เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ
ปัญหาของใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty)สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 หรือเทียบเท่า
จากการที่คณะกรรมการอาหารและยาได้ให้การอนุมัติฉุกเฉินให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty) กับเด็กอายุ12 ถึง 18 ปี โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำใบยินยอมเพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนไฟเซอร์ก่อนที่จะลงนามยินยอมให้เด็กในปกครองได้รับการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ดีใบยินยอมดังกล่าวมิได้ระบุข้อมูลที่สำคัญหลายประการเป็นเหตุให้ผู้ปกครองไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ในใบยินยอม มิได้ระบุว่า วัคซีนที่ใช้เป็นการให้ใช้
ภายใต้การ “อนุมัติฉุกเฉิน” (Emergency Use Authorization,
EUA) การอนุมัติฉุกเฉินที่ข้ามขั้นตอนการทดสอบความปลอดภัยตามปกติ
และปกป้องมิให้ บริษัทต้องรับผิดชอบใดๆหากเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์
ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงสำคัญที่ผู้ปกครองควรได้รับรู้
2. ในใบยินยอม
มิได้ระบุว่า
การวิจัยเพื่อทดสอบความปลอดภัยของวัคซีนไฟเซอร์ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการและจะเสร็จสิ้นลงในปีพุทธศุกราช
๒๕๖๘[1] การมิได้ระบุข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า
วัคซีนไฟเซอร์นั้นไดผ่านการทดสอบความปลอดภัยแล้ว
3. ในใบยินยอมระบุว่า “วัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคโควิดในระดับสูง
และสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคได้” ซึ่งไม่เป็นความจริง ทั้งนี้จากรายงานการวิจัยที่สนับสนุนทุนโดยบริษัท
ไฟเซอร์เอง[2] ซึ่งลงตีพิมพิ์ในวารสารทางการแพทย์ของนิวอิงค์แลนด์
(July 15, 2021 N Engl J Med 2021; 385:239-250) ได้ระบุในหน้า
245 ภายใต้หัวข้อ “ประสิทธิภาพ” (Efficacy) ไว้อย่างชัดเจนว่า “No cases of severe Covid-19 were observed in
this age cohort.” ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง (หรือเสียชีวิต)
ในการทดลองนี้ กล่าวคือ
ไม่พบผู้ป่วยโควิดรุนแรงทั้งในกลุ่มทดลองที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์และในกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก
ซึ่งทำให้ ไม่สามารถสรุปได้ว่า
วัคซีนไฟเซอร์สามารถป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง หรือ ลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งนี้รายงานวิจัยดังกล่าวเป็นรายงานการวิจัยเดียวกันที่ทางบริษัทใช้ยื่นในการขออนุมัติฉุกเฉินจาก
คณะกรรมการอาหารและยา
4. ในใบยินยอม
ระบุผลข้างเคียงที่พบ น้อยกว่าที่พบจริง ทั้งนี้
ในใบยินยอมดังกล่าวระบุผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ น้อยกว่าที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยาของบริษัทยาเอง ที่สำคัญมิได้ระบว่า
วัคซีนสามารถทำให้เสียชีวิต หรือมีโอกาสพิการได้
5. มีข้อมูลภายหลังที่ระบุชัดเจนว่า
บริษัทยามีความพยายามในการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีนไฟเซอร์นี้
โดยพยายามปิดข้อมูลดังกล่าวเอาไว้ 75 ปี
ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสาธารณะที่
ศาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีคำตัดสินให้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ และสามารถเข้าไปดูได้ที่
https://phmpt.org/pfizers-documents/ แต่มิได้มีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใส่ไว้ในใบยินยอม
ตามคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย[3]
ข้อที่ ๒.ระบุว่า “ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูล “ที่เป็นจริง”และเพียงพอ
เกี่ยวกับการเจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษา จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
ด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติต่อตน”
การที่ ใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty)สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1-6 หรือเทียบเท่าของ
กระทรวง มิได้ระบุข้อมูลที่เป็นจริง และพอเพียง ตามที่ระบุในรายละเอียดข้างต้นจึงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรมทางการแพทย์
ขัดต่อสิทธิอังพึงมีของผู้ป่วยตามประกาศของแพทยสภาอย่างชัดเจน
จึงขอให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงใบยินยอมดังกล่าวให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง
มิเช่นนั้นหากมีผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ เกิดผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนนี้
ใบยินยอมดังกล่าวจะไม่สามารถปกป้อง บุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ทำการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ใหักับผู้ป่วยได้
แม้ว่า ผู้ป่วยหรือผู้ปกครองจะลงนามให้การยินยอมแล้วก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากถือว่า
บุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ทำการฉีดวัคซีนให้กับผู้ป่วย “จงใจให้ข้อมูลที่บิดเบือนไม่ตรงกับข้อเท็จจริง”
ผลจากการกระทำนี้ อาจทำให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการฉีดวัคซีน สามารถฟ้องร้องเอาผิดและเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคลากรทางการแพทย์คนดังกล่าวได้
[1] Study
to Describe the Safety, Tolerability, Immunogenicity, and Efficacy of RNA
Vaccine Candidates Against COVID-19 in Healthy Individuals
[2] Safety,
Immunogenicity, and Efficacy of the BNT162b2 Covid-19 Vaccine in Adolescents
July 15, 2021 N Engl J Med 2021; 385:239-250 DOI: 10.1056/NEJMoa2107456
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น