วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

90%ของแพทย์ในญี่ปุ่น ไม่แนะนำการฉีดว-ซ-ให้แก่เด็กเล็ก

90%ของแพทย์ในญี่ปุ่น ไม่แนะนำการฉีดวัคซีนให้แก่เด็กเล็ก 

เขียนโดย นายแพทย์ อะซึโอะ ยานางิซาวะ

(จากการสำรวจของสมาคมแพทย์ Orthomolecular ญี่ปุ่น)


          เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 กระทรวงสาธารณสุขและแรงงานได้ทำการอนุมัติการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้แก่เด็กอายุ 5 – 11 ปี  ในวันเดียวกันนั้น ทางสมาคมกุมารเวชศาสตร์ก็ได้ออกมาตอบรับนโยบายดังกล่าวด้วยแนวความคิดว่า การฉีดวัคซีนให้แก่เด็กอายุ 5 – 11ปี นั้นเป็นสิ่งสำคัญ  ทางกระทรวงสาธารณสุขและแรงงานจึงได้รับข้อเสนอของสมาคมกุมารเวชศาสตร์ และกำหนดให้ทั่วทั้งประเทศเริ่มการฉีดวัคซีนแก่เด็กเล็กตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป

          แต่ทว่า ยังไม่มีความเพียงพอถึงข้อมูลความปลอดภัยในระยะยาวและผลข้างเคียงของวัคซีน  การฉีดวัคซีนให้แก่บุคคลอายุ 12 – 20 ปีที่ได้ทำไปแล้วพบตัวอย่างการเสียชีวิตและผลข้างเคียงรุนแรงมากกว่าการแพร่ระบาดของโควิด เดิมทีแล้วหากเด็กเล็กติดเชื้อขึ้นมา อาการก็จะไม่หนัก ดังนั้นความสำคัญของการฉีดวัคซีนจึงแบ่งออกเป็นทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย  แม้แต่สมาคมกุมารแพทย์ของญี่ปุ่นเองยังแสดงความคิดเห็นว่า การฉีดให้แก่เด็กเล็กซึ่งแทบจะไม่มีอาการหนักนั้น จะให้น้ำหนักความสำคัญเทียบเท่ากับผู้สูงอายุและผู้ใหญ่ไม่ได้

          สมาคมแพทย์ Orthomolecular ญี่ปุ่นเป็นสมาคมที่ไม่ได้เป็นทั้งพวก Anti-vaccination และไม่ได้เป็นพวก Pro-vaccination ด้วย แต่เป็นพวก Circumspection (รอบคอบถี่ถ้วน)  ในการตัดสินใจให้เด็ก ๆฉีดนั้นผู้ปกครองควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง แต่สื่อต่างๆ ทั้งทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ มีแต่ความโน้มเอียงไปยังข้อมูลที่แนะทำให้ไปฉีด

          ดังนั้น จึงได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับ “แพทย์จะให้บุตรหลานของตนรับการฉีดวัคซีนหรือไม่” เนื่องจากในมุมมองของประชาชนทั่วไป แพทย์เป็นผู้ที่มีทั้งความรู้และข้อมูลอยู่มากเกี่ยวกับความจำเป็นและผลข้างเคียงของวัคซีน ดังนั้นการตัดสินใจของแพทย์ต่อบุตรหลานของตนจึงถือเป็นอ้างอิงที่มีประโยชน์มาก  จึงมี 3 องค์กรได้แก่ สมาคมแพทย์ Orthomolecular ญี่ปุ่น, สมาคม Children Corona Platform และสถาบัน Intravenous Therapy  ได้ทำการสำรวจ “ความตระหนักของแพทย์และทันตแพทย์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนให้แก่เด็กเล็กที่มีสุขภาพดี”

 

สรุปโดยย่อของการสำรวจ

          ทำการสำรวจเป็นเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2565 – 3 กุมภาพันธ์ 2565 หลังจากแต่ละองค์กรได้ส่งอีเมล์ร้องขอไปยังผู้เกี่ยวข้องและสมาชิกให้บันทึกการสำรวจ จึงได้รับคำตอบจากแพทย์ 301 ราย ทันตแพทย์ 240 ราย รวมทั้งหมด 541 ราย  สถานที่ทำงานของผู้ให้คำตอบแบ่งออกเป็น สถานีอนามัย 85% โรงพยาบาลในสถาบันการศึกษา 5% และโรงพยาบาลทั่วไป 8 %  แบ่งตามแผนกเป็น อายุรกรรม 139 ราย กุมารเวช 16 ราย  ที่เหลือก็กระจายเป็นหลากหลายแผนกไป

 

90%ของแพทย์ จะไม่ให้บุตรหลานฉีดวัคซีนโควิด

          จากคำตอบทั้งหมด ทั้งแพทย์และทันตแพทย์ต่างมีคำตอบไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้จะขออธิบายถึงผลของทั้งหมด 541 ราย ในภายหลัง

          หลังจากที่สอบถามผู้ที่มีบุตหลานวัย 5 – 11 ปีในครอบครัว 169 ราย ว่าจะให้ฉีดหรือไม่ มีผู้ตอบว่า “ให้ฉีด” 5.3

ส่วนผู้ที่ตอบว่า “ไม่ให้ฉีด” หรือ “ขอดูสถานการณ์ก่อนค่อยตัดสินใจ” รวมกันแล้วเป็น 92.3% อีกทั้ง ในส่วนของคำถามว่า “จะแนะนำให้ฉีดหรือไม่หากหารือกับพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ หรือเพื่อนแล้ว”  มีคำตอบว่า “แนะนำ” 6.7% คำตอบว่า “ไม่แนะนำ” และ “ขอรอดูก่อนสักพัก” มี 88.4


          สรุปได้ว่า 90%ของแพทย์ จะไม่ให้บุตรหลานฉีดวัคซีนโควิด และตัดสินใจว่าแม้จะหารือกับเพื่อนหรือคนรู้จักแล้วก็ไม่ให้ฉีด หรือขอรอดูไปก่อนสักพัก

          เมื่อถามถึงเหตุผลว่าทำไม “ไม่ให้ฉีด” หรือ “ขอดูไปก่อนสักพัก”  60 – 65% ของคำตอบที่ได้มีหลากหลายเช่น กังวลถึงผลข้างเคียง ข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจยังไม่เพียงพอ ยังไม่จำเป็นสำหรับการฉีดให้กลุ่มวัยนี้

 มากกว่า 80% ไม่พอใจในข้อมูลที่ได้รับจากรัฐบาล หน่วยราชการท้องถิ่น และสมาคมแพทย์ถึงผลข้างเคียงของวัคซีน

        1 ปีผ่านไปแล้ว นับตั้งแต่การฉีดวัคซีนที่ได้เริ่มทำให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ก่อนเมื่อกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว แม้การสำรวจในครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปยังคลินิกเอกชน แต่คาดการณ์ได้ว่าอัตราการฉีดน่าจะมากกว่า 80% แล้ว  แต่ทว่า 52% ของแพทย์ 301 ราย และ 59% ของทันตแพทย์ 204 ราย ปรากฏว่า 55%ของทั้งหมดเป็นผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน ถือว่าเป็นสิ่งที่เกินคาด แม้ 84.7% จะเป็นคลินิกเอกชน ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก เรื่องนี้อาจจจะเป็นความจริง และอาจเป็นความโน้มเอียงของการสำรวจก็ได้



          นอกจากนี้ ในแง่ของความน่าเชื่อถือของการสำรวจ ผู้ให้คำตอบทุกคนได้กรอกอีเมลแอดเดรส โดยมี 73.4% ของผู้ที่กรอกทั้งชื่อ ที่อยู่ และอีเมลแอดเดรส เมื่อเพิ่มผู้กรอกเฉพาะชื่อและอีเมลแอดเดรส ก็จะเป็น 84.5% จึงพิจารณาได้ว่าความน่าเชื่อถือของผู้ให้คำตอบมีความน่าเชื่อถือสูง

สุดท้ายนี้

          แม้แต่ในเวปไซต์ข้อมูลสำหรับแพทย์อย่าง M3.com ก็ได้ทำการสำรวจเช่นเดียวกันกับเรา แต่ทว่า ไม่อยากจะเชื่อเลยว่า ผลสรุปที่ได้นั้นกลับห่างไกลจากของเรา โดยมีแพทย์ถึง 60% ที่ตอบว่า “แนะนำ” การฉีดวัคซีนให้แก่เด็ก 5 – 11ปี ขณะนี้กำลังพิจารณาที่จะส่งข้อคำถามไปยังเวปไซต์นี้

          จากการสำรวจครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่า “90%ของแพทย์ จะไม่ให้บุตรหลานฉีดวัคซีนโควิด” ขอให้ผู้ปกครองทั้งหลายที่ยังลังเลใจเกี่ยวกับการให้ลูกหลานไปฉีดวัคซีน จงได้ใช้คำนี้ให้เป็นประโยชน์ในการอ้างอิง ผู้เขียนเองก็คิดว่าความปลอดภัยของวัคซีนแก่เด็กต้องมีสูงกว่าของผู้ใหญ่หลายเท่า อย่างไรก็ตาม การจะให้เด็กฉีดทั้ง ๆที่ทำแค่การทดสอบความปลอดภัยในช่วงเวลาอันสั้นเหมือนกับของผู้ใหญ่ ก็ถือว่าเป็นสิ่งเกินให้อภัย

ที่มา

https://isom-japan.org/storage/public/files/cancer_integrative_medicine.pdf?fbclid=IwAR3jiI_rm1o1Dwvfekt9LSAQIlG-g_YVwCdaYWAYxP7pVhwl72GG_XUwxl8




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องเล่าหลังเข็ม 4

  เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ ขอหยิบpกเรื่องที่ คุณวิบูลย์ อิงคากุล นำมาบอกเล่าผ่านทางFB 🕀🕀🕀...