วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565

ปัญหาของใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ สำหรับนักเรียนก่อนประถมและชั้นประถม

 เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ 

ปัญหาของใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty)สำหรับนักเรียนก่อนประถมศึกษาและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่มีอายุ 5 ปี ถึง 11 ปี 11 เดือน 29 วัน

จากการที่คณะกรรมการอาหารและยาได้ให้การอนุมัติฉุกเฉินให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty) กับเด็กเล็กอายุ 5 ถึง 11 ปี โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำใบยินยอมเพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนไฟเซอร์ก่อนที่จะลงนามยินยอมให้เด็กในปกครองได้รับการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ดีใบยินยอมดังกล่าวมิได้ระบุข้อมูลที่สำคัญหลายประการเป็นเหตุให้ผู้ปกครองไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.      ในส่วนของข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด มิได้ระบุว่า อัตราเสียชีวิตจากโรคนี้ในเด็กกลุ่มอายุนี้ของไทยอยู่ที่เพียง 7 ในล้านราย[1] และเด็กส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตมีโรคประจำตัวอื่นๆอาทิ โรคมะเร็ง โรคแพ้ภูมิตนเองที่อาจเป็นเหตุให้เสียชีวิต

2.      ในส่วนความสำคัญของวัคซีนโควิด มีการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ว่า “การฉีดวัคซีนในเด็กตั้งแต่อายุ 5 ถึง 11 ปีจึงมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอที่จะป้องกันโควิด 19” ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว

2.1.   เด็กในวัยนี้มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดีอยู่แล้ว วัคซีนจึงไม่ใช่ความจำเป็น

2.2.   จากรายงานการวิจัยของบริษัทยาเองวัคซีนไฟเซอร์มิได้ป้องกันการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อได้ การระบุว่าเพื่อป้องกันโควิด 19 จึงเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ[2]

 

3.      ในใบยินยอม มิได้ระบุว่า วัคซีนที่ใช้เป็นการให้ใช้ ภายใต้การ “อนุมัติฉุกเฉิน”[3] (Emergency Use Authorization, EUA)[4] มิใช่การขึ้นทะเบียนตามปกติ การอนุมัติฉุกเฉินที่ข้ามขั้นตอนการทดสอบความปลอดภัยตามปกติ และปกป้องมิให้ บริษัทต้องรับผิดชอบใดๆหากเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงสำคัญที่ผู้ปกครองควรได้รับรู้

4.   ในใบยินยอม มิได้ระบุว่า การวิจัยเพื่อทดสอบความปลอดภัยของวัคซีนไฟเซอร์ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการและจะเสร็จสิ้นลงในปีพุทธศุกราช ๒๕๖๘[5] การมิได้ระบุข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า วัคซีนไฟเซอร์นั้นได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยแล้ว




5.      ในใบยินยอมระบุว่าเป็นวัคซีนมีประสิทธิภาพ ความปลอดภัยสูงสามารถป้องกันการเจ็บป่วย และช่วยลดความรุนแรงของโรคได้” ซึ่งไม่เป็นความจริง เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ตลอดจนไม่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งนี้จากรายงานการวิจัยที่สนับสนุนทุนโดยบริษัท ไฟเซอร์เอง[6] ซึ่งลงตีพิมพิ์ในวารสารทางการแพทย์ของนิวอิงค์แลนด์ (January 6, 2022 N Engl J Med 2022; 386:35-46 DOI: 10.1056/NEJMoa2116298) ได้ระบุในหน้า 43 ภายใต้หัวข้อ “ประสิทธิภาพ” (Phase 2-3 Efficacy) ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “No cases of severe Covid-19 or MIS-C were reported” ไม่มีการรายงานผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือ มีภาวะอักเสบหลายระบบ (MIS-C) กล่าวคือ ไม่พบผู้ป่วยโควิดรุนแรงหรือ มีภาวะ MIS-C ทั้งในกลุ่มทดลองที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์และในกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก ซึ่งทำให้ ไม่สามารถสรุปได้ว่า วัคซีนไฟเซอร์สามารถป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง หรือ ป้องกันภาวะ MIS-C ได้ ทั้งนี้รายงานวิจัยดังกล่าวเป็นรายงานการวิจัยเดียวกันที่ทางบริษัทใช้ยื่นในการขออนุมัติฉุกเฉินจาก คณะกรรมการอาหารและยา

6.      มีรายงานการพบว่าเกิดภาวะ MIS-C ในเด็กที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ได้[7] จึงควรระบุในใบยินยอมว่า วัคซีนไฟเซอร์อาจทำให้เกิดภาวะ MIS-C ได้

7.      ในใบยินยอม ระบุผลข้างเคียงที่พบ น้อยกว่าที่พบจริง ทั้งนี้ ในใบยินยอมดังกล่าวระบุผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ น้อยกว่า ที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา ของบริษัทยาเอง ที่สำคัญมิได้ระบว่า วัคซีนสามารถทำให้เสียชีวิต หรือมีโอกาสพิการได้

8.   มีข้อมูลภายหลังที่ระบุชัดเจนว่า บริษัทยามีความพยายามในการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีนไฟเซอร์นี้ โดยพยายามปิดข้อมูลดังกล่าวเอาไว้  75 ปี ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสาธารณะที่ ศาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีคำตัดสินให้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ และสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://phmpt.org/pfizers-documents/ แต่มิได้มีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใส่ไว้ในใบยินยอม

ตามคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย[8] ข้อที่ ๒.ระบุว่า “ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูล “ที่เป็นจริง”และเพียงพอ เกี่ยวกับการเจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษา จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติต่อตน” การที่ ใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty)สำหรับนักเรียนก่อนประถมศึกษาและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่มีอายุ 5 ปี ถึง 11 ปี 11 เดือน 29 วัน ของกระทรวงสาธารณสุข มิได้ระบุข้อมูลที่เป็นจริง และพอเพียง ตามที่ระบุในรายละเอียดข้างต้นจึงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรมทางการแพทย์ ขัดต่อสิทธิอังพึงมีของผู้ป่วยตามประกาศของแพทยสภาอย่างชัดเจน จึงขอให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงใบยินยอมดังกล่าวให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นหากมีผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ เกิดผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนนี้ ใบยินยอมดังกล่าวจะไม่สามารถปกป้อง บุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ทำการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ใหักับผู้ป่วยได้ แม้ว่า ผู้ป่วยหรือผู้ปกครองจะลงนามให้การยินยอมแล้วก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากถือว่า บุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ทำการฉีดวัคซีนให้กับผู้ป่วย “จงใจให้ข้อมูลที่บิดเบือนไม่ตรงกับข้อเท็จจริง” ผลจากการกระทำนี้ อาจทำให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการฉีดวัคซีน สามารถฟ้องร้องเอาผิดและเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคลากรทางการแพทย์คนดังกล่าวได้










วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2565

ทำไมอัตราตายในจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนมากจึงสูงกว่าจังหวัดที่มีอัตราการฉีดวัคซีนน้อย?

เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ  


ถ้าวัคซีนป้องกันการเสียชีวิตจากโควิดได้ ทำไมอัตราตายในจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนมากจึงสูงกว่าจังหวัดที่มีอัตราการฉีดวัคซีนน้อย ?

เป็นที่ทราบกันดีว่า วัคซีนที่นำมาใช้ฉีดเพื่อป้องกันโรคโควิดนั้นไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ ไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ซึ่งไม่เป็นไปตามตามคำจำกัดความของ “การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค” ตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อมาตรา ๔ และมาตรา ๓๔[1] อย่างไรก็ดี มีความพยายามที่จะบอกว่า แม้จะป้องกันการติดเชื้อไม่ได้แต่วัคซีนยังกันป่วยหนัก กันตายได้ทั้งๆที่ การป้องกันการป่วยหนักและป้องกันการตายมิใช่วัตถุประสงค์หลักของวัคซีน และมีวิธีอื่นๆอีกมากมายในการป้องกันการป่วยหนักและการเสียชีวิตจากโควิดได้[2] ก็ยังมีการอ้างจากภาครัฐ โดยเฉพาะจากกระทรวงสาธารณสุขว่า



วัคซีนสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้จริง เป็นการอ้างอยู่บนพื้นฐานของความไม่เข้าใจว่า ยิ่งมีการกลายพันธุ์มากขึ้นเท่าไร ภูมิคุ้มกันที่สร้างมาเพื่อสู้กับสายพันธุ์ดั้งเดิมนั้น กลับสร้างปัญหาให้มากขึ้น จนเกิดภาวะ antibody dependence enhancement ภาวะที่ภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อสายพันธ์เดิมจำนวนมากนั้นกลับทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น[3] เมื่อติดเชื้อที่มีการกลายพันธุ์ไปอย่างมากอย่างโอมิครอน


ปัญหาจากการมีภูมิคุ้มกันเลวนี้ทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในจังหวัดที่มีการระดมฉีดวัคซีนในอัตราที่สูง จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคเอง[4] ที่มีการแสดงอัตราการได้รับวัคซีนของประชากร อัตราป่วยตายจากโควิด (มีผู้เสียชีวิตกี่เปอร์เซ็นต์จากผู้ป่วยที่เป็นโควิดทั้งหมด) และอัตราการเสียชีวิตจากโควิดต่อประชากรล้านคนในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ เมื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์หาความสัมพันธุ์พบว่า ไม่มีความสัมพันธุ์ระหว่างอัตราการฉีดวัคซีนกับอัตราป่วยตาย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.1 (รูปที่ ) ทั้งที่ถ้าการฉีดวัคซีนช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจริงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ได้ควรมีค่าเป็นลบ คือ ยิ่งฉีดมากอัตราเสียชีวิตยิ่งลดลง แต่ข้อมูลจริงจากกระทรวงสาธารณสุขเองกลับไม่เป็นเช่นนั้น



ที่สำคัญคือ เมื่อวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเสียชีวิตจากโควิดต่อประชากรล้านคนในแต่ละจังหวัด กับอัตราการฉีดวัคซีนในจังหวัดนั้น พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่สูงถึง 0.42 ซึ่งหมายความว่าอัตราของทั้งสองมีความสัมพันธ์กันโดยพบว่า ยิ่งฉีดวัคซีนมากขึ้นเท่าใด อัตราการเสียชีวิตยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ข้อมูลนี้สอดคล้องกับการศึกษาในต่างประเทศที่พบว่า ยิ่งมีการฉีดวัคซีนมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งมีการระบาดของโรคเพิ่มขึ้นเท่านั้น[5]


นอกจากข้อมูลจริงของสาธารณสุขจะแสดงให้เห็นว่าวัคซีน ไม่ได้ช่วยลดอัตราการตายตามที่อ้างแล้ว ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ยังพบว่า อัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากทุกสาเหตุในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 12.4 โดยเพิ่มขึ้น 62,212 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่เสียชีวิตจากโควิด 17,163 ราย คำถามที่น่าสงสัยคือ ผู้ที่เสียชีวิตนอกจากนั้นเกิดจากอะไร ถ้าวัคซีนช่วยทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงจริง การระดมฉีดวัคซีนในปีที่ผ่านมาถึงหนึ่งร้อยล้านโดสน่าจะทำให้อัตราการเสียชีวิตของคนไทยลดลงกว่าปี ๒๕๖๓ มิใช่เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 12.4% และถ้าย้อนกลับไปดูในปี ๒๕๖๓ ที่เริ่มมีการระบาดของโควิดคนไทยเสียชีวิต ลดลงจากเดิมร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๒ แปลกไหมว่า ในปี ๒๕๖๓ มีการระบาดแต่ไม่มีการฉีดวัคซีนอัตราตายลดลง ในขณะที่ในปี ๒๕๖๔ มีการระบาดและมีการระดมฉีดวัคซีนอัตราตายกลับเพิ่มขึ้น และเพิ่มสูงมากในช่วงท้ายของปีที่มีการระดมฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เมื่อติดตามดูข้อมูลของปีนี้พบว่าอัตราการเสียชีวิตของคนไทยเพิ่มขึ้นจากทุกปีก่อนหน้าอย่างชัดเจน (รูปที่ 3) ทั้งๆที่อัตราการเสียชีวิตจากโควิดมีแนวโน้มลดลง



ข้อมูลที่นำมานำเสนอนี้เป็นข้อมูลจากทางราชการเองทั้งจากกระทรวงสาธารณสุขและกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[6] ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ คนไทย จะตั้งคำถามว่า ศบค ทำอะไรกันแน่ ทำไมยิ่งแก้ยิ่งไม่จบ ทำไมประเทศหลากหลายประเทศทั่วโลกที่ไม่ระดมฉีดวัคซีนกลับแก้ปัญหาการระบาดได้ ทำไมมีคนมากมายในหลายประเทศออกมาเดินขบวนประท้วงการบังคับฉีดวัคซีน ทำไมรัฐบาลของหลายประเทศถึงออกมาปกป้องบริษัทยา แต่ไม่ปกป้องสิทธิของประชาชนของตนเอง คำถามเหล่านี้เป็นคนถามที่คนไทยควรสงสัย และเริ่มที่จะช่วยกันทำอะไรที่ช่วยให้คนไทย ได้ปลดแอก หลุดพ้นจากกับดักความคิด ที่คิดว่ามีแต่ยาของฝรั่งเท่านั้นที่แก้ปัญหาโควิดได้ จนไม่สนใจสมุนไพรไทย นวัตกรรมของคนไทยอีกมากมายที่สามารถนำมาแก้ปัญหานี้ของเราเอง





“การงานสิ่งใดของเขาที่ดี ควรจะเรียนร่ำเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเสียทีเดียว"

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว





📝: นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง


 

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2565

ปัญหาของใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์

 เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ 

ปัญหาของใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty)สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 หรือเทียบเท่า

จากการที่คณะกรรมการอาหารและยาได้ให้การอนุมัติฉุกเฉินให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty) กับเด็กอายุ12 ถึง 18 ปี โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำใบยินยอมเพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนไฟเซอร์ก่อนที่จะลงนามยินยอมให้เด็กในปกครองได้รับการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ดีใบยินยอมดังกล่าวมิได้ระบุข้อมูลที่สำคัญหลายประการเป็นเหตุให้ผู้ปกครองไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.      ในใบยินยอม มิได้ระบุว่า วัคซีนที่ใช้เป็นการให้ใช้ ภายใต้การ “อนุมัติฉุกเฉิน” (Emergency Use Authorization, EUA) การอนุมัติฉุกเฉินที่ข้ามขั้นตอนการทดสอบความปลอดภัยตามปกติ และปกป้องมิให้ บริษัทต้องรับผิดชอบใดๆหากเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงสำคัญที่ผู้ปกครองควรได้รับรู้



2.      ในใบยินยอม มิได้ระบุว่า การวิจัยเพื่อทดสอบความปลอดภัยของวัคซีนไฟเซอร์ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการและจะเสร็จสิ้นลงในปีพุทธศุกราช ๒๕๖๘[1] การมิได้ระบุข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า วัคซีนไฟเซอร์นั้นไดผ่านการทดสอบความปลอดภัยแล้ว

3.      ในใบยินยอมระบุว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคโควิดในระดับสูง และสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคได้” ซึ่งไม่เป็นความจริง ทั้งนี้จากรายงานการวิจัยที่สนับสนุนทุนโดยบริษัท ไฟเซอร์เอง[2] ซึ่งลงตีพิมพิ์ในวารสารทางการแพทย์ของนิวอิงค์แลนด์ (July 15, 2021 N Engl J Med 2021; 385:239-250) ได้ระบุในหน้า 245 ภายใต้หัวข้อ “ประสิทธิภาพ” (Efficacy) ไว้อย่างชัดเจนว่า “No cases of severe Covid-19 were observed in this age cohort.” ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง (หรือเสียชีวิต) ในการทดลองนี้ กล่าวคือ ไม่พบผู้ป่วยโควิดรุนแรงทั้งในกลุ่มทดลองที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์และในกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก ซึ่งทำให้ ไม่สามารถสรุปได้ว่า วัคซีนไฟเซอร์สามารถป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง หรือ ลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งนี้รายงานวิจัยดังกล่าวเป็นรายงานการวิจัยเดียวกันที่ทางบริษัทใช้ยื่นในการขออนุมัติฉุกเฉินจาก คณะกรรมการอาหารและยา

4.      ในใบยินยอม ระบุผลข้างเคียงที่พบ น้อยกว่าที่พบจริง ทั้งนี้ ในใบยินยอมดังกล่าวระบุผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ น้อยกว่าที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยาของบริษัทยาเอง ที่สำคัญมิได้ระบว่า วัคซีนสามารถทำให้เสียชีวิต หรือมีโอกาสพิการได้

5.   มีข้อมูลภายหลังที่ระบุชัดเจนว่า บริษัทยามีความพยายามในการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีนไฟเซอร์นี้ โดยพยายามปิดข้อมูลดังกล่าวเอาไว้  75 ปี ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสาธารณะที่ ศาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีคำตัดสินให้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ และสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://phmpt.org/pfizers-documents/ แต่มิได้มีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใส่ไว้ในใบยินยอม

ตามคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย[3] ข้อที่ ๒.ระบุว่า “ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูล “ที่เป็นจริง”และเพียงพอ เกี่ยวกับการเจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษา จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติต่อตน” การที่ ใบยินยอมให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Comirnaty)สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 หรือเทียบเท่าของ กระทรวง มิได้ระบุข้อมูลที่เป็นจริง และพอเพียง ตามที่ระบุในรายละเอียดข้างต้นจึงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรมทางการแพทย์ ขัดต่อสิทธิอังพึงมีของผู้ป่วยตามประกาศของแพทยสภาอย่างชัดเจน จึงขอให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงใบยินยอมดังกล่าวให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นหากมีผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ เกิดผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนนี้ ใบยินยอมดังกล่าวจะไม่สามารถปกป้อง บุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ทำการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ใหักับผู้ป่วยได้ แม้ว่า ผู้ป่วยหรือผู้ปกครองจะลงนามให้การยินยอมแล้วก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากถือว่า บุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่ทำการฉีดวัคซีนให้กับผู้ป่วย “จงใจให้ข้อมูลที่บิดเบือนไม่ตรงกับข้อเท็จจริง” ผลจากการกระทำนี้ อาจทำให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการฉีดวัคซีน สามารถฟ้องร้องเอาผิดและเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคลากรทางการแพทย์คนดังกล่าวได้













วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2565

จดหมายเปิดผนึก ถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา

 



จดหมายเปิดผนึก ถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม     

email : paisarnpom@gmail.com

88/24 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

โทรศัพท์ : 0 2590 7000 โทรสาร : 0 2590 7116

อีเมล : saraban@fda.moph.go.th

 

เขียนที่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                                      วันที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๕

สวัสดีครับ ท่านเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา 

ผมขออนุญาตส่งจดหมายเปิดผนึกถึงท่านในฐานะตัวแทนของกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ และในฐานะแพทย์คนนึง ที่คำนึงถึง Hippocratic Oath “First Do No Harm” สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดในการเป็นแพทย์ คือ การไม่ทำให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วย ความคิดเห็นนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          ตามที่ท่านมีหน้าที่ในการกำกับดูแลหน่วยงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ซึ่งมีหน้าที่หลักในการให้การรับรองยา ที่สามารถนำมาใช้กับประชาชนคนไทยทุกคน การตรวจสอบความปลอดภัยของยา จึงเป็นภารกิจหลักของ อ.ย. ตามที่ทราบกันดีว่า หน่วยงานของท่านได้ให้การ “อนุมัติฉุกเฉิน” (Emergency Use Authorization) วัคซีนไฟเซอร์[1] โดยอนุมัติให้ใช้ยาฉีดยีนไวรัสตัวนี้[2] ในเด็กๆ ทั้งที่งานวิจัยเพื่อทดสอบความปลอดภัยของวัคซีนนี้จะทำเสร็จในปี พุทธศักราช ๒๕๖๙[3] การอนุมัติฉุกเฉินที่ อนุญาตให้ บริษัทยา ไม่ต้องทำวิจัยเพื่อศึกษาความปลอดภัยของยา และไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ หากยานั้นก่อให้เกิดผลเสียผลข้างเคียงใดๆขึ้น ท่านทราบดีว่า การจะใช้การอนุมัติฉุกเฉินได้นั้น จำเป็นต้องมีเงื่อนไขครบทั้ง ๔ ประการต่อไปนี้ คือ ๑ มีการระบาดของโรคที่รุนแรง ๒.มีข้อมูลสนับสนุนว่าวัคซีนที่อนุมัติมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ๓.การประเมินประโยชน์และโทษ (risk/benefit) แล้วพบว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษที่อาจจะเกิดขึ้น ๔.ไม่มีทางเลือกอื่นๆให้ใช้ เมื่อใดที่เงื่อนไขดังกล่าวขาดไปไม่ครบสี่ประการข้างต้น การอนุมัติฉุกเฉินต้องหมดผลบังคับใช้ในทันที[4]

          ในขณะนี้มีข่าวที่รับรู้โดยทั่วกันว่า FDA ของสหรัฐอเมริกา ต้องการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยของวัคซีนไฟเซอร์ไว้นาน 75 ปี[5] แต่มีกลุ่มแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุข (https://phmpt.org/) ที่ไม่ยินยอมให้มีการปิดบังข้อมูล ได้ดำเนินการฟ้องร้องกับศาลเพื่อบังคับให้ FDA ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวกับสาธารณชนทันที ผู้พิพากษาเจ้าของคดีได้ตัดสินให้กลุ่มแพทย์ชนะ และออกคำสั่งให้ FDA ต้องเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้กับสาธารณชน ท่านสามารถเข้าไปดาวน์โหลดข้อมูลนี้ได้จาก https://phmpt.org/pfizers-documents/  ข้อมูลที่เปิดเผยนี้ ทำให้ทราบว่า วัคซีนไฟเซอร์ทำให้เกิดผลข้างเคียง ความผิดปกติต่างๆมากมาย มีผู้ที่เสียชีวิตหลังจากได้รับวัคซีนพันกว่ารายภายหลังจากเริ่มฉีดเพียงสามเดือน วัคซีนอาจจะก่อผลเสียกับระบบสืบพันธุ์ได้ ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ “ความปลอดภัย”ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ อย. ต้องให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันตามข้อมูลของ สปสช มีผู้เสียชีวิตภายหลังจากได้รับวัคซีนถึง 3,420 ราย[6] และมีงานวิจัยมากมายที่พบว่าวัคซีนของไฟเซอร์อาจสร้างผลเสียทางสุขภาพผ่านกลไกต่างๆมากมาย[7],[8] ซึ่งทำให้การประเมินผลดีผลเสียของวัคซีนต่างไปจากเดิม[9] ด้วยเหตุดังกล่าวจึงขอให้ท่านเลขาธิการฯ พิจารณาดำเนินการดังต่อไปนี้

๑. สั่งระงับการอนุมัติฉุกเฉินเป็นการชั่วคราวเพื่อให้คณะกรรมการที่พิจารณาการอนุมัติฉุกเฉินได้พิจารณาข้อมูลที่พึ่งได้รับการเปิดเผยตามรายละเอียดข้างบน โดยควรเป็นการพิจารณาที่เปิดโอกาสให้สาธารณชนได้มีส่วนรับรู้ “ความโปร่งใส คือ ความเป็นธรรม”

๒. ยกเลิกการอนุมัติฉุกเฉินวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กกลุ่ม 5-11 ปี[10]เนื่องจากพบว่า จากข้อมูลของบริษัทไฟเซอร์เอง อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอาจสูงถึง 10 ในแสนราย ซึ่งมากกว่า อัตราการตายจากโรคโควิดของเด็กกลุ่มนี้ที่มีเพียง 5 คนต่อประชากรหนึ่งล้านคน[11] อีกทั้งยังพบว่าอัตราการเกิดผลข้างเคียงในเด็กและหนุ่มสาวพบได้มากกว่าในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ในใบยินยอมเข้าร่วมงานวิจัยของวัคซีนไฟเซอร์ ยังระบุว่า วัคซีนอาจทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้ (ADE, antibody dependent enhancement)[12] ข้อเท็จจริงที่มิได้ระบุไว้ในใบยินยอมของกระทรวงสาธารณสุข

๓. เปิดเผยรายงานการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติ และข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณาอนุมัติฉุกเฉินวัคซีนไฟเซอร์ให้สาธารณชนได้ตรวจสอบ ผู้ที่มิได้ทำผิดย่อมไม่มีอะไรต้องปิดบัง

 

ในฐานะประชาชนคนไทยเรามีความเชื่อมั่นว่าท่านจะทำหน้าที่ข้าราชการของประชาชนด้วยความสุจริต ยึดมั่นในผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นหลัก และในฐานะของแพทย์ผมมีความเชื่อมั่นว่าท่านจะทำตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระราชบิดา “ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัวเปนที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เปนกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพย์ไว้ให้บริสุทธิ” ด้วยความเชื่อมั่นนี้เราหวังว่าท่านจะรีบดำเนินการตามข้อเสนอข้างต้นโดยทันที อย่างไรก็ดีหากมีเหตุอันใดที่ทำให้การดำเนินการในเรื่องนี้ล่าช้าไป จนก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายขึ้นจากความล่าช้าดังกล่าว ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวัคซีนนี้อาจคิดว่า ท่านประมาทเลินเล่อร้ายแรงจนก่อให้เกิดผลเสียกับผู้อื่นและฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางละเมิดกับท่านได้ พวกเรามิต้องการให้ท่านจบชีวิตราชการอันทรงเกียรติด้วยมลทินเหล่านี้ จึงขอให้ท่านดำเนินการดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนโดยเร็วต่อไป

                                                          ด้วยความปรารถนาดีต่อท่านและประเทศชาติ

                                                                   กลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธ์

                                                          นายแพทย์อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง



รายนามสมาชิกในกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์ผู้ร่วมลงนามในหนังสือฉบับนี้

1.ทพ.วัลลภ ธีรเวชกุล

2.ทญ.สรินภรณ์ ธีรเวชกุล

3.ดช ภูรินทร์ ธีรเวชกุล

4.ดญ.พิมพิดา ธีรเวชกุล

5.นายกฤษกร สิงห์เปี่ยมธำรงค์

6.นางอุมาภรณ์ โตรัตน์

7.นางแก้ว กุมมาละ

8.น.ส.อัจฉรา วรนาม

9.ด.ช. ภัคพล แถวนาดี

10.นายวิเชียร แสงจันทร์

11.นายธัชพงศ์ ใจแก้ว

12.นางกิ่งแก้ว ใจแก้ว

13.ดช.ชยพล ใจแก้ว

14.ดช.เพชร ใจแก้ว

15.นางอุ่นเรือน  แสงจันทร์

16.นางภัสราภรณ์ ใจแก้ว

17.นายอลงกต ไชยอุปละ

18. นาง  ฐิตาภรณ์ เนมิราช

19. นาง สุทธิวรรณ ฟิชเชอร์

20.นายพีรธัช เทพหัสดิน ณ อยุธยา

21.นส.ปลอบกมล เทพหัสดิน ณ อยุธยา

22 นส. วัชราภรณ์ เจริญจันทร์เทพ

23. นายเควิน เจริญจันทร์เทพ

24. นายธนภัท จันทรวัชร

25.น.ส.สวรินทร์ ป้อคำ

26.น.ส.ปริณดา ป้อคำ

27.ด.ช. ปรัตถกร ป้อคำ

28 นาย อันวาร์ บาฮา

29.นายอิศรา ช้างขวัญยืน

30.นางศิริรัตน์ คงรอด

31. นางวรษา จันทรวัชร

32. น.ส.ประภาพร ปัญญาหาร

33. กัลยาณี พรายเงิน

34. ด.ญ. พิชญธิดา พัฒนเบญญา

35. ด.ญ. เมลิสา มารี คอกส์

36. ศรทิพย์ เปเลด

37. สรวิชญ ธรรมสอน

38.เกษร  เชิญทอง

39.นันท์นภัส บัวดิษ

40. นายที จุมศิล

41. น.ส ทองสา จุมศิล

42. ด.ญ บุณยนุช ธงศรี

43.น.ส.สมเพชร รักจักรี

44. นายสุภกฤษณ์    ขุนจันทึก

45. นายภคเณศร์      ขุนจันทึก

46. น.ส.ภัคเนตร        ขุนจันทึก

47. นางสิริยาพร       แก้ววงษา

48. นายประวิทย์       ตันทอง

49. นายกฤษตฤณ    ตันทอง

50. นายกฤตนัย         ตันทอง

51. นายมนูญ        แก้ววงษา

52. นายนิสัย     บุญชิต

53. น.ส.อัจฉรา       อินทร์ทิพย์

54. นางอินทร์แต่ง  อินทร์ทิพย์

55. น.ส.มลวิภา       แก้ววงษา

56. นายมนเทียน  เที่ยงมั่น

57. นางรัศมี  เที่ยงมั่น

58. น.ส.รัฐนันท์ เที่ยงมั่น

59. ด.ญ.ลักษมี  เที่ยงมั่น

60.น.ส สุกัญญา อัครสิขเรศ

61.นางบุณยานุช คึนซ์

62.เด็กชายอภิวิชญ์ ช้างขวัญยืน

63.เด็กชายชยพล ช้างขวัญยืน

64. เด็กหญิงพลอย  เพริคอลิ

65. นางสาวมนัสนันท์  ไกลมาก

66. นายประเสริฐ  ไกลมาก

67. นายสมเกียรติ  ไกลมากื

68.น.ส.กัญญาภัทร ไกลมาก

69. นางสาวซัลวาตี สุเด็น

70.นาง ปิยภัทร ไกลมาก

71.นาย ภานุพงศ์ ณ ลำพูน

72.นาง สินาถ วชิรเสรณี

73.น.ส วีณาญา วชิรเสรณี

74. นาย สมชาย วชิรเสรณี

75. น.ส พัชรา  โพธิ์สอาด

76.นาง ทองมา ไพรวัน

77.น.ส สุจิตรา พรหมฟัง

78. น.ส ประมวล  พวงสี

79.น.ส. พาลิกา ลิมปิชาติ

80.นายปรัช ทำนา

81. น.ส.สุพัฒนา สุรินตา

82. น.ส.แสงจันทร์ สุรินตา

83. นางอวน  สุรินตา

84. นายสถาพร ใจลูน

85.เด็กชาย ปรานต์ ลิมปิชาติ ทำนา

86.เด็กหญิง โมนา ลิมปิชาติ ทำนา

87.นางชฎาพร ไชยกอ

89.ดช.กฤชณัท ไกลมาก

90.นายกฤษดา เพิ่มศิริทรัพย์

91.นายภัทรพล เทพจักร์

92.นาย เนติ ติมุลา

93.น.ส.เสาวคนท์ ชลสินธุ์

94.นายองอาจ เดชา

95.นางพิชชาพา เดชา

96.ด.ช.ม่อนภู เดชา              

 97.นางสาวชลธาร เพิ่มศิริทรัพย์

98.น.ส. สุนีย์ จันทง

99. ศศิกาญจน์ อุไรรัตน์

100. นางสาวดริณทร์รัฏ ภูรินทรพัฒน์

101. ด.ญ.ณัฎฐ์ทิสา ผดุงชม

102. ด.ญ.อภิลภัฎฐ์ ผดุงชม                          

103. นายวืศิษย์ศักดิ์ ทวีวัฒนปรีชา

104. นายพชร ตันจริยานนท์

105.น.ส สดุดี สร้างสมวงษ์

106. น.ส มณีรัตน์ สร้างสมวงษ์

107. นส.สันต์ฤทัย  ศรีสมบัติ

108. นายยุทธศักดิ์ สะมาวี

109.นางสาวจิตรลดา ฦๅชา

110. ด.ช.อธิจิตโต กือสันเทียะค่ะ

111.นางพรรณี พรหมสุข

112.นางสกุลยา พรหมสุข

113.นายเกษม. พรหมสุข

114.นายนิธิศ พรหมสุข

115.นายภัทรพล พรหมสุข

116 .ปอทิพ บรรจบดี

117.นางคัทลียา อินต๊ะคำ

118.นางกุสุมา ฟองสมุทร์

119.ด.ญ.รัตนวรรณ ศรีมณี

120.น.ส.ตะวันปภัส  เปี่ยมคุณลักษณ์

121. นาง ธัญญรัตน์ นามวงศ์    

122.นางสาวมัสยา  วิเศษวัฒนกุล                                                 

123.นางสาวแพรวพรรณ  วิเศษวัฒนกุล                            

124.นางสิรินดา ลินด์เนอร์

125.เด็กหญิงลอร่า ลินด์เนอร์

126. ธัญรัตน์  นวลักษณกวี

127. ธัญญาณี  นวลักษณกวี

128. ธนาภิญญ์  นวลักษณกวี

129.นางสาวนัชนันธร มาลินี

130.วันณหัส เติมสังข์

131.นายอลีฟ มาลินี

132.นางบีบี มาลินี

133.นางฮาดีฉ๊ะ ตาเดอินทร์

134.นางธนิศา ภิญโญยาง

135. ศุภกิจ โพธิผล

136.จันทร์เพ็ญ เจนจบ

137.ฮาซัน มะเร๊ะ

138.อุสมาน สุจรูญ

139.ธรรมรัตน์ สุขรักษ์

140.สุวิจักษณ์ สุขรักษ์

14.อิศเรตน์ มาศโอสถ

142.สุรยุทธ  มาศโอสถ

143.รัติยา  มาศโอสถ

144.แมนนริศ อำมฤคขจร

145.นายเกฟรี เลาะแมหามะ

146.นางอาภา ทรัพย์เจริญ

147.นายพัฒนา คำลือ

148.นายบรรจง ปัญญาอาจ 

149.นางสาวสมฤทัย จันครา

150.ด.ช.วงศกร หมื่นศรี

151.ด.ช.ณัฐวุฒิ หมื่นศรี

152.นายถิรวุฒิ หมื่นศรี

153.นายปัญยา หมื่นศรี

154. นาง นานทิพพ์ อ่ำทิพย์

155. นาง สำราญ อ่ำทิพย์

156. น.ส. ทิพพ์นนา อ่ำทิพย์

157. นาย ธีระชน คำญา

158. ด.ช. คงพัฒน์ คำญา

159. ด.ญ. ชลมณี คำญา

160.น.ส.มณี ศิรนรากุล

161.น.ส.อภิษฎา ศิรนรากุล

163. นางอมรรัตน์ ศิรนรากุล

164.นางนวมน วิวัฒน์สันติวงศ์

165.ด.ญ.ปพิชญา วิวัฒน์สันติวงศ์

166.นายสุยง วิวัฒน์สันติวงศ์

167.น.ส.ณัฐฐาทพร แก้วมรกต

168.ด.ญ.ไรมาลย์ ธนายุขันติพงศ์

169.น.ส. สุภาพ ชะนะสงคราม

170.น.ส.จุฑามาส ชัยวิริยะวงศ์

171.นางเบญญาภา กิลโบด์

172.เด็กหญิงเอมิกา กิลโบด์

173.นายณัฐพนธ์ เพิ่มศิริทรัพย์  

174.นางจารุวรรณ วงศ์ภาณุรัตน์

175.นายเหลี่ยม อินต๊ะ

176.ด.ญ พิชาอร สุวรรณสัง

177.ด.ช พิภัตทร์ เอื้อมศักดิ์

178.นางธัญชนก วงศ์สกุยานนท์

179.น.ส.สิริรัตน์ ไชโย

180.น.ส.สุกัญญา แสงโสด

181.นายธีรศักดิ์ รักจักรี

182.ด.ช.ณัชดนัย แสงโสด

183.นางสาวนรัญญา ธนกุลภารัชต์

184.ด.ญ.อันนา แวน ไรจ์โธเวน

185.นางปพรภัทร  ฉิมพลี

186.นายคณิน ยะตัน

187.นางสาวมาพิกา พรหมช่วย

188. นางปิยวรรณ บุญวัฒน์

189.นายอนุพันธ์ ชัยวิรัช

190.นายพชรพสิษฐ์ พูลสวัสดิ์

191.นางนฤภร   ตันธวัฒน์

192.นายอดิศร  ตันธวัฒน์

193.ด.ญลลิตา  ตันธวัฒน์

194.นางสาวภาวิดา  ตันธวัฒน์

195.นางประนัยยา  เรืองเพ็ญ

196.นางศรันภัทร  เรืองเพ็ญ

197.นางสาวชุลีพร  ไพรสณฑ์

198.นางลาวัลย์  เรืองเพ็ญ

199.นางนิตยา  ไชยชาติ

200.นางสาวจุฬารัตน์ ชัยวิรัช

201.นางฐิตาภรณ์ เนมิราช

202.รุ่งนภา สิทธิผล

203.นางดลนภา หมวดดารักษ์

204.พ.จ.ต.สุริยา  เจียมบุษย์

205. นางกาญจนา  เจียมบุษย์

206. น.ส.สิรินทรา  เจียมบุษย์

207. ด.ญ.สิราวรรณ  เจียมบุษย์

208. น.ส.พนิดา จันทร์กระจ่าง

209. นายสถาพร ขวัญนคร

210. ด.ช.ธนพศ ขวัญนคร

211. นายโฉลก สัมพันธารักษ์