บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงทางสถติของสัดส่วนประชากรที่ติดเชื้อโควิด-๑๙ ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศหลังการรับวัคซีน เพื่อเป็นข้อมูลให้ทั้งภาครัฐ สื่อมวลชน และ ประชาชน ได้ทบทวนมาตรการการเช็คประวัติการรับวัคซีนในการเดินทาง การใช้บริการจากหน่วย งานรัฐ เอกชน การสมัครเข้าทำงาน ว่าควรมีอยู่หรือไม่ในสังคมไทย รวมถึงประเด็น ที่ควรพิจารณาอย่างเร่งด่วน นั่นคือ นโยบายรับวัคซีนของเด็ก
โดยบทความนี้จะใช้ข้อมูลทางสถติของจำนวนประชากรทั้งหมด จำนวนประชากรที่รับวัคซีน และ จำนวนประชากรทที่ติดโควิดมานำเสนอ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีที่มาทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ
การใช้วัคซีนโควิด-๑๙ ในการรับมือกับปัญหาโควิดในประเทศไทย
ประเทศไทยเริ่มมีการฉีดวัคซีน มาตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๔ และดูเหมือนว่า รัฐบาลไทยเลือกที่จะใช้การฉีดวัคซีนเป็นแนวทางหลักในการแก้ปัญหาโควิดจนถึงปัจจุบัน โดยขาดการพิจารณาสถิติและข้อมูล ทั้งจากประเทศฝั่งตะวันตกทที่รับวัคซีนก่อนเรา หรือจากข้อมูลในประเทศที่แจ้งสัดส่วนประชากรผู้ติดโควิด-๑๙ หลังจากการระดมฉีดไปแล้ว เพื่อทบทวนและปรับนโยบาย การจัดการต่อโรคให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งในแง่สุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมต่อไป
Inform & Consent ขั้นตอนที่ถูกละเลย
แม้ว่า ในช่วงต้นปี๒๕๖๓ ซึ่งเป็นช่วงของการระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ ทางรัฐบาลได้มีแนวทางทั้งการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ที่มีหลักฐานว่าสามารถดูแลผู้ป่วยโควิดในเรือนจำเชียงใหม่ได้ทั้งสี่พันกว่าราย และไม่มีผู้เสียชีวิต แต่แนวทางการใช้ทางเลือกต่าง ๆ และการดูแลตนเองให้มภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่แข็งแรงกลับค่อยๆเลือนหายไปจากสื่อกระแสหลัก คงเหลือเพียงการประโคมข่าวการตรวจหาเชื้อจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน ยอดสะสม คลัสเตอร์ต่าง ๆ Time Line ซึ่งเป็นการเน้นให้เกิดความตื่นกลัวมากกว่าการให้ความรู้กับประชาชน จากนั้นก็มีการพูดถึงการสั่งซื้อวัคซีนโควิด-๑๙ ยี่ห้อต่างๆ และช่วงเวลาที่จัดสรรวัคซีนให้แก่ประชาชน แต่หลงลืมที่จะให้ข้อมูลที่สำคัญกว่าวัคซันโควิด -๑๙ ที่นำมาใช้ทั่วไป คือวัคซีนฉุกเฉินที่อยู่ในขั้นทดลอง ก่อนที่ประชาชนจะได้ลงชื่อยินยอมรับวัคซีนนี้เข้าร่างกาย
ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ของ Moderna รายงานว่าวัคซีนของพวกเขา บรรลุอัตราที่ได้ผลร้อยละ 94 ในผลการทดลองระยะที่ 3 เริ่มแรก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าจำเป็นต้องมีการทดสอบและข้อมูลเพิ่มเติม
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ของ Moderna กล่าวว่าพวกเขาจะยื่นขอวัคซีนกับ FDA เพื่อขออนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน
จากข้อมูลข้างต้น คำจำกัดความของวัคซีนเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินตามความหมายของ FDA คือ ผู้รับวัคซีนจะได้รับอนุญาตให้ได้รับวัคซีน เฉพาะในช่วงระยะเวลาของการประกาศว่ามีสถานการณ์ที่สมเหตุสมผล ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ไม่เคยถูกนำมาพูดถึงให้ประชาชนรับทราบตามคำอธิบายเกี่ยวกับวัคซีนกรณีฉุกเฉิน (Approved for Emergency use)
อ้างอิงคำอธิบายเกี่ยวกับความหมายของวัคซีนกรณีฉุกเฉิน https://www.pfizer.com/news/press-release/press-release-detail/pfizer-and-biontech-initiate-study-evaluate-omicron-based
ข้อมูลจากเว๊บไซด์ของบริษัท
Pfizer ณ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕
การใช้ข้อมูลทางสถิติ “จำนวนรับวัคซีนแล้วติดโควิด”
ในการทบทวนนโยบายของรัฐ
ตารางที่ ๑
ประชากรในประเทศไทยรับวัคซีนแล้วกว่าร้อยละ ๗๕
ตารางที่ ๒
บาร์สีฟ้า แสดงถึงผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-๑๙)
ที่ฉีดวัคซีนครบ ๒ โดสแล้ว
บาร์สีน้ำเงิน แสดงถึงผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-๑๙)
ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนครบ หรือที่ไม่ได้แจ้งสถานะการฉีดวัคซีน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี รายงานสถานการณ์ "โควิดวันนี้" ผู้ป่วยยืนยันโควิด19 จ.นนทบุรี ประจำวันที่ 28 มกราคม 2565 จำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 438
ราย เพศหญิง 248 ราย เพศชาย 190 ราย
ต่างชาติ 4 ราย (ลาว 4 ราย) มีอาการ 217 ราย คิดเป็น 49.54% ไม่มีอาการ 221 ราย
คิดเป็น 50.46%
ประวัติการรับวัคซีนของผู้ติดเชื้อ
● รับวัคซีนเข็มที่ 1 แล้ว 14 ราย 3.09 %
● รับวัคซีนเข็มที่ 2 แล้ว 235 ราย 53.65 %
● รับวัคซีนเข็มที่ 3 แล้ว 40 ราย 9.13 %
● รับวัคซีนเข็มที่ 4 แล้ว 4 ราย 0.91%
(มีประวัติรับวัคซีน 293 ราย 66.89%) ไม่เคยได้รับวัคซีน
145 ราย 33.10%
อ้างอิง https://www.bangkokbiznews.com/news/985316
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากตารางที่
๑ , ๒ และสัดส่วนของผู้ที่ติดโควิดจากสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีข้างต้น แสดงให้เห็นว่าผู้ที่รับวัคซีนแล้วมีสัดส่วนการติดโควิด
มากกว่าผู้ที่ยังไม่รับวัคซีน
ซึ่งเป็นในทิศทางที่สอดคล้องกันกับข้อมูลจากรัฐเมสซาชูเซตส์
ความเสี่ยงที่ประชาชนต้องเผชิญกับนโยบายแก้ปัญหาโควิดโดยใช้วัคซีนเป็นทางออกเดียว
ตารางที่ ๓
ยอดผู้ได้รับผลข้างเคียง
(ที่เข้าเกณฑ์) จำนวนทั้งสิ้น ๑๓,๙๐๔ ราย และรัฐจ่ายเงินช่วยเหลือไปแล้วกว่า ๑,๒๐๐
ล้านบาท
ข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ณ วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๕
https://subsidy.nhso.go.th/subsidy/#/dashboard
หลักฐานที่ได้แสดงมาจากแหล่งข้อมูลทั้งในไทยและต่างประเทศ ทั้งทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางปรากฏการณ์จริง ทางสถิติ จากหน่วยงานสําคัญพร้อมการยืนยันโดยบุคคลสําคัญในหน่วยงานเหล่านี้ล้วนพิสูจน์ว่า
๑.วัคซีนไม่ได้สามารถป้องกันการติดหรือการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า
(Covid-๑๙) ได้
โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ ๒ โดสไปแล้ว
ยังสามารถติด และแพร่เชื้อไม่ต่างกับผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน
และในหลายกรณีกลับติดเชื้อและแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-๑๙)
มากกว่าผู้ไม่ได้ฉีดวัคซีน
ขณะนี้จึงเหลือเพียงข้ออ้างที่ว่า
วัคซีนช่วยให้ลดอาการจากหนักเป็นเบา แต่ถ้าได้พิจารณา ตามตารางที่ ๓
ที่แสดงให้เห็นถึงจำนวนประชากรไทย ที่รับวัคซีนมาแล้ว เกิดผลข้างเคียงกับร่างกาย
กว่าหมื่นราย ยังไม่รวมผู้ที่ไม่เข้าข่าย ผู้ที่ถูกแพทย์ปฏิเสธว่าอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับวัคซีน (แม้ว่าก่อนรับวัคซีนจะมี ร่างกายแข็งแรง ปกติดี)
และผู้ที่เกิดผล ข้างเคียงแต่ไม่ได้แจ้งกับแพทย์หรือ สปสช คำถามคือ แนวทางการจัดการกับโรคไวรัส
โคโรน่า(Covid-๑๙) ที่ใช้อยู่ขณะนี้ รัฐทำถูกทางแล้วหรือไม่?
แหล่งข่าว ไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/news/local/2185415
๒.วัคซีนไม่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่
ด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมาร เวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุถึงภูมิคุ้มกันหมู่ว่า
ปัจจุบันเห็นได้ชัดแล้วว่า วัคซีนทุกชนิดไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้
เพียงแต่ลดความรุนแรงของโรค
ลดอัตราการตายและผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วกับผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน
เมื่อติดเชื้อปริมาณไวรัสที่อยู่ในตัวสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้
ดังนั้นวัคซีนที่ใช้ในขณะนี้ ไม่สามารถทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้
เพราะถึงแม้มีภูมิคุ้มกันก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันลดลงตลอดเวลา แต่ลดความรุนแรงของโรคได้
พร้อมระบุด้วยว่าการฉีดวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่
ไม่สามารถนำมาใช้ได้ในขณะนี้ ทั้งๆที่แต่เดิมคิดว่าถ้าประชากรได้วัคซีนถึง 70
เปอร์เซ็นต์ แล้วโรคจะทุเลาลง แต่ความจริงแล้ว ประเทศที่ฉีดวัคซีนได้มากแล้วยังพบการระบาดของโรค พร้อมยกตัวอย่าง สหรัฐอเมริกา
และอิสราเอล
สิ่งที่รัฐบาลควรทบทวนต่อนโยบายการจัดการกับโควิด-๑๙
ของประเทศไทย
“ฉีดวัคซีนเพื่อส่วนรวม”
ข้ออ้างที่ต้องทำให้กระจ่างและต้องหยุดใช้
จากข้อมูลข้างต้นทั้งหมด
แน่นอนว่าช่วงแรกของการใช้วัคซีน ข้อมูลด้านประสิทธิภาพของวัคซีน
หรือผลข้างเคียงอาจไม่มากพอ
นโยบายที่รัฐเร่งให้ฉีดวัคซีนเพื่อหวังว่าจะทำให้กันติด กันแพร่
หรือแม้แต่เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ดูจะเป็นเรื่องสมเหตุผล และประชาชนจำนวนหนึ่งก็สมัครใจที่จะรับวัคซีน เพราะหวังว่าจะเกิดผลที่คาดหวังดังกล่าว
จนกระทั่งเกิดแนวคิดแบ่งแยก รังเกียจว่ากลุ่มคนที่ไม่รับวัคซีนนั้นเห็นแก่ตัว
ไม่ทำเพื่อสังคม แต่เมื่อการใช้วัคซีนเป็นไปอย่างแพร่หลาย
และนานพอที่จะทำให้ได้รับข้อมูลที่แท้จริงมากขึ้น จนสามารถสรุปได้ว่า วัคซีนไม่ได้กันติด กันแพร่
และไม่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่
ควรปรับเปลี่ยนมาตรการรัฐ
เมื่อประสิทธภาพของวัคซีนไม่เป็นตามคาด
เมื่อไม่มีหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ใดรองรับ
การใช้มาตรการมีลักษณะแบ่งแยก ๒ มาตรฐาน
อันเกิดจาการใช้เกณฑ์การรับวัคซีนเป็นตัวกำหนดจึงเหมือนการสนับสนุน
ให้ประชาชนจำต้องยอมรับมาตรการดังกล่าวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาวะของคนในสังคม แต่เป็นมาตรการที่มีลักษณะเหมือนกฎหมู่ มากกว่ากฎหมายตามรัฐธรรมนูญ
รัฐควรสื่อสารให้เกิดความเข้าใจต่อผลของการรับวัคซีนที่เกิดขึ้นนี้
และยกเลิก มาตรการการเข้ารับบริการ และใช้สถานที่ต่าง ๆ
โดยใช้ข้อมูลในการรับวัคซีน ของแต่ละบุคคล เพราะเป็น
มาตรการที่ขัดต่อหลักจริยธรรมจนกระทั่งเกิดคำถาม แก่ประชาชนว่ารัฐมีส่วนได้เสียใด กับบริษัทผู้ผลิตวัคซีน หรือไม่อย่างไร? ที่ทำให้
รัฐต้องใช้มาตราการเข้มงวดในการแสดงผล การรับวัคซีนอย่างที่เป็นอยู่ มาตรการดังกล่าว ไม่ส่งผลใด ๆ ต่อการติด หรือแพร่โรคต่อสังคม ซึ่งขัดกับจุดประสงค์ที่แท้จริงของการรับวัคซีน แต่มาตรการ แสดงผลรับวัคซีนนี้เป็นเพื่อใช้การ
รับวัคซีน มาเป็นข้อต่อรอง และให้อภิสิทธิแก่ประชาชนชน กลุ่มหนึ่ง
(กลุ่มที่บริษัทวัคซีนได้ผลประโยชน์) แต่กลั่นแกล้ง ลดทอนคุณค่า ทำให้ประชาชนอีกกลุ่มต้องลำบากในการใช้ ชีวิตประจำวัน การเข้าเรียน การทำงาน การเดินทาง
การเข้ารับบริการ จากภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งเป็นการละเมิดลิดรอนสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียม ที่พึงมีของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
แนวทางล่าสุดของการจัดการสถาณการณ์โควิด
รัฐบาลได้สั่งวัคซีน กว่า ๓ แสนโดส เพื่อพร้อมฉีดให้เด็กวัย ๕-๑๑ ปี
จึงเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้น และจากผลการใช้
วัคซีนในผู้ใหญ่หรือไม่? เหตุใดรัฐบาล สาธารณสุข ศบค. จึงไม่แสดงออกถึงความพยายามในการใช้แนวทางอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาวะของประชาชน นอกเหนือไปจากการย้ำคิด ย้ำทำ
และมุ่งหวังจะใช้เพียง “วัคซีนขั้นทดลองและเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน”
มาแก้ปัญหาให้กับสังคมไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น