วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565

ไขข้อสงสัยเรื่องภูมิคุ้มกันกับวัคซีน

เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทา สาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ

 ในช่วงที่ โควิด กำลัง สร้างความประหวั่นพรั่นพรึง ให้กับคนทั่วโลก รวมทั้งคนไทย เราส่วนใหญ่ล้วนเชื่อว่า “วัคซีน” คือ ทางรอดเพียงทางเดียว

 

วัคซีน คือ อะไร?

กลไกการทำงานของวัคซีนเป็นอย่างไร ?

อะไรคือ ภูมิคุ้มกันที่ วัคซีนไปกระตุ้น ?

ภูมิคุ้มกันมนุษย์มีกี่ประเภท? มีวิธีกระตุ้นภูมิคุ้มกันมนุษย์อย่างไรบ้างนอกจากการใช้วัคซีน?

 

คำถามเหล่านี้ เป็นคำถามที่พวกเราทุกคนควรจะเข้าใจ เพื่อช่วยให้เราสามารถปฏิบัติตน เอาชีวิตพ้นผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปได้

วัคซีน คือ?

วัคซีน คือ กระบวนการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยใช้ “เชื้อโรค” (หรือชิ้นส่วนของมัน) ในปริมาณที่น้อยมากๆ มาฉีด/พ่น/กิน เข้าสู่ร่างกาย เพื่อให้ “เชื้อโรค” (หรือชิ้นส่วนของมัน) นั้นเข้าไป กระตุ้น “ภูมิคุ้มกัน” ของร่างกาย ภูมิคุ้มกันที่เรียกกันว่า “แอนตี้บอดี้” (antibody) คำถาม คือ แล้วก่อนที่เราจะได้วัคซีน เราไม่มี “ภูมิคุ้มกัน” หรือ? คำตอบคือ ไม่ใช่ เรามีภูมิคุ้มกันแม้ก่อนได้รับวัคซีน ระบบภูมิคุ้มกันของเราซับซ้อนกว่าที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ

 

ภูมิคุ้มกัน คือ ?

 ภูมิคุ้มกัน คือ กลไกของร่างกายที่ทำหน้าที่ กำจัด สิ่งแปลกปลอม รวมทั้งเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ภูมิคุ้มกันยังทำหน้าที่ ปัดกวาด ของเสีย เศษซากเซลล์ที่ตาย เซลล์ที่ผิดปกติออกจากร่างกายด้วย ภูมิคุ้มกันจึงเป็นทั้งทหาร ตำรวจ และหน่วยกำจัดขยะของร่างกาย

 

ภูมิคุ้มกัน มีกี่ประเภท?

 ระบบภูมิคุ้มกัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระบบใหญ่ๆ (แต่ทั้งสองระบบนี้ทำงานร่วมกัน) คือ

1.ระบบภูมิคุ้มกันดั้งเดิม (innate immune response) ระบบภูมิคุ้มกันนี้เป็นระบบภูมิคุ้มกันหลัก ที่เรามีมาตั้งแต่เกิด แม้จะไม่ได้รับวัคซีน

2.ระบบภูมิคุ้มกันเสริม (adaptive immune response) ระบบภูมิคุ้มกันนี้ เกิดขึ้นภายหลังเมื่อเราต้องเผชิญกับ “เชื้อโรค” (หรือวัคซีน) ระบบนี้เป็น ระบบ “เสริม” ให้ภูมิคุ้มกันหลักหรือระบบภูมิคุ้มกันดั้งเดิมทำงานดีขึ้น มิใช่ระบบภูมิคุ้มกันเพียงอย่างเดียวที่เรามี

 

ระบบภูมิคุ้มกันดั้งเดิม (innate immune response)  คือ?

 ระบบภูมิคุ้มกันดั้งเดิม คือ ระบบภูมิคุ้มกันหลักที่เรามีมาตั้งแต่กำเนิด เป็นระบบที่ร่างกายใช้กำจัด “สิ่งแปลกปลอม” ไม่ว่า สิ่งนั้นจะเป็น เชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย หรือ สิ่งแปลกปลอมอื่นๆ โดยร่างกายจะมีกลไกที่จะแยกระหว่าง สิ่งที่เป็น “ตัวเรา” (self) กับสิ่งที่มิใช่ตัวเรา (non-self) กระบวนการที่เราสามารถแยกระหว่างตัวเรา กับสิ่งอื่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เราเป็นทารกอยู่ในครรภ์ ดังนั้นหลังจากที่ทารกคลอดออกจากครรภ์มารดา ร่างกายของทารกจะสามารถแยกได้เลยว่า สิ่งไหนเป็นสิ่งแปลกปลอม ภูมิคุ้มกันประเภทนี้ก็จะเริ่มทำงานทันที ภูมิคุ้มกันแบบนี้จะใช้กลไกหลายอย่างในการป้องกันร่างกาย เริ่มตั้งแต่ ผิวหนัง สารคัดหลั่ง เยื่อเมือกต่างๆที่กันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย (รวมทั้งน้ำมูก น้ำลาย เพราะเชื้อจะถูกดักจับไว้ ซึ่งแปลว่า การมีเชื้อในน้ำมูกไม่ได้แปลว่าต้องมีเชื้อในร่างกาย) และต่อให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ระบบนี้ก็มีกลไกจัดการ โดยใช้ทั้งเม็ดเลือดขาวหลากชนิด (macrophage, NK cell, etc.) เข้าไปตะลุมบอนเก็บกินเชื้อ หรือใช้สารต่างๆ ที่เรียกว่า “ไซโตไคน์” (cytokine) หรือ ระบบ complement ในการจัดการกับเชื้อ ระบบภูมิคุ้มกันดั้งเดิมนี้ เป็น “ระบบภูมิคุ้มกันหลัก” เพราะถ้าเราจำต้องพึ่งแต่ “ระบบเสริม” (adaptive immune response) แล้ว แปลว่า ถ้าเราเจอกับเชื้อตัวใหม่ที่เราไม่เคยเจอมาก่อน เราก็ต้องตายทั้งหมด ซึ่งไม่จริง เพราะแม้ว่าเราจะเจอกับเชื้อตัวใหม่ที่เราไม่เคยเจอมาก่อน (ซึ่งแปลว่าเราไม่มี antibody) ระบบภูมิคุ้มกันหลักนี้ก็ยังสามารถบอกได้ว่าเชื้อตัวนั้น เป็นสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ตัวเรา และสามารถจัดการกับเชื้อเหล่านั้นได้

 

ระบบภูมิคุ้มกันเสริม (adaptive immune response) คือ?

 ระบบภูมิคุ้มกันเสริม (adaptive immune response) คือ ระบบเสริม ที่ช่วยให้ ระบบหลัก ทำงานดีขึ้น ระบบนี้จะทำงานต้องมีการ “ติดเชื้อ” (หรือได้รับวัคซีน) ก่อน โดยเชื้อจะไปกระตุ้น “ภูมิคุ้มกัน”(ที่เรียกว่า แอนตี้บอดี้, antibody) แอนตี้บอดี้ที่มีความจำเพาะต่อเชื้อนั้นๆ ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นนี้ จะช่วยให้ร่างกาย จัดการกับเชื้อตัวเดิมได้เร็วขึ้น ถ้ามีการติดเชื้อครั้งใหม่ โดยระบบดังกล่าวจะช่วยให้เรา “จำหน้าตา” ของเชื้อตัวนั้นได้ดีขึ้น (ในระบบภูมิคุ้มกันแบบดั้งเดิม จะแยกแค่ ตัวเรากับไม่ใช่เรา แต่ไม่ได้บอกว่า อันที่ไม่ใช่เรา คือ เชื้อตัวไหน) อย่างไรก็ดี ถ้าเชื้อเปลี่ยน “หน้าตา” หรือกลายพันธุ์ก็จะทำให้ระบบนี้ ระบุหน้าเชื้อที่เปลี่ยนหน้าไปไม่ได้ (เหมือนที่เกิดในกรณีไข้หวัดใหญ่) ที่สำคัญการมี แอนตี้บอดี้ หรือ ภูมิคุ้มกันแบบนี้ ไม่ได้แปลว่า ร่างกายจะจัดการเชื้อตัวนั้นได้เสมอไป ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส เอชไอวี (ที่ทำให้เกิดโรคเอดส์, ซึ่งเป็นอาร์เอ็นเอ(RNA) ไวรัสเหมือนเชื้อไวรัสโควิด) การมีภูมิต่อเชื้อเอชไอวี นอกจากจะไม่ได้แปลว่า ไม่ติดเชื้อตัวนี้แล้ว ยังแปลว่า “ติดเชื้อ” เอชไอวี และสามารถแพร่เชื้อต่อได้อีกด้วย

 

ที่น่าสนใจคือ นอกจากจะไม่ได้ ป้องกันการติดเชื้อแล้ว ระบบนี้ยังอาจทำให้การติดเชื้อ รุนแรงขึ้นด้วย ดังตัวอย่างของ เชื้อไวรัสไข้เลือดออก (ซึ่งก็เป็น RNA virus คล้ายไวรัสโควิด) เป็นที่ทราบกันดีว่าการที่จะเป็นโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องติดเชื้อมากกว่าหนึ่งครั้ง การติดเชื้อในครั้งแรกอาการจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยแทบไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ แต่ร่างกายจะสร้าง แอนตี้บอดี้ต่อเชื้อขึ้น ต่อเมื่อมีการติดเชื้อครั้งที่สอง แอนตี้บอดี้ที่มีอยู่นี้เอง กลับจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนกลายเป็น ไข้เลือดออก กระบวนการที่เกิดนี้เรียกว่า antibody dependent enhancement (ADE) ADE นี้เองเป็นเหตุที่ทำให้การทำวัคซีนป้องกันโรค เมอร์ (MERS) และซารส์ (SARS) ซึ่งเป็นเชื้อโคโรนาไวรัสเหมือนโควิด ไม่ประสบความสำเร็จจนต้องยกเลิกความพยายามไป โดยแม้จะพบว่า วัคซีนของเมอร์และซารส์ ดังกล่าวจะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ดีมาก แต่เมื่อเอาเชื้อไวรัสให้ไปติดในสัตว์ทดลองที่ได้รับวัคซีน นอกจากวัคซีนจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้แล้ว ยังทำให้เกิดอาการปอดอักเสบที่รุนแรงขึ้นด้วย

 

เราสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันโดยไม่ใช้วัคซีนได้ไหม?

 ภูมิคุ้มกันของเราอย่างที่เล่าตอนต้น มีทั้งระบบหลักและระบบเสริม การเพิ่มภูมิคุ้มกันไม่จำเป็นต้องเพิ่มแต่ระบบเสริม ด้วยการใช้วัคซีนเท่านั้น ที่จริงแล้วเราสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันระบบหลักได้มากมายหลายวิธี วิธีที่รู้จักกันดีและทำได้ง่ายๆคือ 5 อ อาหาร อากาศ อารมณ์ ออกกำลังกาย และอุจจาระ

  1.อาหาร อาหารที่ช่วยให้เพิ่มภูมิได้คือ อาหารดีที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะสมุนไพรหลายชนิด ที่เราคุ้นเคยกันดี อาทิ เช่น ขิง หอมใหญ่ หอมแดง กระชาย กะเพรา กระเทียม พริกไทย ฯลฯ หรือถ้าจำไม่ได้ สมุนไพรพวกร้อนๆทั้งหลายละครับใช้ได้หมด นอกจากสมุนไพรที่ว่าแล้วควรทาน อาหารที่ให้วิตามินซีสูง อาทิ น้ำมะนาว ส้ม ฝรั่ง เสาวรส ฯลฯ กับผักผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสสระสูง เช่น ฟักทอง แครอท ขมิ้น มันม่วง ใบย่านาง ใบบัวบก ข้าวเหนียวดำ ข้าวไรซ์เบอรรี่ หรือ พืชผัก สีเหลือง ส้ม ม่วง อื่นๆ ก็มีส่วนช่วยรักษาสมดุลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีด้วย นอกจากนี้แร่ธาตุบางชนิดยังมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างภูมิต้านทานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดีเกลือ หรือธาตุแมกนีเซียม ที่เราใช้ทำให้เต้าหู้จับตัวเป็นก้อน แมกนีเซียม (Mg2+)ช่วยเร่งปฏิกิริยาสำคัญต่างๆในร่างกายถึง 325 ปฏิกริยา ในจำนวนนี้หนึ่งในสามเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพราะเหตุนี้ดีเกลือจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในตำรับยาไทยหลายตำรับ เพราะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยในเรื่องการขับถ่ายด้วยครับ


  2.อากาศ อันนี้ไม่ต้องอธิบายมาก อากาศดีทำให้สุขภาพดี ทั้งนี้ที่สำคัญคือ ออกซิเจน อากาศบริสุทธิ์มีออกซิเจนเยอะ เวลาหายใจเข้าไปแล้วจะสดชื่น ออกซิเจนจะช่วยให้การเผาผลาญพลังงานในร่างกายทำได้ดี ร่างกายมีพลังงานดี ภูมิคุ้มกันก็จะทำงานดีขึ้น เพราะฉะนั้นออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์บ่อยๆดี และไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากตอนอยู่กลางแจ้ง เพราะหน้ากากนั้น(ถ้าใส่แบบถูกวิธีลดปริมาณออกซิเจนที่ร่างกายได้รับ) นอกจากนี้ถ้ามาสูดอากาศบริสุทธิ์กลางแดด นอกจากจะได้วิตามินดีซึ่งสำคัญมากต่อการทำงานของภูมิคุ้มกันแล้ว แสงแดดยังมีรังสีอุลตร้าไวโอเลตที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ด้วยครับ

  3.ออกกำลังกาย ข้อนี้ก็ไม่ต้องอธิบายมากครับ ออกกำลังกายช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ยิ่งออกกำลังกายในพื้นที่โล่ง ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ ได้รับแสงแดดยิ่งดีไปใหญ่ครับ นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยทำให้ร่างกายหลั่ง “สารสุข” (endorphin) สารสุขจะช่วยทำให้ใจเบิกบาน ซึ่งเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ดีมากครับ

 

   4.อุจจาระ ข้อนี้หลายคนอาจจะสงสัย ว่าอุจจาระเกี่ยวอะไรกับภูมิคุ้มกัน? เกี่ยวและมากซะด้วยครับ อุจจาระคือที่อยู่ของเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อเหล่านี้จะช่วยย่อยสลายอาหารที่เราทานเข้าไป โดยอาหารหลายชนิด อาทิเช่น กากใยของพืชเป็นสารอาหารที่เราไม่มีน้ำย่อยสำหรับย่อย จำต้องใช้เอนไซม์ (หรือน้ำย่อยของแบคทีเรีย) ที่จุลินทรีย์เหล่านี้สร้างขึ้นมาช่วยย่อย จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายสารอาหารเหล่านี้  มีทั้งจุลินทรีย์กลุ่มที่ดี (หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า โพรไบโอติกส์, Probiotics) ที่ย่อยสลายอาหารแล้วได้น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเสีย กับจุลินทรีย์กลุ่มไม่ดีที่ย่อยสลายอาหารแล้วก่อให้เกิดสารพิษ อาทิเช่น แก๊สไข่เน่า (ตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นในน้ำเน่า) สารพิษเหล่านี้ก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำอันตรายให้กับภูมิคุ้มกัน ยิ่งเป็นคนที่ท้องผูกถ่ายยาก สารพิษเหล่านี้ก็จะมีเวลาดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น 

ดังนั้นการขับถ่ายอุจจาระเป็นประจำทุกวันจึงเป็นการช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น

 

  5.อารมณ์  เรื่อง อารมณ์ หรือ สภาพจิตใจนี้ ว่าไปแล้วถือเป็น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการทำให้ ภูมิคุ้มกันดี ในภาวะที่เครียด มีความกลัว ความวิตกกังวลสูง ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งออกมาในปริมาณมาก ฮอร์โมนชนิดนี้คือ คอร์ติซอล ฮอร์โมนนี้จะออกฤทธิ์คล้ายสเตียรอยด์ที่จะไปกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้แย่ลง นอกจากนี้ความเครียดยังทำให้ร่างกายสร้าง วิตามินดี ได้น้อยลงด้วย วิตามินดี สำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันมาก เมื่อระดับวิตามินดี ลดลง ภูมิคุ้มกันก็จะทำงานแย่ลงด้วย ในทางตรงกันข้าม เมื่ออยู่ในภาวะที่จิตใจ “สงบสุข” ร่างกายจะหลั่งสารชนิดหนึ่งชื่อว่า อนันดาไมด์ (anandamide) สารชนิดนี้ คือ สารอนุพันธุ์ของกัญชา (cannabinoid) ที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้ (endocannabinoid) สารชนิดนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น การตัดความกลัว วิตกกังวล และการรักษา ใจ ให้สงบสุข จึงเป็นวิธีที่ดีในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายครับ

 

ถ้าอ่านมาถึงตอนนี้ หวังว่าท่านผู้อ่านจะพอเข้าใจว่า ภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันไวรัสได้นั้นมีหลายแบบ และไม่ได้จำเป็นที่จะต้องใช้ “วัคซีน” ในการเพิ่มภูมิคุ้มกันเสมอไป มีวิธีการอื่นที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ที่สำคัญลงมือทำกันได้เลยตอนนี้ครับ เมื่อเข้าใจและลงมือทำ ความตื่นกลัว ความกังวล ความตระหนกก็จะลดลง ทำให้จิต “สงบสุข” เพิ่มภูมิต้านทานได้มากยิ่งๆขึ้นครับ



📝: นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น