นิตยสาร Josei Seven ของญี่ปุ่น ฉบับ 3 กุมภาพันธ์ 2022 (การวางแผงนิตยสารในญป. จะวางแผงเร็วกว่าวันที่ระบุฉบับที่) ได้ยกประเด็นความทุกข์ทรมานของผู้คนที่มีอาการลงในคอลัมน์เรื่อง “อาการที่เกิดขึ้นภายหลังของวซนั้นน่าสะพรึงกลัวกว่าโควิด” ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น ยังมีเด็กๆอีกด้วยที่สภาพร่างกายผิดปกติจนไม่สามารถไปโรงเรียนได้หลังจากฉีดวซไปแล้ว
จากเด็กที่เคยร่างกายแข็งแรงดี
ถ้าจู่ ๆวันหนึ่งสุขภาพกลับย่ำแย่มาถึงจุดที่ไม่สามารถไปโรงเรียนได้ หากเป็นพ่อแม่ที่มีลูก
คงจะเข้าใจดีถึงความเจ็บปวดใจนี้
ที่ผ่านมา อายุที่อนุมัติให้ฉีดวซโควิดได้คือตั้งแต่
12 ปีขึ้นไป แต่ทว่า เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา
กระทรวงสาธารณสุขและแรงงาน ด้วยการประชุมของผู้เชี่ยวชาญ
ได้ทำการอนุมัติเด็กตั้งแต่อายุ 5 ปีอยู่ในกลุ่มที่ต้องฉีด
โดยมีกำหนดการณ์จะเริ่มต้นฉีดให้กับเด็กกลุ่มนี้กลางเดือนมีนาคม
อย่างไรก็ตาม
วซมีความจำเป็นครอบคลุมไปถึงเด็กเล็กด้วยจริงหรือ ตามรายงานของนิตยสารนี้
ฉบับดังกล่าว ได้รายงานว่า มีผู้มีอาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากฉีด ซึ่งไม่เว้นแม้แต่เด็กช่วงวัย
10 -19 ปีด้วย ไม่ใช่แค่พ่อแม่ แต่ผู้ใหญ่(ผู้ปกครอง)ที่มีความรับผิดชอบต่ออนาคต
ก็น่าจะรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นในเด็กๆที่ฉีดไปก่อนหน้านี้แล้ว นักข่าวชื่อ โทรุ
โทริดามาริ และทีมสัมภาษณ์ของนิตยสาร Josei Sebun รายงาน
เนื้อหาในตำราเรียนไม่เข้าหัว
ดช. H (อายุ 13 ปี)
อาศัยอยู่ในภูมิภาคคันโต เป็นนร.มัธยมต้นที่ไปโรงเรียนอย่างมีพลังทุกวัน สุขภาพแข็งแรงทำกิจกรมมชมรมได้เต็มที่ แต่ทว่า หลังจากฉีดไปแล้วช่วงหลายปีก่อน
แทบจะไปโรงเรียนไม่ได้เลย พ่อแม่ของดช. H ได้เล่าว่า
“เพราะได้ดูข่าวจากทีวีว่ามีเด็กที่ทุกข์ทรมานจากอาการที่เกิดขึ้นภายหลังของโควิด
เลยรู้สึกกลัวจึงให้ลูกไปฉีด หลังจากไปฉีดวซที่โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ ๆ ตอนอยู่ในรถระหว่างทางกลับบ้านลูกก็มีอาการง่วงผิดปกติ
นอกเหนือจากนี้ ก็ไม่ต่างจากปกติ กินอาหารค่ำได้ตามปกติด้วยเช่นกัน
วันถัดมา ต้องนอนพักเพราะมีไข้รุมๆ วันที่ 2 ไข้ก็ลดลงแล้ว
และออกไปปั่นจักรยานกับเพื่อน ๆที่รับปากกันไว้
แต่ระหว่างทางกลับบ้าน ลูกรู้สึกเหนื่อยอ่อนมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
แต่ในที่สุดก็พาตัวเองกลับมาบ้านพร้อมจักรยานจนได้”
“อุณหภูมิร่างกายผันผวนขึ้นลงอย่างมาก
ถึงระดับ 35 องศา และแม้แต่ตอนนี้ ก็ยังคงมีไข้ประมาณ 37.5 องศา นอกเหนือจากตอนกินอาหารแล้ว
ส่วนใหญ่ก็จะนอน
จึงเป็นห่วงว่าจะเรียนไม่ทัน เลยบอกให้เขาอ่านหนังสือเรียน แต่ลูกบอกว่าไม่สามารถจดจ่อได้อย่างต่อเนื่อง
อ่านอย่างไรก็ไม่เข้าหัว แม้แต่การทำงานของโทรศัพท์มือถือก็งงๆ
เลยได้แต่นั่งจ้องหน้าจออยู่อย่างนั้น”
ความผิดปกติของดช. H ไม่ได้มีเพียงเท่านี้
“เดิมทีจะเป็นเด็กที่ชอบกินแฮมเบอร์เกอร์
สเต็ก เนื้อย่าง แต่ตั้งแต่ร่างกายผิดปกติไป ก็บอกว่าไม่อยากกิน
จะยอมกินเฉพาะผักหรือเนื้อไก่ฉีกที่ต้มในน้ำซุปรสชาติอ่อนๆเท่านั้น อาจเป็นเพราะไม่ได้ออกกำลังกาย เลยไม่ค่อยอยากอาหาร
กินได้ในปริมาณน้อย
หลังจากนั้น
กลายเป็นว่ามีความรู้สึกไวมากต่อเสียงและความเจ็บปวด
แค่เรียกชื่อก็ยังกลัวจนตัวสั่นก็มี พอถามว่าทำไม ลูกก็ตอบว่า รู้สึกถูกเรียกกะทันหัน
เพราะเหม่อลอยอยู่ตลอด
อีกทั้งเพราะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างเพียงพอ ดิฉันเลยคิดว่าจะนวดให้
แต่แค่ตีเบาๆที่หลัง ก็รู้สึกเจ็บปวดมาก”
วันที่ไปโรงเรียนได้ก็มี
แต่ไม่สามารถจดจ่อกับการเรียนได้ และกลับมาบ้านในสภาพอิดโรย ให้ออกไปข้างนอกด้วยกัน
อย่างพาสุนัขไปเดินเล่น ใช้เวลาไป 30 นาที พอกลับมาก็ล้มตัวลงนอนแล้วบ่นว่าเหนื่อย
“เพราะหยุดเรียนมาตลอด
เวลาออกไปข้างนอกก็รู้สึกไม่ดีเวลาเจอเพื่อนร่วมชั้น ดูเหมือนมีความท้อแท้ ทั้งการเรียนช้าไม่ทันเพื่อน
และกับสภาพร่างกายที่ไม่ปกติ
จะมีวิธีการใดบ้างหนอที่จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้”
ยังมีนักเรียนมัธยมต้นที่อยู่ในภูมิภาคคันโตคนอื่น
ๆ อีกที่ไม่สามารถไปโรงเรียนได้เนื่องจากปวดหัวอย่างรุนแรงหลังจากที่ฉีดมาแล้ว
จากอีเมลที่ตอบกลับมาจากบรรดาผู้ปกครองโดยมีเงื่อนไขไม่ให้มีการเปิดเผยอายุและเพศ
“เริ่มมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรงโดยทันทีหลังจากไปฉีดครั้งที่
2 เมื่อต้นเดือนพ.ย. ปีก่อน
แม้จะกินยาแก้ปวดที่หมอประจำครอบครัวสั่งให้ ก็ไม่ได้ผลเลย ผ่านไป 1
สัปดาห์ก็ยังไม่หาย พอไปรับการตรวจซ้ำ หมอกลับบอกว่าไม่ได้เป็นผลมาจากวซ ขอให้ใช้โทรศัพท์มือถือแค่พอประมาณ
และหมั่นกินตับ ทั้ง ๆที่ดิฉันก็ไม่ได้ให้ลูกใช้โทรศัพท์มือถือ”
ตอนที่ไปตรวจซ้ำก็สั่งยาแก้ปวดตัวอื่นมาให้ แต่แม้ว่าจะผ่านไปแล้ว
2 สัปดาห์ก็ยังไม่หาย คราวถัดมาก็ไปตรวจที่แผนกศัลยกรรมประสาทที่โรงพยาบาลทั่วไปตามคำแนะนำของเภสัชกรที่จ่ายยาให้
แต่ที่นั่นก็ตรวจออกมาเหมือนกันว่าไม่เกี่ยวกับวซ
“แม้จะผ่านไป 3
สัปดาห์แล้วแต่ก็ยังไม่ดีขึ้น เลยไปตรวจที่แผนกศัลยกรรมประสาทอีกครั้ง โดยร้องขอให้ตรวจสอบอย่างละเอียดขึ้นอีกเพราะมันเป็นเรื่องผิดปกติที่ปวดศีรษะแบบนี้มาอย่างต่อเนื่อง
ทว่า คุณหมอกลับบอกว่า ผลข้างเคียงจากวซไม่น่าจะออกมาแบบนี้
ทางเราจ่ายได้แค่ยาแก้ปวดเท่านั้น เลยร้องขอให้เขาตรวจสมองด้วยการ
MRI ทางรพ.จึงยอมทำให้
ผลไม่พบความผิดปกติใดๆ คุณหมอกลับปฏิเสธออกมาว่า
ไม่สามารถทำอะไรไปได้มากกว่านี้แล้ว หากยังคงยืนยันว่าเป็นผลมาจากวซ ขอให้ไปหารพ.ที่สามารถตรวจให้ได้เอาเองละกัน”
ในที่สุดตอนปลายปี ด้วยการแนะนำจากคนที่รู้จักจึงได้พบรพ.ที่กรุณารับตรวจให้
นับเป็นครั้งแรกที่ได้รู้สึกว่าครอบครัวได้รับการช่วยเหลือ แต่ก็เป็นการรักษาแบบลองผิดลองถูก
ปัจจุบันอาการที่เป็นอยู่ก็ยังเหมือนเดิม
“ลูกพยายามไปโรงเรียนแล้ว แต่ไม่อาจอดทนต่ออาการปวดหัวได้ สุดท้ายก็เรียนไม่ไหว ทุกวันต้องเลิกเรียนเร็วให้พ่อแม่มารับ เราที่เป็นพ่อแม่ก็แทบจะทรุดไปด้วยเหมือนกันต่อสภาพที่มองไม่เห็นว่าวันข้างหน้าจะเป็นเช่นไร ใช้ชีวิตแต่ละวันไปได้จากกำลังใจจากครอบครัว”
แม้แต่การเสียชีวิตหลังจากฉีดก็เช่นกัน
“ไม่มีสาเหตุที่เกี่ยวข้อง”
เมื่อฤดูกาลสอบเข้ามาถึง
ทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ก็ต่างออกข่าวเรื่องการให้นร.ที่จะเข้าสอบได้ฉีดก่อน และ
ข่าวการปิดโรงเรียนเนื่องจากโอไมครอน แต่กลับไม่มีรายงานข่าวที่เผยถึงเสียงของเด็กๆที่ได้รับความทุกข์ทรมานหลังจากฉีดวซเลย
แต่กรณีเช่นนี้ของพวกเด็กๆก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
ปัจจุบัน
กระทรวงสาธารณสุขและแรงงาน ทุกๆ 3 สัปดาห์จะมีการเปิดประชุม อนุกรรมการวซกับการฉีดป้องกัน
และอนุกรรมการทบทวนผลข้างเคียง และเผยแพร่จำนวนรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่น่าสงสัยที่ได้รับรายงานมาจากสถาบันทางการแพทย์และบริษัทผู้ผลิตยา ตามจำนวนล่าสุดที่เผยแพร่ไปเมื่อวันที่ 21 ม.ค.
2022 จำนวนกรณีที่รายงานว่ามีความรุนแรงหลังจากฉีดวซ
ในวัยรุ่น มีเพิ่มขึ้นถึง 387 ราย
นิยามคำว่า
“ความรุนแรง” ของกระทรวงสาธารณสุขและแรงงาน หมายถึง กรณีจำเป็นต้องเข้ารพ.
และเสียชีวิต หรือมีแนวโน้มจะอยู่ในสภาพผิดปกติหรือตกอยู่ในสภาพผิดปกติอย่าถาวร
และรู้ได้ถึงสภาพที่ไม่เป็นปกติ ยิ่งไปกว่านั้น
ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่ายังมีอีกหลายเคสที่ไม่ได้รับการรายงาน
เนื่องจากแพทย์ไม่ยอมรับถึงความสัมพันธ์กับวซ
เคสที่ถึงขั้นเสียชีวิตหลังจากฉีดในช่วงวัย 10 –
19 ปีมีรายงานถึง 5 ราย
หนึ่งในนั้น เป็นเด็กอายุ 13 ปี ที่อาศัยอยู่ในเมืองคามาคุระ
จังหวัดคานางาวะ ในวันที่ 30 ต.ค. 2021
เด็กคนนี้กลับมาบ้านหลังจากได้รับเข็มที่ 2
กินอาหาร 2
ชั่วโมงครึ่งหลังจากนั้น 4
ชั่วโมงหลังจากนั้นได้อาบน้ำตอนประมาณ 2 ทุ่มกว่าๆ แต่ครอบครัวมาพบว่ากำลังจมอยู่ในอ่างอาบน้ำ
จึงนำตัวส่งรพ. และได้รับการยืนยันว่าเสียชีวิต ครอบครัวของเด็กที่เสียชีวิตได้อ่านข้อความในที่ประชุมเมือง
เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.
“ขอขอบคุณมากที่ออกมาเตือนและยกประเด็นการเสียชีวิตของเด็กช่วงวัย
10 – 19 ปี หลังจากฉีดวซโควิดขึ้นมา ลูกๆอันแสนล้ำค่าของดิฉัน หลายชั่วโมงหลังจากที่ไปฉีดวซมา
กลับมีลักษณะผิดปกติอย่างฉับพลัน และได้จากโลกนี้ไปเสียแล้ว นับแต่นั้นมา
ไม่ว่าอะไรก็ไม่อาจไว้ใจได้ แม้แต่เสียงใครก็ไม่รับรู้ ใช้ชีวิตอย่างทุรนทุราย
ทั้งเจ็บปวดใจ และโศกเศร้า
ปรารถนาเหลือเกินที่จะทำให้หลักฐานในการเคยมีชีวิตอยู่ของลูกให้มีความหมายที่สุด
ในที่สุดฉันก็เริ่มมีความรู้สึกแบบนี้ขึ้นมาจนได้ แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี
ไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง ได้โปรดส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้องให้เป็นวงกว้าง
อย่างน้อยก็ขอให้ปกป้องรักษาร่างกายที่แข็งแรง
และชีวิตของหนุ่มสาวทั้งหลายที่ยังมีอนาคต”
เมื่อดูกรณีตัวอย่างของเด็กชายที่ได้รับการตีพิมพ์ในรายงายของคณะอนุกรรมการทบทวนผลข้างเคียงของกระทรวงสาธารณสุขและแรงงาน
สถาบันทางการแพทย์สรุปว่ามีความเกี่ยวข้องกับวซ
แต่หน่วยงานที่ชันสูตรพลิกศพตัดสินว่าไม่สามารถประเมินได้
ส่วนการประเมินเมื่อวันที่ 21 ม.ค.
โดยผู้เชี่ยวชาญของคณะอนุกรรมการเดียวกัน มีการบันทึกไว้ว่า “แม้จะพิจารณาได้ว่าเกิดหัวใจเต้นผิดปกติถึงขั้นเสียชีวิตจากอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
แต่จากผลของ Troponin (การตรวจสอบกล้ามเนื้อหัวใจตาย
และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ) จึงพิจารณาว่ามีความเป็นได้น้อยถึงความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจและสรุปผลว่าไม่สามารถประเมินได้ถึงสาเหตุการตายที่มีความสัมพันธ์กับวซเนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ”
แต่จะดีเหรอที่เราจะปล่อยให้กรณีที่เสียชีวิตเลยในวันที่ฉีด สรุปว่าไม่ทราบสาเหตุ?
นพ. เซจิ โคจิมะ ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ (แผนกกุมารเวช) มหาวิทยาลัยนาโงย่า ผู้เกี่ยวข้องในการวิจัยและรักษามะเร็งในเด็ก เช่น ลูคีเมีย และเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาพันธุกรรมบำบัด (Gene Therapy) ที่ได้ประยุกต์เทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกับวซโควิด กล่าวว่า
“โดยพื้นฐานแล้ว วซมีไว้สำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรงและสามารถมีชีวิตอยู่ได้ตามปกติจนถึงตอนนั้น
หากเสียชีวิตในวันที่ไปฉีดมา
ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ครอบครัวจะสงสัยว่ามีความเกี่ยวข้องกับวซหรือไม่
แม้ว่าจะทำการตรวจสอบต่างๆแล้ว หากไม่พบความผิดปกติ
หากพิจารณาปัจจัยอื่นๆไม่ได้ พื้นฐานของพยาธิวิทยาคือการพิจารณาหาว่าสิ่งนี้แหละเป็นสาเหตุ
เคสที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ไม่อาจจะบอกได้ว่าไม่เกี่ยวกับวซ ผู้ป่วยนอกของผมก็เช่นกัน
มีอาการเหนื่อยอ่อนหลังจากฉีดมา คนไข้ที่เป็นเด็กๆที่หยุดเรียนไปถึง 2 สัปดาห์ก็มี”
วซโควิดที่มาจากไฟ-และโม- มีองค์ประกอบหลักเป็นยีนของโปรตีนไวรัสที่ถูกห่อหุ้มด้วยไขมัน
ด้วยการฉีดเข้าไปในร่างกาย ยีนที่ถูกไขมันห่อหุ้มไว้จะเข้าไปในเซลล์ของร่างกาย
เซลล์นั้นๆ จะเริ่มสร้างโปรตีนสไปค์ที่เป็นหนามยื่นออกมาซึ่งอยู่บนผิวของตัวไวรัส เมื่อเซลล์ภูมิคุ้มกันตรวจจับสิ่งนี้ได้
แอนตี้บอดี้จึงสามารถต่อต้านไวรัสในร่างกายได้
แม้แต่ในนิตยสาร Josei Seibun ฉบับวันที่ 3 ก.พ. 2022 ยังได้นำเสนอความคิดเห็นของทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยาว่า โปรตีนสไปค์น่าจะเป็น trigger ของอาการที่เกิดขึ้นภายหลังของวซ ซึ่งนพ. เซจิ โคจิมะก็ชี้ให้เห็นถึงความเป็นได้นี้เช่นกัน
“เป็นที่ทราบกันว่าเมื่อติดเชื้อโควิดแล้ว
จะเกิดอาการอักเสบเนื่องจากสารที่หลั่งมาจากเซลล์ภูมิคุ้มกัน เกิดเป็นปรากฏการณ์ Cytokine
Storm ที่ทำให้อวัยวะภายในเสียหาย แม้ภาพรวมทั้งหมดยังไม่กระจ่างชัดแต่โปรตีนสไปค์ที่ถูกสร้างมาจากวซก็สามารถก่อให้เกิด
Cytokine Storm และอาจมีความเป็นไปได้ของปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยอ่อน
จากรายงานการวิจัยทั้งในและต่างประเทศก็บอกไว้”
ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้ นพ. เซจิ โคจิมะจึงออกมาเตือนถึงความเสี่ยงที่มีมากกว่าผลดีในการฉีดให้เด็ก
“เดิมที แม้เด็กติดโควิด
ส่วนใหญ่อาการเบาและไม่แสดงอาการ จากข้อมูลปัจจุบันเมื่อวันที่ 20 ม.ค.
ที่จังหวัดไอจิ มีเด็กที่อายุต่ำกว่า 10
ปี มากกว่า 2 หมื่นคนที่มีผลตรวจเป็นบวก
และไม่มีวัยรุ่นคนใดที่ป่วยหนัก
ในทางกลับกัน
กลับมีวัยรุ่นไม่น้อยที่มีความทุกข์ทรมานจากอาการที่เกิดขึ้นภายหลัง
หรือเสียชีวิตหลังจากการฉีด”
จากเคสทั่วประเทศญี่ปุ่น
จำนวนเด็กวัยรุ่นที่มีอาการถึงชีวิตจากการติดโควิดมีเพียง 4 ราย ณ ปัจจุบัน
รายงานการเสียชีวิตหลังจากฉีดมีจำนวนลดลง
เป็นเรื่องยากสำหรับเด็กเล็กที่ตัดสินใจด้วยตัวเอง ดังนั้น เรื่องนี้จึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน
ที่มา: https://www.news-postseven.com/archives/20220128_1722604.html?DETAIL
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น