้างปัญหาให้มากขึ้น จนเกิดภาวะ antibody dependence enhancement ภาวะที่ภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อสายพันธ์เดิมจำนวนมากนั้นกลับทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น[3] เมื่อติดเชื้อที่มีการกลายพันธุ์ไปอย่างมากอย่างโอมิครอน


ปัญหาจากการมีภูมิคุ้มกันเลวนี้ทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในจังหวัดที่มีการระดมฉีดวัคซีนในอัตราที่สูง จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคเอง[4] ที่มีการแสดงอัตราการได้รับวัคซีนของประชากร อัตราป่วยตายจากโควิด (มีผู้เสียชีวิตกี่เปอร์เซ็นต์จากผู้ป่วยที่เป็นโควิดทั้งหมด) และอัตราการเสียชีวิตจากโควิดต่อประชากรล้านคนในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ เมื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์หาความสัมพันธุ์พบว่า ไม่มีความสัมพันธุ์ระหว่างอัตราการฉีดวัคซีนกับอัตราป่วยตาย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.1 (รูปที่ ) ทั้งที่ถ้าการฉีดวัคซีนช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจริงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ได้ควรมีค่าเป็นลบ คือ ยิ่งฉีดมากอัตราเสียชีวิตยิ่งลดลง แต่ข้อมูลจริงจากกระทรวงสาธารณสุขเองกลับไม่เป็นเช่นนั้น



ที่สำคัญคือ เมื่อวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเสียชีวิตจากโควิดต่อประชากรล้านคนในแต่ละจังหวัด กับอัตราการฉีดวัคซีนในจังหวัดนั้น พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่สูงถึง 0.42 ซึ่งหมายความว่าอัตราของทั้งสองมีความสัมพันธ์กันโดยพบว่า ยิ่งฉีดวัคซีนมากขึ้นเท่าใด อัตราการเสียชีวิตยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ข้อมูลนี้สอดคล้องกับการศึกษาในต่างประเทศที่พบว่า ยิ่งมีการฉีดวัคซีนมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งมีการระบาดของโรคเพิ่มขึ้นเท่านั้น[5]


นอกจากข้อมูลจริงของสาธารณสุขจะแสดงให้เห็นว่าวัคซีน ไม่ได้ช่วยลดอัตราการตายตามที่อ้างแล้ว ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ยังพบว่า อัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากทุกสาเหตุในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 12.4 โดยเพิ่มขึ้น 62,212 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่เสียชีวิตจากโควิด 17,163 ราย คำถามที่น่าสงสัยคือ ผู้ที่เสียชีวิตนอกจากนั้นเกิดจากอะไร ถ้าวัคซีนช่วยทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงจริง การระดมฉีดวัคซีนในปีที่ผ่านมาถึงหนึ่งร้อยล้านโดสน่าจะทำให้อัตราการเสียชีวิตของคนไทยลดลงกว่าปี ๒๕๖๓ มิใช่เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 12.4% และถ้าย้อนกลับไปดูในปี ๒๕๖๓ ที่เริ่มมีการระบาดของโควิดคนไทยเสียชีวิต ลดลงจากเดิมร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๒ แปลกไหมว่า ในปี ๒๕๖๓ มีการระบาดแต่ไม่มีการฉีดวัคซีนอัตราตายลดลง ในขณะที่ในปี ๒๕๖๔ มีการระบาดและมีการระดมฉีดวัคซีนอัตราตายกลับเพิ่มขึ้น และเพิ่มสูงมากในช่วงท้ายของปีที่มีการระดมฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เมื่อติดตามดูข้อมูลของปีนี้พบว่าอัตราการเสียชีวิตของคนไทยเพิ่มขึ้นจากทุกปีก่อนหน้าอย่างชัดเจน (รูปที่ 3) ทั้งๆที่อัตราการเสียชีวิตจากโควิดมีแนวโน้มลดลง



ข้อมูลที่นำมานำเสนอนี้เป็นข้อมูลจากทางราชการเองทั้งจากกระทรวงสาธารณสุขและกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[6] ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ คนไทย จะตั้งคำถามว่า ศบค ทำอะไรกันแน่ ทำไมยิ่งแก้ยิ่งไม่จบ ทำไมประเทศหลากหลายประเทศทั่วโลกที่ไม่ระดมฉีดวัคซีนกลับแก้ปัญหาการระบาดได้ ทำไมมีคนมากมายในหลายประเทศออกมาเดินขบวนประท้วงการบังคับฉีดวัคซีน ทำไมรัฐบาลของหลายประเทศถึงออกมาปกป้องบริษัทยา แต่ไม่ปกป้องสิทธิของประชาชนของตนเอง คำถามเหล่านี้เป็นคนถามที่คนไทยควรสงสัย และเริ่มที่จะช่วยกันทำอะไรที่ช่วยให้คนไทย ได้ปลดแอก หลุดพ้นจากกับดักความคิด ที่คิดว่ามีแต่ยาของฝรั่งเท่านั้นที่แก้ปัญหาโควิดได้ จนไม่สนใจสมุนไพรไทย นวัตกรรมของคนไทยอีกมากมายที่สามารถนำมาแก้ปัญหานี้ของเราเอง





“การงานสิ่งใดของเขาที่ดี ควรจะเรียนร่ำเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเสียทีเดียว"

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว





📝: นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องเล่าหลังเข็ม 4

  เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ ขอหยิบpกเรื่องที่ คุณวิบูลย์ อิงคากุล นำมาบอกเล่าผ่านทางFB 🕀🕀🕀...