เวทาสากุ กุสาทาเว
ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ อันเป็นกฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ ได้ระบุสิทธิและหน้าที่ต่างๆของปวงชนชาวไทย
ทั้งนี้ได้ระบุถถึงความรับผิดชอบของบุคคลและของรัฐในการที่จะเคารพสิทธิและเสรีภาพของคนในประเทศด้วย
เนื่องจากในปัจจุบัน มีการออกมาตรการที่เป็นการจำกัดสิทธิ เสรีภาพของบุคคล
ซึ่งเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ คณะทำงานเพื่อสิทธิและเสรีภาพอันชอบธรรมของปวงชนชาวไทย
จึงได้รวบรวมข้อกฎหมายและเหตุผลต่างๆที่สามารถนำไปใช้ในการเรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญของบุคคล
กลุ่มบุคคล ชุมชน ที่เดือดร้อนจากการมีมาตรการที่ไม่เป็นธรรม
จำกัดสิทธิเสรีภาพอันพึงมีพึงได้ตามรัฐธรรมนูญ ตายรายละเอียดด้านล่าง ผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการประกอบคำฟ้องเพื่อเรียกร้องสิทธิ
ค่าเสียหาย ค่าชดเชย ที่เกิดจากการกระทำอันขัดต่อรัฐธรรมนูญ ของหน่วยงานภาครัฐ
องค์กรภาคเอกชน และผู้บริหารที่สั่งการให้มีการบังคับใช้กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับต่างๆที่เป็นการละเมิดสิทธิของท่านได้
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา
๒๖
การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไป ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าว ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม
ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้
รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจําเป็นในการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพไว้ด้วย
กฎหมายตามวรรคหนึ่ง
ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด กรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง
ตามมาตรานี้
คำสั่ง/กฎหมาย/ระเบียบ/ข้อบังคับ ใดๆที่ มีการจำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ อาทิ
การห้ามผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน เดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ การห้ามรับบริการรับบริการใดๆจากทางภาครัฐ
หรือ การจำกัดสิทธิหรือ เสรีภาพใดๆ ก็ตาม คำสั่งดังกล่าวเหล่านั้นจำต้องระบุ
เหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิไว้ด้วย หากไม่มีการระบุ คำสั่ง/กฎหมาย/ระเบียบ/ข้อบังคับนั้นๆ
ย่อมขัดกับรัฐธรรมนูญ
มาตรา
๒๗ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย
มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล
ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ
สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม
หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใด
จะกระทํามิได้
ตามมาตรานี้
การเลือกปฏิบัติ ต่อ ผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน ด้วยเหตุผลทางสุขภาพ ไม่สามารถกระทำได้
การออกคำสั่ง/กฎหมาย/ระเบียบ/ข้อบังคับ ที่จำกัดสิทธิผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน จึงเป็น
คำสั่ง/กฎหมาย/ระเบียบ/ข้อบังคับที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
มาตรา
๓๑ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน
แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ
และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ตามมาตรานี้
คำสั่งที่จำกัดสิทธิในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนา อาทิ คำสั่ง/กฎหมายที่ห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน
เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา
จึงเป็นคำสั่ง/กฎหมายที่ขัดต่อมาตรานี้ของรัฐธรรมนูญ
มาตรา
๓๘ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่การจํากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทํามิได้
เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อความมั่นคงของรัฐ
ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน
หรือการผังเมืองหรือเพื่อรักษาสถานภาพของครอบครัว หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์
ตามมาตรานี้บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง
การจำกัดเสรีภาพด้วยเงื่อนไขการฉีดวัคซีนจึงมิสามารถกระทำได้
ทั้งนี้เว้นแต่การอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อความมั่นคงของรัฐ
ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน
อย่างไรก็ดีการกำหนดย่อมต้องอยู่ภายใต้อำนาจที่ระบุไว้ในกฎหมายนั้นๆด้วย
ในกรณีของวัคซีน กฎหมายที่ถูกนำมาอ้างถึง คือ พระราชกำหนดสภานการณ์ฉุกเฉิน และ
พระราชบัญญัติความคุมโรคติดต่อ อันระบุอำนาจและเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามไว้อย่างเคร่งครัดการออกข้อบังคับ
กฎ ระเบียบ ใดๆที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในกฎหมายดังกล่าวที่ใช้อ้าง
(พระราชบัญญัติโรคติดต่อ และพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน) จึงมิสามารถกระทำได้
กรุณาอ่านรายละเอียดของเงื่อนไข ข้อบังคับ
ตลอดจนอำนาจที่กำหนดไว้ของกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวในรายละเอียดด้านล่าง
มาตรา
๔๗ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ
บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ตามมาตรานี้
รัฐมีหน้าที่ในการให้การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย
การที่รัฐมิสามารถจัดหาการป้องกันหรือมาตรการในการขจัดโรคติดต่ออันตรายที่มีประสิทธิภาพให้พอเพียงกับความต้องการของประชาชน
แต่กลับออกมาตรการทีจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
จากความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของรัฐเอง
เป็นการออกมาตรการที่ขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๕๐ บุคคลมีหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๖)
เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทําการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม
ตามมาตรานี้ได้ระบุหน้าที่ของบุคคล
ซึ่งรวมทั้งผู้บริหารประเทศ ข้าราชการ นายจ้าง ตลอดจนประชาชนทุกคน
ที่ต้องมีหน้าที่ในการเคารพและไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น การออก คำสั่ง
ข้อบังคับ หรือ กฎระเบียบใดๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ การออก คำสั่ง ข้อบังคับ
ระเบียบหรือ กฎระเบียบใดๆ ตลอดจนการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
ที่สร้างความแตกแยกหรือเกลียดชัง อาทิ การให้ข้อมูลผิดๆว่า
ผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเป็นแหล่งเชื้อโรค หรือเป็นผู้ที่แพร่เชื้อ
เป็นข้อมูลที่ผิดเนื่องจากผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วก็ยังสามารถติดเชื้อ และแพร่เชื้อได้
มาตรา
๕๕ รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง
เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
และส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด
บริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่ง
ต้องครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และป้องกันโรคการรักษาพยาบาล
และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย
รัฐต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตามมาตรานี้
รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง แต่ในข้อเท็จจริงแม้มีข้อมูลจากทางภาครัฐ
เรื่องประสิทธิภาพของยาฟาวิพิราเวียร์ว่า
ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโควิดแต่รัฐยังคงใช้ยาตัวนี้เป็นยาหลักในแนวทางการรักษาโรคโควิด
โดยมิได้ให้ความสำคัญกับยาอื่นอีกมากมายที่มีราคาถูกปลอดภัยและมีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคโควิด
อาทิ เช่น ยาไอเวอร์เม็คติน ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน ฟาโมติดีน แอสไพริน วิตามินดี
วิตามินซี ฟลูวอกซามีน แฮปาริน ฯลฯ ตลอดจนสมุนไพรอีกหลายชนิด อาทิ ฟ้าทะลายโจร
กระชาย ขมิ้นชัน โกศจุฬาลัมภา พลูคาว
ตลอดจนตำรับยาสมุนไพรไทยที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ การที่รัฐมิได้นำยาดังกล่าวมาใช้ในการรักษาถือว่า
รัฐมิได้ให้บริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ
อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรานี้
นอกจากนี้
ตามมาตรานี้ ยังระบุให้รัฐ
ต้องเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ
และการป้องกันโรค ในกรณีนี้
รัฐมิได้ให้ความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันโรค ในประเด็นสำคัญดังนี้
๑. ภูมิคุ้มกันของมนุษย์นั้นมีทั้งภูมิคุ้มกันชนิดที่มีติดตัวแต่กำเนิด
(innate
immunity) และชนิดที่ได้มาภายหลัง (acquired immunity) โดยภูมิคุ้มกันที่สำคัญคือ ภูมิคุ้มกันที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด
เนื่องจากเป็นภูมิคุ้มกันด่านแรกที่จะป้องกันการติดเชื้อแม้ว่ามิเคยได้สัมผัสเชื้อมาก่อน
ภูมิคุ้มกันที่ติดตัวมาแต่กำเนิดนี้ สามารถสร้างเสริมให้แข็งแรงขึ้นได้ด้วยการมีสุขภาวะที่ดี
ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะพืชผักสมุนไพรหลากหลายชนิดที่มีในประเทศไทย
การออกกำลังกาย การได้รับออกซิเจนเพียงพอ การถ่ายอุจจาระเป็นประจำทุกวัน
การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และการทำจิตใจให้แจ่มใสปลอดโปร่ง
ไม่วิตกกังวลจนเกินเหตุ
๒. นอกจากมิได้ให้ข้อมูลในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ
ที่มีมาแต่กำเนิดแล้ว รัฐยังให้ข้อมูลผิดๆเกี่ยวกับ
ภูมิคุ้มกันชนิดที่ได้มาภายหลัง (acquired immunity) กล่าวคือ ภูมิคุ้มกันชนิดนี้ มีทั้งภูมิคุ้มกันจาก แอนตี้บอดี้ (antibody)
และภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ (cellular immunity, or t-cell
immunity) การดูแต่ระดับแอนตี้บอดี้
มิได้เป็นวิธีวัดระดับภูมิคุ้มกันแต่เพียงวิธีเดียว ที่สำคัญแอนตี้บอดี้นั้น
มีทั้งชนิดที่ดีที่ป้องกันโรคได้
และชนิดที่ไม่ดีซึ่งทำให้เกิดผลข้างเคียงและทำให้อาการของโรคกลับรุนแรงมากขึ้นได้
(antibody dependent enhancement, ADE)
๓. ภูมิคุ้มกันที่ได้มาภายหลังซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติภายหลังจากที่หายจากโรคโควิดนั้น
มีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้ดีกว่าภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีน
๔. ภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบันนั้น
มิได้มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อกลายพันธุ์
ดังจะเห็นได้จากการที่มีการระบาดในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนในประชากรสูง อาทิ
ในประเทศอิสราเอล สิงค์โปร์ หรือ อังกฤษ ทั้งนี้ในประเทศที่ให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพ
และมีอัตราการติดเชื้อสูง อาทิ ประเทศ อินเดีย หรือ สวีเดน กลับมี
ภูมิคุ้มกันหมู่ที่ เกิดจากภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ
ที่สามารถทำให้การแพร่ระบาดยุติลงได้
การที่รัฐมิได้ให้ข้อมูลพื้นฐานในการป้องกันโรค
ตามรายละเอียดข้างต้น จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรานี้
ตามมาตรานี้
ยังกำหนดให้รัฐต้อง
“ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด”
ซึ่งนอกจากจะไม่มีการสนับสนุนภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยที่มีอยู่มากมายในการใช้รักษาโรคโควิดแล้ว
รัฐยังมีมาตรการที่ ขัดขวาง มิให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย
การกระทำดังกล่าวของรัฐ จึงถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
〰〰〰〰〰〰〰 ★ ⛯ ☆ 〰〰〰〰〰〰〰
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติโรคติดต่อ
พุทธศักราช ๒๕๕๘
ตามมาตรา ๔
ในพระราชบัญญัตินี้ ได้ระบุคำจำกัดความของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไว้ว่า
“การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค”
หมายความว่า การกระทําทางการแพทย์ต่อคน หรือสัตว์โดยวิธีการใดๆ
เพื่อให้คนหรือสัตว์เกิดความต้านทานโรค
จะเห็นได้ว่าตามคำจำกัดความดังกล่าวมิได้ระบุว่า
จำเป็นต้องใช้วัคซีนในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค หากแต่ระบว่า
การกระทำทางการแพทย์ โดยวิธีการใดๆ เพื่อให้คนหรือสัตว์ความต้านทานโรค ดังนั้น
การกระทำใดๆที่ช่วยให้เกิดภูมิต้านทานโรค ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสุขอนามัยที่ดี
(หลัก ๕ อ) การใช้สมุนไพรสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
ตลอดจนการค้นหาผู้ป่วยและให้การรักษาผู้ป่วยที่ติดโควิดตั้งแต่เนิ่น ๆ
ด้วยวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ (การป้องกันขั้นทุติยภูมิ) เพื่อทำให้ผู้ป่วยเกิดภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ
ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อกลายพันธุ์ได้ จึงนับรวมเป็น
“การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค” ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ทั้งสิ้น
ทั้งนี้หากพิจารณาในหมวด
๖ การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ มาตรา ๓๔
ข้อ ๒ ที่ระบุว่า
(๒) ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดโรคได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ตามวัน เวลา และสถานที่ ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนด เพื่อมิให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป
ทั้งนี้ หากเป็นสัตว์ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสัตว์เป็นผู้นําสัตว์มารับการป้องกันโรค
ข้อบัญญัติตามมาตรา
๓๔ ข้อ ๒ นี้เป็นการชี้ชัดเจตนารมณ์ ของกฎหมายฉบับนี้ว่า
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามที่บัญญัติในกฎหมายฉบับนี้นั้น
ต้องสามารถป้องกันมิให้โรคแพร่ระบาดออกไป คือ ต้องป้องกันการติดเชื้อได้
ต้องทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ดังนั้น การฉีดวัคซีนที่ด้อยประสิทธิภาพที่มีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
โดยรัฐมีมาตรการ ส่งเสริม และกดดันให้ประชาชนได้รับนั้น
จึงมิได้เป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
เพราะวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันมิสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้
การอ้างถึงอำนาจตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในการออกคำสั่งที่กำหนดให้การได้รับวัคซีน
เป็นเงื่อนไขในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ จึงมิสามารถกระทำได้
หมวด ๖ การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
มาตรา ๓๔ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เมื่อเกิดโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาดหรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดในเขตพื้นที่ใด
ให้เจ้าพนักงาน ควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่นั้นมีอำนาจที่จะดำเนินการเองหรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
๑)
ให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด
หรือผู้ที่เป็นผู้สัมผัสโรคหรือเป็นพาหะ มารับการตรวจหรือรักษา
หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ และเพื่อความปลอดภัยอาจดำเนินการโดยการแยกกัก กักกัน
หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนด
จนกว่าจะได้รับการตรวจและการชันสูตรทางการแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือสิ้นสุดเหตุอันควรสงสัย
ทั้งนี้
หากเป็นสัตว์ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสัตว์เป็นผู้นําสัตว์มารับการตรวจหรือรักษา
หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์
(๒)
ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดโรคได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตามวัน เวลา
และสถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนด
เพื่อมิให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป
ทั้งนี้หากเป็นสัตว์ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสัตว์เป็นผู้นําสัตว์มารับการป้องกันโรค
(๗) ห้ามผู้ใดเข้าไปหรือออกจากที่เอกเทศ
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
มาตรานี้ได้กำหนดอำนาจของเจ้าพนักงานควบคุมโรคให้สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด
๘ ข้อ โดยมีเพียงข้อ ๑) ๒) ๗) ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
ซึ่งตามรัฐธรรมนูญจำต้องระบุเหตุผลและความจำเป็น ทั้งนี้
ตามข้อ ๑ ของมาตรานี้ ระบุว่า สามารถ
แยกกัก กักกันหรือคุมไว้
จนกว่าจะได้รับการตรวจและชันสูตรทางการแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อของโรค
ดังนั้นหามีการตรวจยืนยันว่าไม่สามารถแพร่เชื้อได้แล้วย่อมไม่สามารถ แยกกัก กักกัน
หรือ ควบคุมตัวต่อได้
ข้อ
๒ ระบุว่า การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคนั้น
เพื่อมิให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป ซึ่งหมายความว่า
การกระทำใดๆที่มิได้ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค มิได้ป้องกันการติดเชื้อ มิได้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่
ย่อมมิใช่การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ วัคซีนไม่ป้องกันการติดเชื้อ
คนที่ฉีดวัคซีนแล้วยังติดเชื้อได้ วัคซีนมิได้ป้องกันการแพร่ระบาด
คนที่ฉีดวัคซีนแล้วยังแพร่เชื้อได้ วัคซีนมิได้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ วัคซีนจึง
มิใช่การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
ข้อ
๗ ตามมาตรานี้เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ การออกคำสั่ง
ระเบียบข้อบังคับใดๆตามมาตรานี้จึงจำต้องระบุเหตุผลและความจำเป็นที่ชัดเจน
มิสามารถสั่งการได้ตามอำเภอใจโดยมิมีเหตุผลที่สมควรรองรับ ทั้งนี้ตามมาตรา ๓๔
นี้ได้ระบุชัดในตอนต้นว่า “เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ”
การมีคำสั่งห้ามผู้ที่มิได้ฉีดวัคซีนเข้าไปในสถานที่ใดๆ จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมาตราการนั้นๆสามารถป้องกันและควบคุมโรคได้เท่านั้นเท่านั้น
การฉีดวัคซีนเพียงหนึ่งเข็ม (หรือแม้แต่ครบสองเข็ม)
มิได้มีผลในการป้องกันการติดโรค และมิได้ป้องกันการแพร่เชื้อโรค การกำหนดให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งเข็มให้เข้าไปสถานที่ใดๆได้
แต่ห้ามมิให้ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนให้เข้าไปในสถานที่นั้นๆ จึงมิได้เป็นไปตามอำนาจที่กำหนดไว้ให้กระทำได้ตามพระราชบัญญัตินี้
การออกคำสั่งทำนองดังกล่าวจึงไม่สามารถกระทำได้
มาตรา
๔๘ ในการดำเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้
หากเกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลใดจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน หรือการควบคุมโรคให้ทางราชการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้นั้นตามความจําเป็น
ตามมาตรานี้
ได้ระบุให้รัฐ ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมาตราการป้องกัน อาทิ การสั่งปิด
ตลาด ร้านค้า หรือการสั่งระงับการให้บริการใดๆ ผู้เสียหายย่อมได้รับการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภาครัฐ
อนึ่งหากมาตรการที่ออกมานั้น เป็นมาตรการที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือ เกินความจำเป็น
ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียจากความผิดทางละเมิด จากผู้ออกคำสั่งนั้นๆได้
〰〰〰〰〰〰〰 ★ ⛯ ☆ 〰〰〰〰〰〰〰
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
มาตรา
๙
ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ ยุติลงได้โดยเร็ว หรือ ป้องกันมิให้
เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น ให้ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
(๑) ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้ รับอนุญาต
จากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น
ตามที่ระบุอำนาจในข้อนี้รัฐสามารถออกมาตรการดังกล่าวได้แต่เนื่องจากเป็นการจำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็น
(๒)
ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ
หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิด ความไม่สงบเรียบร้อย
ตามที่ระบุอำนาจในข้อนี้รัฐสามารถออกมาตรการดังกล่าวได้แต่เนื่องจากเป็นการจำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็น และในข้อนี้ระบุชัดเจน
ต้องเป็นการกระทำที่ยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย การชุมนุมกัน
ที่มิได้ยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย อาทิ งานศพ งานแต่งงาน พิธีทางศาสนา กฎหมายข้อนี้มิได้ให้อำนาจไว้
จึงมิสามารถออกคำสั่งโดยอ้างพระราชกำหนดนี้ได้
(๓) ห้ามการเสนอข่าว การจําหน่าย หรือทำให้ แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นใด
ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้
เกิดความ เข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน
ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือทั่วราชอาณาจักร
ตามที่ระบุอำนาจในข้อนี้รัฐควรต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง
มิใช่ให้ข้อมูลที่สร้างความตื่นตระหนกโดยไม่จำเป็น อาทิ อัตราการตายของโรค
ควรระบุรายละเอียดที่ชัดเจนของแต่ละช่วงอายุ อัตราการติดเชื้อที่แท้จริง
(มิใช่ที่รายงาน) ตลอดจนแนวทางที่ใช้ในการรักษาโรคโควิดที่ถูกต้อง
แนวทางที่ใช้ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอื่นๆ นอกจากวัคซีน
(๔) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทาง
คมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
ตามที่ระบุอำนาจในข้อนี้รัฐสามารถออกมาตรการดังกล่าวได้แต่เนื่องจากเป็นการจำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็น
(๕) ห้ามการใช้ อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ
ตามที่ระบุอำนาจในข้อนี้รัฐสามารถออกมาตรการดังกล่าวได้แต่เนื่องจากเป็นการจำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็น
(๖)
ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด
ข้อกำหนดตามวรรคหนึ่ง
จะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในการ ปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
หรือมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดพื้นที่และรายละเอียดอื่น เพิ่มเติม
เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้ เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้
ตามมาตรานี้มาตรการที่ออกมา
ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ อาทิ
การห้ามนั่งทานในร้านที่มีอากาศถ่ายเทดี อนึ่ง ในมาตรานี้ มิได้ให้อำนาจ
จำกัดสิทธิประชาชน โดยใช้การแต่งตัว (ใส่หน้ากาก) หรือ เรื่องสุขภาพ (การได้รับวัคซีน)
มาเป็นเงื่อนไข การใช้เงื่อนไขทั้งสองข้อมากำหนดในการออกมาตรการใดๆ
จึงมิสามารถอ้างอำนาจจากมาตรานี้ได้
มาตรา
๑๐ เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินให้สามารถ
กระทำได้โดยรวดเร็ว นายกรัฐมนตรีอาจมอบอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็น
หัวหน้าผู้รับผิดชอบตามมาตรา ๗ วรรคสี่ เป็นผู้ใช้อำนาจออกข้อกำหนดตามมาตรา ๙
แทนก็ได้ แต่เมื่อดำเนินการแล้วต้องรีบรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว และถ้านายกรัฐมนตรีมิได้
มีข้อกำหนดในเรื่องเดียวกันภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกข้อกำหนด
ให้ข้อกำหนดนั้นเป็นอันสิ้นผลใช้บังคับ
ตามมาตรานี้
การออกข้อกำหนดของพนักงานเจ้าหน้าที่ อาทิเช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด จำเป็นต้องรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ
และนายกรัฐมนตรี ต้องมีข้อกำหนดเรื่องเดียวกันภายใน สี่สิบแปดชั่วโมง
มิเช่นนั้นข้อบังคับที่ออกมานั้นเป็นอันสิ้นผลใช้บังคับ กรณีนี้
มีหลายจังหวัดที่ออกข้อบังคับ ที่บังคับเฉพาะในจังหวัดตน
โดยมิได้มีการรายงานต่อนายกรัฐมนตรี
และนายกรัฐมนตรีมีได้มีข้อกำหนดในเรื่องเดียวกันนั้นภายในสี่สิบแปดชั่วโมง
ข้อกำหนดนั้นจึงมิสามารถใช้บังคับได้
มาตรา
๑๑ ในกรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินมีการก่อการร้าย การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย
หรือทรัพย์สิน หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคง
ของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล
และมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไข ปัญหาให้ยุติได้ อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้สถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นสถานการณ์ที่มีความร้ายแรง
และให้นําความในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ วรรคสอง มาใช้ บังคับโดยอนุโลม เมื่อมีประกาศตามวรรคหนึ่งแล้ว
นอกจากอำนาจตามมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ และ มาตรา ๑๐
ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ประกาศให้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วม
กระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา
ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือ ปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้ เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจําเป็นเพื่อป้องกันมิให้ บุคคลนั้นกระทำการหรือรวมมือกระทำการใด
ๆ อันจะทำให้ เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง
หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง
(๒) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้ บุคคลใดมารายงานตัวต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่หรือมาให้ ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์
ฉุกเฉิน
(๓) ประกาศให้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า
เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า
ได้ใช้ หรือจะใช้สิ่งนั้น เพื่อการกระทำการ หรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน
(๔) ประกาศให้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ถอน
หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง
ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็วและหากปล่อยเนิ่นช้าจะทำให้ไม่อาจระงับเหตุการณ์ได้ทันท่วงที
(๕) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบจดหมาย หนังสือ
สิ่งพิมพ์โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด
ตลอดจนการสั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อหรือ การสื่อสารใด เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุการณ์ร้ายแรง
โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน กฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษโดยอนุโลม
(๖) ประกาศห้ามมิให้กระทำการใด ๆ หรือสั่งให้กระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็น
แก่การรักษา ความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน
(๗) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร
เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการออกไปนอกราชอาณาจักรจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ
หรือความปลอดภัยของประเทศ
(๘) ประกาศให้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้ คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร
ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
ทั้งนี้โดยให้นํากฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๙) ประกาศให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า
เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภคเคมีภัณฑ์หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบหรือ
ก่อการร้ายต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรี
กำหนด
(๑๐) ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรง
หรือควบคุมสถานการณ์ให้ เกิดความสงบโดยด่วน ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของทหารให้
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้
โดยการใช้อำนาจ หน้าที่ของฝ่ายทหารจะทำได้ในกรณีใดได้เพียงใดให้เป็นไปตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่นายกรัฐมนตรี
กำหนดแต่ต้องไม่เกินกว่ากรณีที่มีการใช้กฎอัยการศึกเมื่อเหตุการณ์ร้ายแรงตามวรรคหนึ่งยุติลงแล้ว
ให้ นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศตาม มาตรานี้โดยเร็ว
ตามมาตรานี้
จะใช้อำนาจที่กำหนดไว้ได้ต้องมีสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความรุนแรง “มีการก่อการร้าย
การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน
หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคง ของรัฐ
ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล และมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไข
ปัญหาให้ยุติได้ อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที”
และนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต้องประกาศให้สถานการณ์นั้นเป็น
สถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นสถานการณ์ที่มีความร้ายแรงก่อน
จึงจะสามารถใช้อำนาจที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ได้ ปัจจุบันมิได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงเว้นแต่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
การอ้างถึงอำนาจตามมาตรานี้ ในพื้นที่อื่นๆจึงมิสามารถกระทำได้
มาตรา
๑๖ ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง
หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับ ของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง
ตามมาตรานี้การฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดนี้จึงมิสามารถกระทำได้
อย่างไรก็ดี หากคำสั่งดังกล่าวอ้างถึงอำนาจตามกฎหมายอื่นด้วย อาทิ
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ การฟ้องศาลปกครองด้วยเหตุของการใช้อำนาจผิดตามกฎหมายนั้น
ย่อมเป็นสิ่งที่กระทำได้
มาตรา
๑๗
พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง
ทางอาญา หรือทางวินัย
เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต
ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น
แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหาย จากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ตามมาตรานี้การออกข้อบังคับ
คำสั่งใดๆ ที่เกินสมควรแก่เหตุ เกินกว่ากรณีจำเป็น อาทิ เช่น
คำสั่งให้ใส่หน้ากากนอกบ้าน แม้ขณะอยู่กลางแดด หรือ ในที่แจ้งที่มีอากาศถ่ายเทดี
เนื่องจากแสงแดดมีรังสีอุลตราไวโอเลตที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้
คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่เกินจำเป็น หรือ
คำสั่งให้งดทานอาหารในร้านทั้งที่เป็นร้านที่เปิดโล่ง
และในทางปฏิบัติก็มีการนั่งทาน “หน้าร้าน” อยู่ดี จำเป็นคำสั่งที่เกินสมควรแก่เหตุ
คำสั่งเหล่านี้ ผู้เสียหาย
สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ได้
นอกจากนี้ หากคำสั่งดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติ อาทิ การจำกัดสิทธิ
ของผู้ที่แพ้วัคซีน การเรียกค่าเสียหายย่อมสามารถกระทำได้เช่นกัน
มาตรา
๑๘ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ
หรือคำสั่งที่ออกตามมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๓
ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตามมาตรานี้ได้กำหนดโทษไว้ไม่เกิน
สี่หมื่นบาท คำสั่งใดๆก็ตามที่กำหนดโทษไว้มากกว่านี้ จึงมิใช่คำสั่งที่อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดฉบับนี้
คำสั่งดังกล่าวจึงมิได้รับการคุ้มครองตามมาตรา ๑๗ สามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้
ด้วยเหตุผลตามที่ระบุข้างต้น
ผู้ใดก็ตามที่ได้รับความเสียหาย
ถูกลิดรอนสิทธิอันพึงมีพึงได้ จากคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากทางรัฐได้
นอกจากนี้
ผู้ที่ได้รับผลเสียจากการได้รับวัคซีน ด้วยเหตุจากการถูกบังคับให้ต้องรับวัคซีน
สามารถฟ้องร้องเอาผิดกับผู้ที่บังคับ ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานราชการ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ คณะกรรมการต่างๆ หัวหน้าหน่วยงาน ตลอดจน บริษัทห้างร้านเอกชน
และผู้บริหาร ที่ออกข้อบังคับข้อกำหนด อันเป็นการละเมิดสิทธิ์เหล่านั้น
ให้จ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชยต่างๆให้กับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิได้
เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ