วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565

 





เรียน อาจารย์ยงที่เคารพ

ผมได้อ่านบทความที่อาจารย์เผยแพร่บน FB ของอาจารย์ (ลงวันที่ ๑ เมษายน หวังว่าไม่ใช่เรื่อง april's fool day นะครับ ) และขอขอบพระคุณที่อาจารย์เอา ข้อเท็จจริง มาบอกต่อสังคมครับ ผมเห็นด้วยกับความเห็นหลายประการที่อาจารย์นำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ ชีวิต ต้องดำเนินต่อไป เราต้องเปิด ประเทศ โรงเรียนต้องเปิดเรียน เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด และสุดท้าย การป้องกันขั้นทุติยภูมิ น่าจะเป็นคำตอบที่ดีกว่า เน้นรักษาให้เร็วและมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีผมมีคำถามที่อยากขอคำชี้แจงจากอาจารย์ดังนี้ครับ

๑.อาจารย์พูดถึงการใช้วัคซีนในกลุ่มเปราะบาง ผมอยากทราบว่าปัจจุบันมีการศึกษาความปลอดภัยของวัคซีนเหล่านี้ในกลุ่มเปราะบางไหมครับ มีกี่งานวิจัยที่ทำเสร็จแล้ว และเขาติดตามดูผลเสียไปนานแค่ไหนหลังฉีดครับ งานวิจัยที่บริษัทยาใช้ในการขออนุมัติฉุกเฉินเป็นการทำการศึกษาใน คนปกติที่แข็งแรงดีนะครับ
๒. การที่วัคซีนไม่ได้ผล และ อัตราการเสียชีวิตลดลง และมีทางเลือกอื่นๆในการแก้ปัญหา ทำให้เงื่อนไขในการ อนุมัติใช้ยาฉุกเฉินย่อมหมดไป ใช่ไหมครับ การอนุมัตื ฉุกเฉินนั้นจะนำมาใช้ได้ต้องมีเงื่อนไข สี่ประการตามรายละเอียดในไฟล์ pdf* ที่แนบมา เมื่อเงื่อนไขเหล่านั้นไม่ครบตามกำหนด แปลว่า อย ต้องยกเลิกการอนุมัตินี้ทันทีใช่ไหมครับ
๓.การเรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด แปลว่า ต้องมีการสนับสนุนการศึกษาวิจัย ยา สมุนไพร ที่สามารถใช้ในการรักษาโรคนี้อย่างจริงจังในประเทศไทย โดยยึดมั่นใน ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญญาที่ "พ่ออันเป็นที่รัก" ของปวงชนชาวไทย ทรงพระราชทานไว้ให้ ใช่ไหมครับ
๔.ในเมื่อประโยชน์จากวัคซีนลดน้อยลงไป การระดมฉีดในกลุ่มประชากรเด็ก และกลุ่มที่มีสุขภาพแข็งแรงย่อมไม่มีประโยชน์ แถมเนื่องจากวัคซีนบางชนิดอาจจะก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาวได้ เราจึงควรระงับการฉีดไว้และมีการทบทวนข้อมูลหลักฐานใหม่ๆที่มีก่อนไหมครับ

หวังว่าท่านอาจารย์จะกรุณาตอบคำถามเหล่านี้นะครับ และจะเป็นการดีมากหากท่านคณบดี เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ และรีบดำเนินการให้เกิด เวที เสวนาในเรื่องนี้ขึ้นโดยเร็วตามที่ท่านให้สัญญากับผมไว้ทางโทรศัพท์ครับ

ดัวยความเคารพ

อรรถพล

PDF*


ที่มา: FB Yong Poovorawan

โควิด 19  ความคิดเกี่ยวกับโรคโควิด 19 เปลี่ยนตามสถานการณ์
ยง ภู่วรวรรณ  1 เมษายน 2565
 
ต้องยอมรับว่าในปีแรก 2563 ที่เกิดการระบาดของโรคโควิด 19 โรคมีความรุนแรง อัตราเสียชีวิต สูง 3 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์
ทุกคนรอความหวังที่จะป้องกันด้วย “วัคซีน”

ปีต่อมา 2564 มีวัคซีน แต่พบว่าวัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ยังคงพบการระบาดอย่างมาก ประสิทธิภาพของวัคซีนเหมือนกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่ไม่สามารถจะกำจัดหรือลดการระบาดลง ในแต่ละปีประสิทธิภาพแตกต่างกันตามสายพันธุ์
 
การให้วัคซีน 3 เข็ม 4 เข็ม หรือแม้กระทั่งติดเชื้อแล้วก็ยังติดเชื้อซ้ำได้อีก แต่อาการความรุนแรง “ลดลง”
 
ในปีนี้ 2565 โรคยังคงระบาดอย่างมาก ความรุนแรงลดน้อยลง อัตราการเสียชีวิตลดลง จากที่เคยสูง 1-2 %  ลดลงมา เหลือ 1-2 ในพัน (0.1 - 0.2 %) ของผู้ติดเชื้อ (รวม ATK) ส่วนใหญ่เป็นในกลุ่มผู้เปราะบาง หรือ 608  ไม่ได้รับวัคซีน หรือ ได้รับวัคซีนไม่ครบ
 
โดยทั่วไปผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง และ ได้รับวัคซีนแล้ว ติดเชื้อได้ ความรุนแรงของโรคจะลดลง แต่ก็ยังสามารถแพร่กระจายโรคได้ ในเด็กปกติโรคมีความรุนแรงน้อยกว่า ยกเว้น เด็กทารก และเด็กที่มีโรคประจําตัว ในเด็กทารกถ้ามารดาได้รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์ ภูมิต้านทานก็น่าจะส่งต่อมาปกป้องลูกน้อยในเดือนแรกๆได้
 
เราต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ ในการอยู่กับโรคนี้ให้ได้ พบผู้ป่วยผู้ติดเชื้อรอบตัวเรา รวมทั้งคนใกล้ชิด มีให้เห็นมากมาย ต่อไปวัคซีนพาสปอร์ต ที่จะต้องฉีด 2 เข็ม 3 เข็มก็จะมีความหมายน้อยลง การสืบสวนโรค ว่าติดจากใคร ทำได้ยาก และปัจจุบันแทบไม่ต้องถาม timeline กันอีกต่อไปแล้ว
 
เราไม่ควรรังเกียจคนที่เป็น และต้องยอมรับ เปรียบเสมือนเป็นโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง ไม่แสดงความรังเกียจผู้ป่วย เราจะต้องอยู่ด้วยกันกับโรคนี้
 
การตั้งรับในวันนี้ คือ ปกป้องกลุ่มเปราะบาง เช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ เรารู้ว่าไข้หวัดใหญ่ เป็นอันตรายในกลุ่มเสี่ยง เป็นกลุ่มเดียวกันกับโควิด 19  เราให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในกลุ่มเสี่ยง เช่นผู้สูงอายุ เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี คนอ้วน  คนมีโรคประจำตัวเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจ โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
 
การเปิดประเทศมีความจำเป็น ผู้ตรวจพบเชื้อเดินทางเข้ามา พบวันละ 50-60 ราย ถือว่าน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจพบเชื้อในบ้านเรา  50,000 - 60,000 รายต่อวัน วัคซีนพาสปอร์ตต่อไปก็ไม่มีความหมาย เพราะฉีดวัคซีนแล้ว ยังติดเชื้อได้ การตรวจเชื้อในผู้เดินทางเข้าประเทศ ก็จะเหลือแต่ ATK และต่อไปก็จะตรวจเฉพาะผู้มีอาการ เช่น มีไข้ก็เพียงพอ
 
การตรวจหาเชื้อในประเทศ ก็คงจะต้องเป็นแบบไข้หวัดใหญ่ จะตรวจเฉพาะผู้มีอาการ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้ยารักษา
 
เมื่อพึ่งวัคซีนไม่ให้ติดเชื้อไม่ได้ ยาที่ใช้รักษาต่อไป จะมีความหมาย และมีความจำเป็น โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง  จึงมีการศึกษา หายาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อไว้ปกป้องกลุ่มเสี่ยง ให้เกิดอันตรายน้อยลง
 
ชีวิตจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไป เด็กนักเรียนจำเป็นจะต้องไปโรงเรียน ในภาคการศึกษาต่อไป มีความหวังว่าเด็กนักเรียนได้ไปโรงเรียน และกิจกรรมต่างๆก็จะได้กระทำกันมากขึ้น

FB Yong Poovorawan
1 เมย.2565



นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
Atapol Sughondhabirom, M.D.
Dept. of Psychiatry,
Faculty of Medicine,
Chulalongkorn University,
Bangkok, Thailand


เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น