วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

การตัดสินใจที่ย้อนกลับไม่ได้

 

เมื่อรัฐบาลสั่งวัคซีน Pfizer รอฉีดให้เด็กไทยอายุ ๕-๑๑ ปี

เริ่มเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕




บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบตัวเลขทางสถิติในเด็กที่ติดโควิดและ ความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากวัควีน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการ แก้ปัญหาโควิด-๑๙ สำหรับกลุ่มเด็กอายุ ๕-๑๑ ปี

 

วัคซีนที่รัฐกำลังใช้กับเด็กอายุ ๕-๑๑ ปีนั้นเป็นวัคซีนสำหรับใช้ในภาวะฉุกเฉิน



อ้างอิงhttps://www.pfizer.com/news/press-release/press-release-detail/pfizer-and-biontech-initiate-study-evaluate-omicron-based ข้อมูลจากเว๊บไซด์ของบริษัท Pfizer ณ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕


การใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉินยังไม่ได้รับการอนุมัติหรืออนุญาตจากองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา Food and Drug Administration (FDA)  แต่ได้รับอนุญาตจาก FDA ภายใต้การอนุญาตการใช้ฉุกเฉิน Emergency Use Authorization (EUA)  เพื่อป้องกันโรค Coronavirus ๒๐๑๙ (COVID-19) ในบุคคลอายุ ๕ ปีขึ้นไป การใช้ในกรณีฉุกเฉินจะได้รับอนุญาตเฉพาะในช่วงระยะเวลาของการประกาศว่ามีสถานการณ์ที่สมเหตุสมผลในการอนุญาต ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉินภายใต้มาตรา 564(b)(1) แห่งพระราชบัญญัติ FD&C เว้นแต่การประกาศจะยุติหรือเพิกถอนการอนุญาตเร็วกว่านี้ โปรดดูเอกสารข้อมูล EUA ที่ www.cvdvaccine-us.com 


จากข้อมูลข้างต้น ตามที่บริษัท Pfizer ระบุว่าวัคซีนที่จะใช้กับเด็ก ๕ ปีขึ้นไปจะใช้ในกรณี ฉุกเฉินและจะได้รับอนุญาตเฉพาะในช่วงระยะเวลาของการประกาศว่ามีสถานการณ์ที่สมเหตุ สมผล ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นไม่เคยถูกนำมาพูดถึงให้ประชาชนหรือผู้ปกครองรับทราบ


เมื่อต่างประเทศเริ่มทบทวนมาตรการการใช้วัคซีนในเด็ก

อ้างอิง(รอยเตอร์)https://www.reuters.com/world/europe/sweden-decides-against-recommending-covid-vaccines-kids-aged-5-12-2022-01-27/

Jan 27 2022 (Reuters) - Sweden has decided against recommending COVID vaccines for kids aged 5-11, the Health Agency said on Thursday, arguing that the benefits did not outweigh the risks.

        สตอกโฮล์ม ๒๗ ม.ค. สวีเดนตัดสินใจไม่แนะนำวัคซีนโควิด-๑๙ สำหรับเด็กอายุ ๕-๑๑ ปี สำนักงานสาธารณสุข ระบุเมื่อวันพฤหัสบดี โดยโต้แย้งว่าประโยชน์ที่ได้จากวัคซีนนั้นน้อยกว่าผลข้างเคียง

         เด็กอายุต่ำกว่า ๑๒ ปีในสวีเดนจะไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙  เว้นแต่พวกเขาจะมีอาการป่วยแฝง สำนักงานสาธารณสุขของประเทศกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี หลังจากการปรึกษาหารือกับสมาคมและหน่วยงานกุมารเวชศาสตร์แล้ว หน่วยงานกล่าวว่าประโยชน์ของการฉีดวัคซีนเด็กที่มีสุขภาพดีน้อยกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

“ด้วยความรู้ที่เรามีในวันนี้ การมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดโรคร้ายแรงสำหรับเด็ก เราไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนใด ๆ กับการฉีดวัคซีนเหล่านี้” เจ้าหน้าที่สาธารณสุข Britta Bjorkholm กล่าวในการแถลงข่าว

เธอเสริมว่าการตัดสินใจดังกล่าวสามารถกลับมาทบทวนได้อีกครั้งหากการวิจัยมีการเปลี่ยนแปลงหรือหากมีตัวแปรใหม่เปลี่ยนการแพร่ระบาด เด็กในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถรับวัคซีนได้อยู่แล้ว

        อย่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการทั่วไปของหน่วยงาน Karin Tegmark Wisell กล่าวเสริมในงาน แถลงข่าวว่า "เรากำลังประเมินอย่างต่อเนื่องว่าการระบาดใหญ่ในสวีเดนและส่วนอื่นๆ ของโลกเป็นอย่างไร และจะทำการประเมินใหม่ก่อนภาคเรียนฤดูใบไม้ร่วง"

        จะเห็นได้ว่าแนวทางการให้วัคซีนแก่เด็กอายุ ๕-๑๑ ปี ของสวีเดนนั้น เป็นแนวทางที่สอดคล้อง กับการให้วัคซีนในกรณีฉุกเฉิน ตามคำจำกัดความของ FDA ที่ให้พิจารณาตามสถานการณ์ที่เหมาะสม และพิจารณาการรับวัคซีนเป็นกรณีไป ต่างจากแนวทางของรัฐบาลไทยที่สนับสนุนให้เด็กรับวัคซีนกรณีฉุกเฉินอย่างทั่วถึง

 

เด็กติดโควิด แต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต อัตราการเสียชีวิตร้อยละ ๐.๐๑

        จากข้อมูลทางสถิติของเด็กในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยสถาบันกุมารแพทย์และโรงพยาบาลเด็ก

https://downloads.aap.org/AAP/PDF/AAP%20and%20CHA%20-%20Children%20and%20COVID-19%20State%20Data%20Report%201.20.22_FINAL.pdf

ตารางที่ ๑ การสำรวจจำนวนเด็กที่ติดโควิดตั้งแต่อายุ ๐-๒๐ ปี จาก ๔๙ มลรัฐ ในประเทศสหรัฐอเมริกา State Data Report: Summary of publicly reported data from 49 states, NYC, DC, PR, and GU


     

ตารางที่ ๒ ในช่องขวามือแสดงให้เห็นอัตราการตายของเด็กหลังจากติดโควิดร้อยละ ๐.๐๑ 


นั่นจึงเป็นเหตุให้หลาย ๆ ประเทศเริ่มพิจารณาและชั่งน้ำหนักถึงความเสี่ยงต่อชีวิตของเด็ก ระหว่างไวรัสโควิด กับ ผลข้างเคียงจากวัคซีน สิ่งใดมีความเสี่ยงมากกว่ากัน?

 

ผลข้างเคียงจากวัคซีน

ตารางที่ ๓ ข้อมูลจาก สปสช ณ วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๕ ยอดผู้ได้รับผลข้างเคียง (ที่เข้าเกณฑ์) จำนวนทั้งสิ้น ๑๓,๙๐๔ ราย และรัฐจ่ายเงินช่วยเหลือไปแล้วกว่า ๑,๒๐๐ ล้านบาท




ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกจากเว็บไซด์ vigiaccess เกี่ยวกับผลข้างเคียงจากวัคซีนชนิดต่าง ๆ วัคซีนโควิด-๑๙ มียอดผู้ได้รับผลข้างเคียงมากกว่าสองล้านคน


อ้างอิง https://youtu.be/2b99qx-TCQ8


วัคซีนโควิด-๑๙ : ดูผลข้างเคียงหลังผู้ใหญ่ฉีดสูตรไขว้ นักเรียนรับไฟเซอร์

 

อ้างอิง https://www.bbc.com/thai/thailand-59207336 สำนักข่าว BBC ภาคภาษาไทยวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

 

ไฟเซอร์นักเรียน

กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยข้อมูลการฉีดไฟเซอร์ในกลุ่มนักเรียนอายุตั้งแต่ ๑๒-๑๘ ปี จนถึงวันที่ ๔ พ.ย. ว่า ฉีดเข็มแรกไปแล้ว ๒.๕ ล้านคน หรือกว่า ๕๖% ของกลุ่มเป้าหมาย กรมควบคุมโรค ระบุว่าได้รับรายงานว่ามีผู้ที่ได้รับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนเล็กน้อยในสัดส่วนที่เป็นปกติ  ส่วนที่มีอาการรุนแรงตามที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น ยังไม่มีการข้อสรุปว่ามีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการรับวัคซีน

   

ราชบุรี- เด็กหญิงอายุ ๑๒ ปี ชั้น ป.๖ ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงปอด

เด็กหญิงอายุ ๑๒ ปี ชั้น ป.๖ ที่ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เริ่มมีอาการทางร่างกาย หลังจากฉีด วัคซีนไฟเซอร์เข็มแรกเป็นเวลา ๕ วัน นายพิพัฒพงศ์ ตันพานิช อายุ ๕๐ ปี พ่อของเด็กหญิง

ให้ข้อมูลว่า ได้พาบุตรสาวไปรับวัคซีนที่ศูนย์ฉีดวัคซีนของ รพ.เจ็ดเสมียน เมื่อวันที่ ๑๙ ต.ค. เมื่อกลับมาบ้าน พบว่ามีอาการเจ็บแขน ๓ วันและหาย หลังจากนั้นเริ่มไอแห้งหลังฉีดวัคซีน ไปแล้ว ๕ วัน ต่อมาในวันที่ ๒๕ ต.ค. เด็กหญิงเริ่มมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เล็บมือและปากเขียว จึงไปพบแพทย์ที่คลินิก แต่แพทย์ได้รีบส่งตัวต่อที่ รพ.ราชบุรีในวันเดียวกัน

ในกลางดึกคืนนั้น รพ.ราชบุรี ตัดสินใจส่งตัวเด็กหญิงเข้ารักษาตัวที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี กรุงเทพฯ เนื่องจากมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ต่อมาโรงพยาบาล แจ้งว่ามีอาการลิ่มเลือดอุดขั้วหัวใจ 2 ขั้ว ทำให้หัวใจบวม และมีเลือดไปอุดตันบริเวณเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงปอด ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่ห้องไอซียู เป็นเวลา 6 วัน ก่อนอาการดีขึ้นตามลำดับ

 

ลำปาง- วัยรุ่นหญิง อายุ 16 เสียชีวิตหลังฉีดไฟเซอร์เข็ม 2

น.ส.อรจิรา จรูญโรจน์ ณ อยุธยา อายุ 16 ปี นักศึกษาชั้นที่ปี 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา หลังเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยี่ห้อไฟเซอร์ เข็มที่ 2 เมื่อวันที่ 27 ต.ค.ข้อมูลจากครอบครัวระบุว่า น.ส.อรจิรา รับวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 1 เมื่อวันที่

6 ต.ค. หลังฉีดมีอาการปกติ และฉีดเข็มที่ 2 ในวันที่ 27 ต.ค. หลังฉีดวันแรกอาการปกติ แต่ใน วันที่ 28-29 ต.ค. เริ่มมีอาการปวดท้อง คล้ายท้องเสีย และมีอาเจียนร่วม ครอบครัวเข้าใจว่า เป็นอาการของอาหารเป็นพิษ เข้าห้องน้ำและอาเจียนตลอดทั้งคืน จึงรับประทาน พาราเซตามอล โจ๊ก เกลือแร่ และได้ซื้อยาแก้อาเจียนมารับประทาน หลังจากนั้นอาการท้องเสียดีขึ้น แต่ยังอาเจียนอยู่ แพทย์ตรวจร่างกายและระบุสาเหตุว่า มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 400 mmol/L และเกิดภาวะเลือดเป็นกรด ผู้ป่วยเริ่มหายใจเองไม่ได้ จนแพทย์ต้องเจาะคอใส่ท่อช่วยหายใจ ก่อนจะนำตัวเข้ารักษาในห้องไอซียู เป็นเวลา 3 วัน และเสียชีวิตในที่สุด ทางรพ.แจ้งกับครอบครัวว่า น.ส.อรจิรา เสียชีวิตด้วยสาเหตุหลอดเลือดในปอดมีลิ่มเลือดอุดกั้น ร่วมกับการติดเชื้อในกระแสเลือด  


เด็กชายวัย 12 ปี มีโรคประจำตัว เสียชีวิตหลังจากฉีดไฟเซอร์ 3 สัปดาห์

        ส่วนกรณีอื่น ๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขสรุปแล้วว่าไม่เกี่ยวกับการฉีดัวคซีนไฟเซอร์ คือ กรณีเด็กชายวัย 12 ปี ในกรุงเทพฯ ป่วยเป็นโรคเบาหวนเรื้อรัง เสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 3 สัปดาห์  กรมควบคุมโรคชี้แจงว่าเมื่อวันที่ 1 ต.ต. ว่าเด็กชายป่วยเป็นโรคเบาหวานมาตั้งแต่แรกเกิด รักษาตัวด้วยการฉีดอินซูลินที่บ้านวันละ  3 เวลา และยังรักษาตัวอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลรามาธิบดี

        เด็กชายคนนี้ เข้ารับการฉีดวัคซีนเมือวันที่ 14 ก.ค. ซึ่งเป็นการฉีดให้เด็กที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว ต่อมาในวันที่ 12 ส.ค. หรือ 3 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีน เริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน กินอาการได้น้อย แต่ไม่มีอาการมือสั่น ใจสั่น ไม่ซึม ไม่เจ็บหน้าอก รวมทั้งไม่มีไข้หรืออาการเหนื่อยง่าย  ต่อมาในเช้าวันที่ 13 ส.ค. ผู้ปกครองพบว่าเด็กชายนอนไม่รู้สึกตัว จึงนำส่งโรงพยาบาล ก่อนจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา

        จากเนื้อหาข่าวทั้งหมดข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมีทั้งจากสาเหตุต่าง ๆ แต่ไม่มีแพทย์ท่านใดออกมาระบุว่าเกิดจากการฉีดวัคซีน ทั้ง ๆ ที่นักเรียนหลายคนที่ได้รับวัคซีนไป และเกิดผลข้างเคียง ล้วนเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติมาก่อนการรับวัคซีน

 

 รัฐบาลไทยควรทบทวนนโยบายฉีดวัคซีนในเด็กหรือไม่?

        จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ตั้งแต่แนวทางการให้วัคซีนใช้ในกรณีฉุกเฉิน ควรเป็นสิ่งที่รัฐบาล ต้องพิจารณาว่าเด็กจำนวนมากควรรับวัคซีนชนิดนี้ตามแนวทางเดิมที่เกิดขึ้นกับนักเรียนอายุ ๑๒-๑๘ ปีที่มีการให้วัคซีนไปแล้วถึง ๒.๕ ล้านคนนั้นยังเรียกว่าเป็นการให้วัคซีนที่ถูกต้อง กับแนวทางของคุณสมบัติของวัคซีนกรณีฉุกเฉินหรือไม่?

        การที่รัฐบาลไม่ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ประชาชนอาจทำให้เกิดผลเสียหายที่ตามมา เช่น ผู้ปกครองตัดสินใจให้บุตรหลานฉีด โดยไม่ได้ตระหนักถึงอาการข้างเคียงต่าง ๆ ที่มีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงขั้นเสียชีวิต

        ดังนั้นคุณสมบัติ และความเสี่ยงด้านผลข้างเคียงของวัคซีนที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินชนิดนี้ จึงควร ได้รับการทบทวน และพิจารณาอย่างเร่งด่วนก่อนเริ่มใช้นโยบายฉีดวัคซีนให้เด็กอายุ ๕-๑๑ ปี

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องเล่าหลังเข็ม 4

  เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ ขอหยิบpกเรื่องที่ คุณวิบูลย์ อิงคากุล นำมาบอกเล่าผ่านทางFB 🕀🕀🕀...