วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ผลการตรวจเชื้อโควิดเป็นบวกลวง ปัญหา ผลกระทบ และแนวทางการแก้ไข

             


            
ปัจจุบันการระบุว่าผู้ใดติดเชื้อโควิดหรือไม่ จะใช้วิธีการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี Rt PCR การตรวจดังกล่าวเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ เป็นวิธีมาตรฐาน อย่างไรก็ดีเร็วๆนี้องค์การอนามัยโลกออกมายอมรับว่าวิธีดังกล่าวว่าอาจให้ผลบวกลวง ระบุว่า ผู้ที่ถูกตรวจมีเชื้อ ทั้งๆที่ในความจริง เขาไม่มีเชื้อ ผลบวกลวงดังกล่าว ส่งผลกระทบทั้งในระดับปัจเจกชน ไปจนถึงระดับชุมชน และระดับประเทศ ในระดับปัจเจกชน ทำให้บุคคลที่มีผลบวกลวง ต้องถูกกักตัวโดยไม่จำเป็น ก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางสุขภาพและทางเศรษฐกิจ ในระดับชุมชน ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก โดยไม่จำเป็นอันส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจในชุมชน ในระดับประเทศ ทำให้รัฐต้องเสียงบประมาณ บุคลากรทางการแพทย์ไปดูแลผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อจริง ทั้งยังส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก “ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนี้ สามารถหลีกเลี่ยง
ได้”  สาเหตุโดยละเอียดของผลบวกลวงสามารถอ่านได้จากรายงานทางวิชาการจากเวปไซต์ข้างล่างนี้

https://cormandrostenreview.com/


สรุปย่อจากรายงาน 

        จากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญ ต่องานวิจัย (Corman-Drosten’s paper) ที่องค์การอนามัยโลกใช้ อ้างอิงเป็นมาตรฐานในการตรวจยืนยันการติดเชื้อโควิด พบว่ามีข้อผิดพลาดที่สำคัญทั้งหมด 10 ประการ คือ

1. มีการใช้ สารพันธุกรรมตั้งต้นในการขยายสัญญาณพันธุกรรม (primers) ในปริมาณความเข้มข้น ที่สูงกว่ามาตรฐานทั่วไปที่ใช้ถึงสามเท่า การกระทำดังกล่าวมีผลให้มีการขยายรหัสพันธุกรรมที่ไม่จำเพาะเจาะจงต่อเชื้อไวรัสโควิดง่ายขึ้น ท าให้ไม่สามารถใช้ในการตรวจหาเชื้อ ไวรัสโควิด (SARS-Cov-2) ได้

2. การกำหนดรหัสพันธุกรรมของสารพันธุกรรมตั้งต้น (primers) ที่ระบุในงานวิจัยของ Corman-Drosten มีการกำหนดรหัสพันธุกรรม 6 ตำแหน่ง ว่าเป็นรหัสใดก็ได้ (รหัสพันธุกรรมมี 4 รหัส คือ A T C G) ท าให้ primers ที่ใช้ในการตรวจหาเชื้อมีความหลากหลาย แตกต่างกันได้ถึง 4 6 = 4,096 แบบซึ่งทำให้การตรวจด้วยวิธีนี้ ไม่ได้ดำเนินการอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน แต่ละห้องปฏิบัติการใช้ primers ที่ไม่เหมือนกัน  

3. การตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสที่ระบุในงานวิจัยของ Corman-Drosten ตรวจหาส่วนของ พันธุกรรมไวรัส ที่ไม่ได้ครอบคลุมส่วนต้น กลาง ปลายของ ไวรัลจีโนม (Viral genome, พันธุกรรมทั้งหมดของไวรัส) โดยเลือกตรวจแค่ส่วนต้นและกลางของไวรัส ทำให้ผลการตรวจที่เป็นบวก อาจจะเป็นเพียงการพบซากครึ่งเดียวของไวรัส ที่ไม่สามารถแพร่เชื้อได้

4. ในการทำปฎิกิริยาเคมีเพื่อขยายสัญญาณพันธุกรรมนั้น ต้องกำหนดอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำปฎิกิริยา อุณหภูมิดังกล่าว ขึ้นอยู่กับ primer ที่ใช้ เนื่องจากในการขยายสัญญาณแต่ละจุด จะต้องใช้ primer สองอัน (ขยายสัญญาณมาจากคนละด้านจนมาพบกันตรงกลางแล้วจึงหยุด) อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาจึงจำเป็นต้องเหมาะสมกับทั้งสอง primers (เพราะต้องให้ primers ทั้งสองทำงานพร้อมกัน)  จากงานวิจัยของ Corman-Drosten พบว่ามีการใช้ primers ที่ต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำปฏิกิริยาต่างกันถึง 10 องศาเซลเซียส (ปกติไม่ควรต่างกันเกิน 2 องศาเซลเซียส) ซึ่งแปลว่าในขณะที่ทำปฏิกิริยา PCR จะไม่สามารถกำหนดอุณหภูมิที่เหมาะสมกับทั้งสอง primers ได้ การกำหนดอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมนี้ ทำให้ primers จับกับส่วนพันธุกรรมเป้าหมายได้แย่ลง ลดความจำเพาะลง

5. การทำ PCR test เพื่อการตรวจหาเชื้อ ต้องกำหนดจำนวนรอบของการทำ PCR ที่เหมาะสม ค่า cut off ที่ใช้เป็นมาตรฐาน คือ 30 รอบ (แปลว่า ขยายสัญญาณขึ้น 2 ยกกำลัง 30 เท่า หรือ เท่ากับ 1,073,741,824 เท่า) ในงานวิจัยที่องค์การอนามัยโลกอ้างถึงดังกล่าวไม่มีการกำหนดค่านี้ไว้ และมีการใช้ PCR ขยายสัญญาณมากถึง 2 ยกกำลัง 40 เท่า (ในประเทศไทยใช้PCR test ที่ 35 ถึง 40 รอบ) ซึ่งจากงานวิจัยอื่นพบว่า การกำหนดจำนวนรอบ PCR ที่มากกว่า 35 ทำให้เกิดผลบวกที่ไม่มีความหมายทางคลินิก 

6. ในงานวิจัยของ Corman-Drosten ดังกล่าว ไม่มีการทดสอบยืนยันว่า ส่วนของสารพันธุกรรมที่ได้จากการขยายสัญญาณ เป็นส่วนของสารพันธุกรรมที่ต้องการขยายจริง สัญญาณพันธุกรรมที่ขยายจึงไม่สามารถบอกได้ว่า เป็นสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด

7. ในการตรวจหาเชื้อไวรัสโดยวิธี PCR ที่ใช้ไม่มีการกำหนด ตำแหน่งพันธุกรรมเป้าหมายที่มี ความจำเพาะต่อเชื้อโควิด อีกทั้งไม่มีการกำหนดการตรวจหาตำแหน่งพันธุกรรมที่พบในเชื้อโคโรนาไวรัสอื่นๆ แต่ไม่พบในเชื้อโควิด (negative control) ทำให้การตรวจหาเชื้อด้วยวิธีนี้ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นการตรวจหาเชื้อโควิด

8. ไม่มีการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติการ (Standard operating procedure, SOP) ทำให้การตรวจหาสารในแต่ละห้องปฎิบัติการไม่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน 

9. งานวิจัยของ Corman-Drosten ไม่ได้รับการทบทวนความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาเดียวกันที่มิได้มีส่วนได้ส่วนเสียในงานวิจัยดังกล่าว (peer review)

10. พบว่า ทีมผู้วิจัยของ Corman-Drosten paper มีผลประโยชน์ทับซ้อนมากมาย โดยหลายคนในทีมวิจัยเป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่ผลิตชุด PCR kit เพื่อตรวจหาเชื้อโควิดออกมาขาย


จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ขอเสนอให้ รัฐบาล สั่งการให้

1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เปิดเผยรายละเอียดของวิธีตรวจหาเชื้อด้วยวิธี PCR ที่ใช้อยู่ใน ประเทศไทย โดยระบุรายละเอียดทั้ง primers ที่ใช้ อุณหภูมิ จำนวนรอบฯลฯ ตามข้อสังเกตุ ด้านบน ให้สังคมได้รับทราบ

2. จัดตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วนให้ร่วมตรวจสอบแนวทางการตรวจหาเชื้อโควิดที่ใช้ใน ปัจจุบันว่า มีข้อบกพร่องอันจะนำไปสู่การให้ผลบวกลวงหรือไม่ และถ้ามีในอัตราสูงแค่ไหน

3. ให้ข้อมูลต่อสังคมถึงความเป็นไปได้ของการได้ผลบวกลวง จากวิธีการตรวจ PCR ที่ทำอยู่ใน ประเทศต่างๆ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจเป็นผลทำให้จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อในประเทศนั้นๆสูงกว่าความเป็นจริงมาก

        ผลบวกลวง สร้างความตื่นตระหนกที่ไม่จำเป็นแก่สังคม ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ธุรกิจเล็กๆจำนวนมากมายที่จำต้องปิดกิจการลงเพราะความตื่นกลัวที่ไม่จำเป็นดังกล่าว มาตรการตรวจสอบที่เสนอดังกล่าว จึงเป็นมาตรการเร่งด่วนระดับชาติที่จำเป็นต้องดำเนินการในทันที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องเล่าหลังเข็ม 4

  เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ ขอหยิบpกเรื่องที่ คุณวิบูลย์ อิงคากุล นำมาบอกเล่าผ่านทางFB 🕀🕀🕀...