วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

มาตรการแก้ หรือ มาตรการให้กลัว

ความไร้สาระ ไร้สติ ของ มาตรการแก้ปัญหา จังหวัดใหญ่ของประเทศ จังหวัดหนึ่ง มาลองอ่านกันตามด้านล่างภาพ

💬💬💬💬💬

มีผู้ป่วยกี่ราย ..... 277?  คนเชียงใหม่มีกี่คน  คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของประชากรจังหวัด ?

เสียชีวิต สองราย ทั้งสองอายุมาก มีโรคประจำตัว รายนึงสาเหตุการเสียชีวิตน่าจะเป็นจากการสำลักอาหาร จนหมดสติ แต่บังเอิญตรวจพบเชื้อ?

เจอในครอบครัว 22 ราย จาก 15 ครอบครัว ตกมีครอบครัวละ รายครึ่ง แปลว่ามันติดต่อง่ายจริงๆหรือ?

มีผลบวกจาก rtPCR หลายราย ค่า ct เท่าไหร่ เจอเชื้อ หรือ ซากเชื้อ?

Atk มี บวกลวง เยอะ มีอะไรบอกว่า ที่เจอติดจริงๆ?


มาตรการที่ออกมาบอกว่าเพื่อใช้ชีวิตร่วมกับโควิด ซึ่งจริงๆแล้ว ควรจะต้องเข้าใจก่อนว่า โควิด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่พยายามประโคมข่าว

มีทั้งยา ทั้งสมุนไพรดีๆ ที่ใช้รักษาได้มากมาย

แถมมาตรการทั้งหลายที่ บอกให้ทำนั้นยิ่งสร้างปัญหามากขึ้น 

ยิ่งแยกกัน ยิ่งโดดเดี่ยว ยิ่งทำให้ภูมิคุ้มกันตก ⛺

ยิ่งห้ามการออกกำลังกาย ยิ่งสุขภาพไม่ดี ยิ่งใส่หน้ากาก 😷 ยิ่งเพิ่มความกลัว แถมลดออกซิเจน ทำให้ภูมิคุ้มกันตก 

ยิ่งปิดบ้าน 🔏 ปิดร้าน ยิ่งเศรษฐกิจตกต่ำ คนตกงาน คนเครียด 😔 ภูมิคุ้มกันตก

ยิ่งกระตุ้น ความกลัว 😖 ความตื่นตระหนก ยิ่งสร้างปัญหา


หรือ ว่า นี่เป็นมาตรการ เพื่อทำงานให้ได้ “ตามเป้า” แค่จะเอาความดีความชอบจากนาย โดยไม่สนประชาชน?


อ่านแล้วได้ แต่ตลก แต่เป็นตลกร้าย ว่า ประเทศเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร❓

⇓⬇⇓


เชียงใหม่ชวนประชาชนลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ในแคมเปญ “สัปดาห์คนเชียงใหม่ รักกัน แยกกันสักพัก เพื่อลด COVID-19” 

จังหวัดเชียงใหม่เชิญชวนประชาชนเชียงใหม่ ร่วมมือกันลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ภายใต้แคมเปญ “สัปดาห์คนเชียงใหม่ รักกัน แยกกันสักพัก เพื่อลด COVID-19”  ตั้งแต่วันที่ 21-27 กุมภาพันธ์นี้ ด้านสถานการณ์โควิด-19 พบผู้ติดเชื้อในครอบครัวมากถึง 22 ราย และยังคงเฝ้าระวังคลัสเตอร์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด




             สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จังหวัดเชียงใหม่ วันนี้ (16 ก.พ. 65)     พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 277 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อจากต่างจังหวัดเพียง 4 ราย ได้แก่ กรุงเทพฯ พะเยา เชียงราย และกาญจนบุรี จังหวัดละ 1 ราย  ส่วนที่เหลืออีก 273 ราย เป็นผู้ติดเชื้อในจังหวัด    

            โดยขณะนี้มีกลุ่มคลัสเตอร์ที่ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดอยู่ 4 กลุ่ม ได้แก่ 

1. คลัสเตอร์กลุ่มสถานศึกษา พบเพิ่ม 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวารีเชียงใหม่ แผนกอินเตอร์เนชั่นแนล ตรวจ RT-PCR พบเพิ่ม 1 ราย ยอดรวม 3 ราย ,โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม ตรวจ ATK พบเพิ่ม 1 ราย ,วิทยาลัยการอาชีพ อำเภอจอมทอง ตรวจ ATK พบเพิ่ม 4 ราย และโรงเรียนรัตนาเอื้อวิทยา อำเภอฝาง ตรวจ ATK พบเพิ่ม 1 ราย ยอดรวม 2 ราย 

2. คลัสเตอร์กลุ่มร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม พบเพิ่ม 2 ร้าน ได้แก่ ร้านท่าช้าง อำเภอเมืองเชียงใหม่ ตรวจ RT-PCR พบใหม่ 2 ราย และร้าน Sound Up ตรวจ RT-PCR พบเพิ่ม 2 ราย ยอดรวม 4 ราย


3. คลัสเตอร์กลุ่มองค์กรหรือสถานที่ทำงาน พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 6 หน่วยงาน ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตรวจ RT-PCR พบเพิ่ม 7 ราย ยอดรวม 35 ราย ,บริษัทเอ็กซาซีแลม ตำบลสันพระเนตร อำเภอสันทราย ตรวจ RT-PCR และ ATK พบเพิ่ม 4 ราย ,ร้าน Haidilao สาขาเซ็นทรัลเฟสติวัล ตรวจ RT-PCR พบเพิ่ม 2 ราย ,บริษัทเชียงแสงฮอนด้าออโต้โมบิล ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม ตรวจ RT-PCR พบเพิ่ม 1 ราย ร้านก๋วยเตี๋ยวสะอาด อำเภอเมืองเชียงใหม่ ตรวจ ATK พบใหม่ 12 ราย และโครงการหลวงหนองหอย ตำบลแม่แรม อำเภ แม่ริม ตรวจ ATK พบเพิ่ม 9 ราย 

4. คลัสเตอร์กลุ่มกลุ่มตลาด พบเพิ่ม 5 แห่ง ได้แก่ ตลาดเมืองใหม่  ตรวจ RT-PCR และ ATK พบเพิ่ม 3 ราย ,ตลาดทิพย์เนตร ตรวจ ATK พบเพิ่ม 1 ราย ,ตลาดแม่ข่าหล่ายฝาง ตำบลแม่ข่า อำเภ ฝาง ตรวจ ATK พบเพิ่ม 1 ราย ,ตลาดนัดหน้าวัดข่วงเปา อำเภอจอมทอง ตรวจ ATK พบใหม่ 4 ราย และตลาดเจริญ เจริญ อำเภอสันกำแพง ตรวจ ATK พบเพิ่ม 6 ราย


    นอกจากนี้ ยังมีการระบาดจากการสัมผัสในครอบครัวเพิ่มอีก 22 ราย จาก 15 ครอบครัว ส่วนผู้ติดเชื้อจากการสัมผัสผู้ติดเชื้อรายก่อนหน้า พบเพิ่ม 105 ราย และมีผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค เชื่อมโยงคลัสเตอร์อีก 106 ราย


     จังหวัดเชียงใหม่จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ทุกคน ทุกอำเภอ ร่วมมือกันลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 21-27 กุมภาพันธ์ นี้ ภายใต้แคมเปญ “สัปดาห์ คนเชียงใหม่ รักกัน แยกกันสักพัก เพื่อลด COVID-19”     โดยขอความร่วมมือทุกคน ปฏิบัติตามมาตรการ 6 ข้อ ดังนี้ 

1. สวมหน้ากากตลอดเวลาที่อยู่นอกบ้าน 

2. ร่วมกันหิ้วปิ่นโต หรือรับประทานอาหารกลางวันคนเดียว ไม่รวมกลุ่มกัน 

3. งานบุญ งานศพ เลี้ยงอาหารกล่อง 

4. งดงานเลี้ยง ปาร์ตี้สังสรรค์ 

5. นักเรียน นักศึกษา งดการทำงานกลุ่ม การติวเรียน ในช่วงนี้ และ 

6. ผู้ชื่นชอบกีฬา งดการเล่นกีฬาที่ต้องปะทะ หรือใกล้ชิดกัน เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล เป็นต้น เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลง และรณรงค์ให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตร่วมกันโรคโควิด-19 ได้


    ด้านข้อมูลผู้เสียชีวิต 2 รายวันนี้ รายแรกเป็น ชายไทย อายุ 87 ปี มีโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง เกาต์ และหลอดเลือดสมอง วันที่ 14 กุมภาพันธ์ มีอาการไอ สำลักอาหาร หมดสติ นำส่งโรงพยาบาลนครพิงค์ ตรวจพบออกซิเจนในเลือดต่ำ จึงได้ใส่ท่อช่วยหายใจ ตรวจ RT-PCR ยันยันว่าติดเชื้อและรับรักษาไว้ที่โรงพยาบาล วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิต


    อีกรายเป็นชายไทย อายุ 72 ปี มีโรคประจำตัว คือ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หอบหืด และลิ้นหัวใจตีบ วันที่ 19 มกราคม เริ่มมีอาการไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ นำส่งโรงพยาบาลมหาราช ตรวจพบออกซิเจนในเลือดต่ำ จึงได้ใส่ท่อช่วยหายใจ ตรวจ RT-PCR ยันยันว่าติดเชื้อโควิด-19 วันที่ 21 มกราคม ติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราซ้ำซ้อนในกระแสเลือด วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตลง


**********

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่

16 กุมภาพันธ์ 2565


💬💬💬💬💬

เหล้าเก่าในขวดใหม่

หากนโยบายเดิมๆ มันได้ผล ก็คงกลับมาลืมตาอ้าปากกันได้นานละ


วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

90%ของแพทย์ในญี่ปุ่น ไม่แนะนำการฉีดว-ซ-ให้แก่เด็กเล็ก

90%ของแพทย์ในญี่ปุ่น ไม่แนะนำการฉีดวัคซีนให้แก่เด็กเล็ก 

เขียนโดย นายแพทย์ อะซึโอะ ยานางิซาวะ

(จากการสำรวจของสมาคมแพทย์ Orthomolecular ญี่ปุ่น)


          เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 กระทรวงสาธารณสุขและแรงงานได้ทำการอนุมัติการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้แก่เด็กอายุ 5 – 11 ปี  ในวันเดียวกันนั้น ทางสมาคมกุมารเวชศาสตร์ก็ได้ออกมาตอบรับนโยบายดังกล่าวด้วยแนวความคิดว่า การฉีดวัคซีนให้แก่เด็กอายุ 5 – 11ปี นั้นเป็นสิ่งสำคัญ  ทางกระทรวงสาธารณสุขและแรงงานจึงได้รับข้อเสนอของสมาคมกุมารเวชศาสตร์ และกำหนดให้ทั่วทั้งประเทศเริ่มการฉีดวัคซีนแก่เด็กเล็กตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป

          แต่ทว่า ยังไม่มีความเพียงพอถึงข้อมูลความปลอดภัยในระยะยาวและผลข้างเคียงของวัคซีน  การฉีดวัคซีนให้แก่บุคคลอายุ 12 – 20 ปีที่ได้ทำไปแล้วพบตัวอย่างการเสียชีวิตและผลข้างเคียงรุนแรงมากกว่าการแพร่ระบาดของโควิด เดิมทีแล้วหากเด็กเล็กติดเชื้อขึ้นมา อาการก็จะไม่หนัก ดังนั้นความสำคัญของการฉีดวัคซีนจึงแบ่งออกเป็นทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย  แม้แต่สมาคมกุมารแพทย์ของญี่ปุ่นเองยังแสดงความคิดเห็นว่า การฉีดให้แก่เด็กเล็กซึ่งแทบจะไม่มีอาการหนักนั้น จะให้น้ำหนักความสำคัญเทียบเท่ากับผู้สูงอายุและผู้ใหญ่ไม่ได้

          สมาคมแพทย์ Orthomolecular ญี่ปุ่นเป็นสมาคมที่ไม่ได้เป็นทั้งพวก Anti-vaccination และไม่ได้เป็นพวก Pro-vaccination ด้วย แต่เป็นพวก Circumspection (รอบคอบถี่ถ้วน)  ในการตัดสินใจให้เด็ก ๆฉีดนั้นผู้ปกครองควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง แต่สื่อต่างๆ ทั้งทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ มีแต่ความโน้มเอียงไปยังข้อมูลที่แนะทำให้ไปฉีด

          ดังนั้น จึงได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับ “แพทย์จะให้บุตรหลานของตนรับการฉีดวัคซีนหรือไม่” เนื่องจากในมุมมองของประชาชนทั่วไป แพทย์เป็นผู้ที่มีทั้งความรู้และข้อมูลอยู่มากเกี่ยวกับความจำเป็นและผลข้างเคียงของวัคซีน ดังนั้นการตัดสินใจของแพทย์ต่อบุตรหลานของตนจึงถือเป็นอ้างอิงที่มีประโยชน์มาก  จึงมี 3 องค์กรได้แก่ สมาคมแพทย์ Orthomolecular ญี่ปุ่น, สมาคม Children Corona Platform และสถาบัน Intravenous Therapy  ได้ทำการสำรวจ “ความตระหนักของแพทย์และทันตแพทย์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนให้แก่เด็กเล็กที่มีสุขภาพดี”

 

สรุปโดยย่อของการสำรวจ

          ทำการสำรวจเป็นเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2565 – 3 กุมภาพันธ์ 2565 หลังจากแต่ละองค์กรได้ส่งอีเมล์ร้องขอไปยังผู้เกี่ยวข้องและสมาชิกให้บันทึกการสำรวจ จึงได้รับคำตอบจากแพทย์ 301 ราย ทันตแพทย์ 240 ราย รวมทั้งหมด 541 ราย  สถานที่ทำงานของผู้ให้คำตอบแบ่งออกเป็น สถานีอนามัย 85% โรงพยาบาลในสถาบันการศึกษา 5% และโรงพยาบาลทั่วไป 8 %  แบ่งตามแผนกเป็น อายุรกรรม 139 ราย กุมารเวช 16 ราย  ที่เหลือก็กระจายเป็นหลากหลายแผนกไป

 

90%ของแพทย์ จะไม่ให้บุตรหลานฉีดวัคซีนโควิด

          จากคำตอบทั้งหมด ทั้งแพทย์และทันตแพทย์ต่างมีคำตอบไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้จะขออธิบายถึงผลของทั้งหมด 541 ราย ในภายหลัง

          หลังจากที่สอบถามผู้ที่มีบุตหลานวัย 5 – 11 ปีในครอบครัว 169 ราย ว่าจะให้ฉีดหรือไม่ มีผู้ตอบว่า “ให้ฉีด” 5.3

ส่วนผู้ที่ตอบว่า “ไม่ให้ฉีด” หรือ “ขอดูสถานการณ์ก่อนค่อยตัดสินใจ” รวมกันแล้วเป็น 92.3% อีกทั้ง ในส่วนของคำถามว่า “จะแนะนำให้ฉีดหรือไม่หากหารือกับพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ หรือเพื่อนแล้ว”  มีคำตอบว่า “แนะนำ” 6.7% คำตอบว่า “ไม่แนะนำ” และ “ขอรอดูก่อนสักพัก” มี 88.4


          สรุปได้ว่า 90%ของแพทย์ จะไม่ให้บุตรหลานฉีดวัคซีนโควิด และตัดสินใจว่าแม้จะหารือกับเพื่อนหรือคนรู้จักแล้วก็ไม่ให้ฉีด หรือขอรอดูไปก่อนสักพัก

          เมื่อถามถึงเหตุผลว่าทำไม “ไม่ให้ฉีด” หรือ “ขอดูไปก่อนสักพัก”  60 – 65% ของคำตอบที่ได้มีหลากหลายเช่น กังวลถึงผลข้างเคียง ข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจยังไม่เพียงพอ ยังไม่จำเป็นสำหรับการฉีดให้กลุ่มวัยนี้

 มากกว่า 80% ไม่พอใจในข้อมูลที่ได้รับจากรัฐบาล หน่วยราชการท้องถิ่น และสมาคมแพทย์ถึงผลข้างเคียงของวัคซีน

        1 ปีผ่านไปแล้ว นับตั้งแต่การฉีดวัคซีนที่ได้เริ่มทำให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ก่อนเมื่อกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว แม้การสำรวจในครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปยังคลินิกเอกชน แต่คาดการณ์ได้ว่าอัตราการฉีดน่าจะมากกว่า 80% แล้ว  แต่ทว่า 52% ของแพทย์ 301 ราย และ 59% ของทันตแพทย์ 204 ราย ปรากฏว่า 55%ของทั้งหมดเป็นผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน ถือว่าเป็นสิ่งที่เกินคาด แม้ 84.7% จะเป็นคลินิกเอกชน ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก เรื่องนี้อาจจจะเป็นความจริง และอาจเป็นความโน้มเอียงของการสำรวจก็ได้



          นอกจากนี้ ในแง่ของความน่าเชื่อถือของการสำรวจ ผู้ให้คำตอบทุกคนได้กรอกอีเมลแอดเดรส โดยมี 73.4% ของผู้ที่กรอกทั้งชื่อ ที่อยู่ และอีเมลแอดเดรส เมื่อเพิ่มผู้กรอกเฉพาะชื่อและอีเมลแอดเดรส ก็จะเป็น 84.5% จึงพิจารณาได้ว่าความน่าเชื่อถือของผู้ให้คำตอบมีความน่าเชื่อถือสูง

สุดท้ายนี้

          แม้แต่ในเวปไซต์ข้อมูลสำหรับแพทย์อย่าง M3.com ก็ได้ทำการสำรวจเช่นเดียวกันกับเรา แต่ทว่า ไม่อยากจะเชื่อเลยว่า ผลสรุปที่ได้นั้นกลับห่างไกลจากของเรา โดยมีแพทย์ถึง 60% ที่ตอบว่า “แนะนำ” การฉีดวัคซีนให้แก่เด็ก 5 – 11ปี ขณะนี้กำลังพิจารณาที่จะส่งข้อคำถามไปยังเวปไซต์นี้

          จากการสำรวจครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่า “90%ของแพทย์ จะไม่ให้บุตรหลานฉีดวัคซีนโควิด” ขอให้ผู้ปกครองทั้งหลายที่ยังลังเลใจเกี่ยวกับการให้ลูกหลานไปฉีดวัคซีน จงได้ใช้คำนี้ให้เป็นประโยชน์ในการอ้างอิง ผู้เขียนเองก็คิดว่าความปลอดภัยของวัคซีนแก่เด็กต้องมีสูงกว่าของผู้ใหญ่หลายเท่า อย่างไรก็ตาม การจะให้เด็กฉีดทั้ง ๆที่ทำแค่การทดสอบความปลอดภัยในช่วงเวลาอันสั้นเหมือนกับของผู้ใหญ่ ก็ถือว่าเป็นสิ่งเกินให้อภัย

ที่มา

https://isom-japan.org/storage/public/files/cancer_integrative_medicine.pdf?fbclid=IwAR3jiI_rm1o1Dwvfekt9LSAQIlG-g_YVwCdaYWAYxP7pVhwl72GG_XUwxl8




วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

การตัดสินใจที่ย้อนกลับไม่ได้

 

เมื่อรัฐบาลสั่งวัคซีน Pfizer รอฉีดให้เด็กไทยอายุ ๕-๑๑ ปี

เริ่มเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕




บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบตัวเลขทางสถิติในเด็กที่ติดโควิดและ ความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากวัควีน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการ แก้ปัญหาโควิด-๑๙ สำหรับกลุ่มเด็กอายุ ๕-๑๑ ปี

 

วัคซีนที่รัฐกำลังใช้กับเด็กอายุ ๕-๑๑ ปีนั้นเป็นวัคซีนสำหรับใช้ในภาวะฉุกเฉิน



อ้างอิงhttps://www.pfizer.com/news/press-release/press-release-detail/pfizer-and-biontech-initiate-study-evaluate-omicron-based ข้อมูลจากเว๊บไซด์ของบริษัท Pfizer ณ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕


การใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉินยังไม่ได้รับการอนุมัติหรืออนุญาตจากองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา Food and Drug Administration (FDA)  แต่ได้รับอนุญาตจาก FDA ภายใต้การอนุญาตการใช้ฉุกเฉิน Emergency Use Authorization (EUA)  เพื่อป้องกันโรค Coronavirus ๒๐๑๙ (COVID-19) ในบุคคลอายุ ๕ ปีขึ้นไป การใช้ในกรณีฉุกเฉินจะได้รับอนุญาตเฉพาะในช่วงระยะเวลาของการประกาศว่ามีสถานการณ์ที่สมเหตุสมผลในการอนุญาต ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉินภายใต้มาตรา 564(b)(1) แห่งพระราชบัญญัติ FD&C เว้นแต่การประกาศจะยุติหรือเพิกถอนการอนุญาตเร็วกว่านี้ โปรดดูเอกสารข้อมูล EUA ที่ www.cvdvaccine-us.com 


จากข้อมูลข้างต้น ตามที่บริษัท Pfizer ระบุว่าวัคซีนที่จะใช้กับเด็ก ๕ ปีขึ้นไปจะใช้ในกรณี ฉุกเฉินและจะได้รับอนุญาตเฉพาะในช่วงระยะเวลาของการประกาศว่ามีสถานการณ์ที่สมเหตุ สมผล ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นไม่เคยถูกนำมาพูดถึงให้ประชาชนหรือผู้ปกครองรับทราบ


เมื่อต่างประเทศเริ่มทบทวนมาตรการการใช้วัคซีนในเด็ก

อ้างอิง(รอยเตอร์)https://www.reuters.com/world/europe/sweden-decides-against-recommending-covid-vaccines-kids-aged-5-12-2022-01-27/

Jan 27 2022 (Reuters) - Sweden has decided against recommending COVID vaccines for kids aged 5-11, the Health Agency said on Thursday, arguing that the benefits did not outweigh the risks.

        สตอกโฮล์ม ๒๗ ม.ค. สวีเดนตัดสินใจไม่แนะนำวัคซีนโควิด-๑๙ สำหรับเด็กอายุ ๕-๑๑ ปี สำนักงานสาธารณสุข ระบุเมื่อวันพฤหัสบดี โดยโต้แย้งว่าประโยชน์ที่ได้จากวัคซีนนั้นน้อยกว่าผลข้างเคียง

         เด็กอายุต่ำกว่า ๑๒ ปีในสวีเดนจะไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙  เว้นแต่พวกเขาจะมีอาการป่วยแฝง สำนักงานสาธารณสุขของประเทศกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี หลังจากการปรึกษาหารือกับสมาคมและหน่วยงานกุมารเวชศาสตร์แล้ว หน่วยงานกล่าวว่าประโยชน์ของการฉีดวัคซีนเด็กที่มีสุขภาพดีน้อยกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

“ด้วยความรู้ที่เรามีในวันนี้ การมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดโรคร้ายแรงสำหรับเด็ก เราไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนใด ๆ กับการฉีดวัคซีนเหล่านี้” เจ้าหน้าที่สาธารณสุข Britta Bjorkholm กล่าวในการแถลงข่าว

เธอเสริมว่าการตัดสินใจดังกล่าวสามารถกลับมาทบทวนได้อีกครั้งหากการวิจัยมีการเปลี่ยนแปลงหรือหากมีตัวแปรใหม่เปลี่ยนการแพร่ระบาด เด็กในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถรับวัคซีนได้อยู่แล้ว

        อย่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการทั่วไปของหน่วยงาน Karin Tegmark Wisell กล่าวเสริมในงาน แถลงข่าวว่า "เรากำลังประเมินอย่างต่อเนื่องว่าการระบาดใหญ่ในสวีเดนและส่วนอื่นๆ ของโลกเป็นอย่างไร และจะทำการประเมินใหม่ก่อนภาคเรียนฤดูใบไม้ร่วง"

        จะเห็นได้ว่าแนวทางการให้วัคซีนแก่เด็กอายุ ๕-๑๑ ปี ของสวีเดนนั้น เป็นแนวทางที่สอดคล้อง กับการให้วัคซีนในกรณีฉุกเฉิน ตามคำจำกัดความของ FDA ที่ให้พิจารณาตามสถานการณ์ที่เหมาะสม และพิจารณาการรับวัคซีนเป็นกรณีไป ต่างจากแนวทางของรัฐบาลไทยที่สนับสนุนให้เด็กรับวัคซีนกรณีฉุกเฉินอย่างทั่วถึง

 

เด็กติดโควิด แต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต อัตราการเสียชีวิตร้อยละ ๐.๐๑

        จากข้อมูลทางสถิติของเด็กในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยสถาบันกุมารแพทย์และโรงพยาบาลเด็ก

https://downloads.aap.org/AAP/PDF/AAP%20and%20CHA%20-%20Children%20and%20COVID-19%20State%20Data%20Report%201.20.22_FINAL.pdf

ตารางที่ ๑ การสำรวจจำนวนเด็กที่ติดโควิดตั้งแต่อายุ ๐-๒๐ ปี จาก ๔๙ มลรัฐ ในประเทศสหรัฐอเมริกา State Data Report: Summary of publicly reported data from 49 states, NYC, DC, PR, and GU


     

ตารางที่ ๒ ในช่องขวามือแสดงให้เห็นอัตราการตายของเด็กหลังจากติดโควิดร้อยละ ๐.๐๑ 


นั่นจึงเป็นเหตุให้หลาย ๆ ประเทศเริ่มพิจารณาและชั่งน้ำหนักถึงความเสี่ยงต่อชีวิตของเด็ก ระหว่างไวรัสโควิด กับ ผลข้างเคียงจากวัคซีน สิ่งใดมีความเสี่ยงมากกว่ากัน?

 

ผลข้างเคียงจากวัคซีน

ตารางที่ ๓ ข้อมูลจาก สปสช ณ วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๕ ยอดผู้ได้รับผลข้างเคียง (ที่เข้าเกณฑ์) จำนวนทั้งสิ้น ๑๓,๙๐๔ ราย และรัฐจ่ายเงินช่วยเหลือไปแล้วกว่า ๑,๒๐๐ ล้านบาท




ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกจากเว็บไซด์ vigiaccess เกี่ยวกับผลข้างเคียงจากวัคซีนชนิดต่าง ๆ วัคซีนโควิด-๑๙ มียอดผู้ได้รับผลข้างเคียงมากกว่าสองล้านคน


อ้างอิง https://youtu.be/2b99qx-TCQ8


วัคซีนโควิด-๑๙ : ดูผลข้างเคียงหลังผู้ใหญ่ฉีดสูตรไขว้ นักเรียนรับไฟเซอร์

 

อ้างอิง https://www.bbc.com/thai/thailand-59207336 สำนักข่าว BBC ภาคภาษาไทยวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

 

ไฟเซอร์นักเรียน

กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยข้อมูลการฉีดไฟเซอร์ในกลุ่มนักเรียนอายุตั้งแต่ ๑๒-๑๘ ปี จนถึงวันที่ ๔ พ.ย. ว่า ฉีดเข็มแรกไปแล้ว ๒.๕ ล้านคน หรือกว่า ๕๖% ของกลุ่มเป้าหมาย กรมควบคุมโรค ระบุว่าได้รับรายงานว่ามีผู้ที่ได้รับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนเล็กน้อยในสัดส่วนที่เป็นปกติ  ส่วนที่มีอาการรุนแรงตามที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น ยังไม่มีการข้อสรุปว่ามีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการรับวัคซีน

   

ราชบุรี- เด็กหญิงอายุ ๑๒ ปี ชั้น ป.๖ ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงปอด

เด็กหญิงอายุ ๑๒ ปี ชั้น ป.๖ ที่ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เริ่มมีอาการทางร่างกาย หลังจากฉีด วัคซีนไฟเซอร์เข็มแรกเป็นเวลา ๕ วัน นายพิพัฒพงศ์ ตันพานิช อายุ ๕๐ ปี พ่อของเด็กหญิง

ให้ข้อมูลว่า ได้พาบุตรสาวไปรับวัคซีนที่ศูนย์ฉีดวัคซีนของ รพ.เจ็ดเสมียน เมื่อวันที่ ๑๙ ต.ค. เมื่อกลับมาบ้าน พบว่ามีอาการเจ็บแขน ๓ วันและหาย หลังจากนั้นเริ่มไอแห้งหลังฉีดวัคซีน ไปแล้ว ๕ วัน ต่อมาในวันที่ ๒๕ ต.ค. เด็กหญิงเริ่มมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เล็บมือและปากเขียว จึงไปพบแพทย์ที่คลินิก แต่แพทย์ได้รีบส่งตัวต่อที่ รพ.ราชบุรีในวันเดียวกัน

ในกลางดึกคืนนั้น รพ.ราชบุรี ตัดสินใจส่งตัวเด็กหญิงเข้ารักษาตัวที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี กรุงเทพฯ เนื่องจากมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ต่อมาโรงพยาบาล แจ้งว่ามีอาการลิ่มเลือดอุดขั้วหัวใจ 2 ขั้ว ทำให้หัวใจบวม และมีเลือดไปอุดตันบริเวณเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงปอด ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่ห้องไอซียู เป็นเวลา 6 วัน ก่อนอาการดีขึ้นตามลำดับ

 

ลำปาง- วัยรุ่นหญิง อายุ 16 เสียชีวิตหลังฉีดไฟเซอร์เข็ม 2

น.ส.อรจิรา จรูญโรจน์ ณ อยุธยา อายุ 16 ปี นักศึกษาชั้นที่ปี 1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา หลังเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยี่ห้อไฟเซอร์ เข็มที่ 2 เมื่อวันที่ 27 ต.ค.ข้อมูลจากครอบครัวระบุว่า น.ส.อรจิรา รับวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 1 เมื่อวันที่

6 ต.ค. หลังฉีดมีอาการปกติ และฉีดเข็มที่ 2 ในวันที่ 27 ต.ค. หลังฉีดวันแรกอาการปกติ แต่ใน วันที่ 28-29 ต.ค. เริ่มมีอาการปวดท้อง คล้ายท้องเสีย และมีอาเจียนร่วม ครอบครัวเข้าใจว่า เป็นอาการของอาหารเป็นพิษ เข้าห้องน้ำและอาเจียนตลอดทั้งคืน จึงรับประทาน พาราเซตามอล โจ๊ก เกลือแร่ และได้ซื้อยาแก้อาเจียนมารับประทาน หลังจากนั้นอาการท้องเสียดีขึ้น แต่ยังอาเจียนอยู่ แพทย์ตรวจร่างกายและระบุสาเหตุว่า มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 400 mmol/L และเกิดภาวะเลือดเป็นกรด ผู้ป่วยเริ่มหายใจเองไม่ได้ จนแพทย์ต้องเจาะคอใส่ท่อช่วยหายใจ ก่อนจะนำตัวเข้ารักษาในห้องไอซียู เป็นเวลา 3 วัน และเสียชีวิตในที่สุด ทางรพ.แจ้งกับครอบครัวว่า น.ส.อรจิรา เสียชีวิตด้วยสาเหตุหลอดเลือดในปอดมีลิ่มเลือดอุดกั้น ร่วมกับการติดเชื้อในกระแสเลือด  


เด็กชายวัย 12 ปี มีโรคประจำตัว เสียชีวิตหลังจากฉีดไฟเซอร์ 3 สัปดาห์

        ส่วนกรณีอื่น ๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขสรุปแล้วว่าไม่เกี่ยวกับการฉีดัวคซีนไฟเซอร์ คือ กรณีเด็กชายวัย 12 ปี ในกรุงเทพฯ ป่วยเป็นโรคเบาหวนเรื้อรัง เสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 3 สัปดาห์  กรมควบคุมโรคชี้แจงว่าเมื่อวันที่ 1 ต.ต. ว่าเด็กชายป่วยเป็นโรคเบาหวานมาตั้งแต่แรกเกิด รักษาตัวด้วยการฉีดอินซูลินที่บ้านวันละ  3 เวลา และยังรักษาตัวอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลรามาธิบดี

        เด็กชายคนนี้ เข้ารับการฉีดวัคซีนเมือวันที่ 14 ก.ค. ซึ่งเป็นการฉีดให้เด็กที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว ต่อมาในวันที่ 12 ส.ค. หรือ 3 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีน เริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน กินอาการได้น้อย แต่ไม่มีอาการมือสั่น ใจสั่น ไม่ซึม ไม่เจ็บหน้าอก รวมทั้งไม่มีไข้หรืออาการเหนื่อยง่าย  ต่อมาในเช้าวันที่ 13 ส.ค. ผู้ปกครองพบว่าเด็กชายนอนไม่รู้สึกตัว จึงนำส่งโรงพยาบาล ก่อนจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา

        จากเนื้อหาข่าวทั้งหมดข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมีทั้งจากสาเหตุต่าง ๆ แต่ไม่มีแพทย์ท่านใดออกมาระบุว่าเกิดจากการฉีดวัคซีน ทั้ง ๆ ที่นักเรียนหลายคนที่ได้รับวัคซีนไป และเกิดผลข้างเคียง ล้วนเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติมาก่อนการรับวัคซีน

 

 รัฐบาลไทยควรทบทวนนโยบายฉีดวัคซีนในเด็กหรือไม่?

        จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ตั้งแต่แนวทางการให้วัคซีนใช้ในกรณีฉุกเฉิน ควรเป็นสิ่งที่รัฐบาล ต้องพิจารณาว่าเด็กจำนวนมากควรรับวัคซีนชนิดนี้ตามแนวทางเดิมที่เกิดขึ้นกับนักเรียนอายุ ๑๒-๑๘ ปีที่มีการให้วัคซีนไปแล้วถึง ๒.๕ ล้านคนนั้นยังเรียกว่าเป็นการให้วัคซีนที่ถูกต้อง กับแนวทางของคุณสมบัติของวัคซีนกรณีฉุกเฉินหรือไม่?

        การที่รัฐบาลไม่ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ประชาชนอาจทำให้เกิดผลเสียหายที่ตามมา เช่น ผู้ปกครองตัดสินใจให้บุตรหลานฉีด โดยไม่ได้ตระหนักถึงอาการข้างเคียงต่าง ๆ ที่มีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงขั้นเสียชีวิต

        ดังนั้นคุณสมบัติ และความเสี่ยงด้านผลข้างเคียงของวัคซีนที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินชนิดนี้ จึงควร ได้รับการทบทวน และพิจารณาอย่างเร่งด่วนก่อนเริ่มใช้นโยบายฉีดวัคซีนให้เด็กอายุ ๕-๑๑ ปี

   

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

วัคซีนโควิด จำเป็นสำหรับเด็กๆจริงหรือ?... เมื่อคนญี่ปุ่นก็ตั้งคำถามเดียวกัน

 




ผู้คนที่มีอาการไม่พึงประสงค์หลังจากรับวัคซีนมีครอบคลุมหลายช่วงวัย ที่น่ากังวลใจคือ จำเป็นสำหรับเด็กเล็กขนาดนั้นเชียวหรือ ในเมื่อแม้แต่ผู้ใหญ่ยังพบผู้ได้รับความทุกข์ทรมานทางกายตามมาภายหลัง ที่ญี่ปุ่นก็เป็นอีกประเทศที่ตั้งคำถามถึงความจำเป็นนี้ จนสื่อสิ่งพิมพ์ในญี่ปุ่นหลายสำนักพากันลงข่าวถึงผลข้างเคียงที่พบทั้งในผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้ง 12 ปี ซึ่งได้รับไปแล้วก่อนหน้านี้  และเมื่อกระทรวงสาธารณสุขและแรงานของญี่ปุ่นได้อนุมัติให้ครอบคลุมไปถึงเด็กเล็กวัย 5 - 11ปี  บรรดาสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหลายจึงพากันทำสกู้ปตั้งคำถามเตือนประชาชานและเพื่อสะท้อนเสียงกลับไปยังภาครัฐ
นิตยสาร Josei Seven เป็นสื่อสิ่งพิมพ์สำนักหนึ่งที่ทำสกู้ปข่าวเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง  จึงขอนำสกู้ปล่าสุดมาให้อ่านกัน

〰〰〰〰〰〰〰〰〰〰〰〰〰〰〰〰

            ร่างกายผิดปกติไปจากเดิมหลังจากฉีดวซ ทั้งๆที่ฉีดไปเพื่อหน้าที่การงาน หรือเพื่อครอบครัวแท้ๆ

            นิตยสาร Josei Seven ของญี่ปุ่น ฉบับ 3 กุมภาพันธ์ 2022 (การวางแผงนิตยสารในญป. จะวางแผงเร็วกว่าวันที่ระบุฉบับที่) ได้ยกประเด็นความทุกข์ทรมานของผู้คนที่มีอาการลงในคอลัมน์เรื่อง “อาการที่เกิดขึ้นภายหลังของวซนั้นน่าสะพรึงกลัวกว่าโควิด” ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น ยังมีเด็กๆอีกด้วยที่สภาพร่างกายผิดปกติจนไม่สามารถไปโรงเรียนได้หลังจากฉีดวซไปแล้ว

จากเด็กที่เคยร่างกายแข็งแรงดี ถ้าจู่ ๆวันหนึ่งสุขภาพกลับย่ำแย่มาถึงจุดที่ไม่สามารถไปโรงเรียนได้  หากเป็นพ่อแม่ที่มีลูก คงจะเข้าใจดีถึงความเจ็บปวดใจนี้

ที่ผ่านมา อายุที่อนุมัติให้ฉีดวซโควิดได้คือตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป  แต่ทว่า เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา  กระทรวงสาธารณสุขและแรงงาน ด้วยการประชุมของผู้เชี่ยวชาญ ได้ทำการอนุมัติเด็กตั้งแต่อายุ 5 ปีอยู่ในกลุ่มที่ต้องฉีด โดยมีกำหนดการณ์จะเริ่มต้นฉีดให้กับเด็กกลุ่มนี้กลางเดือนมีนาคม

อย่างไรก็ตาม วซมีความจำเป็นครอบคลุมไปถึงเด็กเล็กด้วยจริงหรือ ตามรายงานของนิตยสารนี้ ฉบับดังกล่าว ได้รายงานว่า มีผู้มีอาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากฉีด ซึ่งไม่เว้นแม้แต่เด็กช่วงวัย 10 -19 ปีด้วย ไม่ใช่แค่พ่อแม่ แต่ผู้ใหญ่(ผู้ปกครอง)ที่มีความรับผิดชอบต่ออนาคต ก็น่าจะรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นในเด็กๆที่ฉีดไปก่อนหน้านี้แล้ว นักข่าวชื่อ โทรุ โทริดามาริ และทีมสัมภาษณ์ของนิตยสาร Josei Sebun รายงาน

 

เนื้อหาในตำราเรียนไม่เข้าหัว

ดช. H (อายุ 13 ปี) อาศัยอยู่ในภูมิภาคคันโต เป็นนร.มัธยมต้นที่ไปโรงเรียนอย่างมีพลังทุกวัน สุขภาพแข็งแรงทำกิจกรมมชมรมได้เต็มที่ แต่ทว่า หลังจากฉีดไปแล้วช่วงหลายปีก่อน แทบจะไปโรงเรียนไม่ได้เลย พ่อแม่ของดช. H ได้เล่าว่า

“เพราะได้ดูข่าวจากทีวีว่ามีเด็กที่ทุกข์ทรมานจากอาการที่เกิดขึ้นภายหลังของโควิด เลยรู้สึกกลัวจึงให้ลูกไปฉีด หลังจากไปฉีดวซที่โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ ๆ ตอนอยู่ในรถระหว่างทางกลับบ้านลูกก็มีอาการง่วงผิดปกติ นอกเหนือจากนี้ ก็ไม่ต่างจากปกติ กินอาหารค่ำได้ตามปกติด้วยเช่นกัน

วันถัดมา ต้องนอนพักเพราะมีไข้รุมๆ  วันที่ 2 ไข้ก็ลดลงแล้ว และออกไปปั่นจักรยานกับเพื่อน ๆที่รับปากกันไว้  แต่ระหว่างทางกลับบ้าน ลูกรู้สึกเหนื่อยอ่อนมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ในที่สุดก็พาตัวเองกลับมาบ้านพร้อมจักรยานจนได้”

         จากนั้นก็อาบน้ำเลยทันที หลังจากอาบน้ำเสร็จได้ไม่นาน เหงื่อก็เริ่มออกมาก พอวัดอุณหภูมิร่างกายแล้ว มีไข้เกือบ ๆ 38องศา จากนั้นเป็นต้นมา แม้จะผ่านไป 4 เดือนแล้ว ตอนนี้ก็ยังมีอาการอ่อนระโหยโรยแรงอยู่

“อุณหภูมิร่างกายผันผวนขึ้นลงอย่างมาก ถึงระดับ 35 องศา และแม้แต่ตอนนี้ ก็ยังคงมีไข้ประมาณ 37.5 องศา  นอกเหนือจากตอนกินอาหารแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะนอน  จึงเป็นห่วงว่าจะเรียนไม่ทัน เลยบอกให้เขาอ่านหนังสือเรียน แต่ลูกบอกว่าไม่สามารถจดจ่อได้อย่างต่อเนื่อง อ่านอย่างไรก็ไม่เข้าหัว แม้แต่การทำงานของโทรศัพท์มือถือก็งงๆ เลยได้แต่นั่งจ้องหน้าจออยู่อย่างนั้น”

ความผิดปกติของดช. H ไม่ได้มีเพียงเท่านี้

“เดิมทีจะเป็นเด็กที่ชอบกินแฮมเบอร์เกอร์ สเต็ก เนื้อย่าง แต่ตั้งแต่ร่างกายผิดปกติไป ก็บอกว่าไม่อยากกิน จะยอมกินเฉพาะผักหรือเนื้อไก่ฉีกที่ต้มในน้ำซุปรสชาติอ่อนๆเท่านั้น  อาจเป็นเพราะไม่ได้ออกกำลังกาย เลยไม่ค่อยอยากอาหาร กินได้ในปริมาณน้อย

หลังจากนั้น กลายเป็นว่ามีความรู้สึกไวมากต่อเสียงและความเจ็บปวด แค่เรียกชื่อก็ยังกลัวจนตัวสั่นก็มี พอถามว่าทำไม ลูกก็ตอบว่า รู้สึกถูกเรียกกะทันหัน เพราะเหม่อลอยอยู่ตลอด  อีกทั้งเพราะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างเพียงพอ ดิฉันเลยคิดว่าจะนวดให้ แต่แค่ตีเบาๆที่หลัง ก็รู้สึกเจ็บปวดมาก”

 

วันที่ไปโรงเรียนได้ก็มี แต่ไม่สามารถจดจ่อกับการเรียนได้ และกลับมาบ้านในสภาพอิดโรย ให้ออกไปข้างนอกด้วยกัน อย่างพาสุนัขไปเดินเล่น ใช้เวลาไป 30 นาที พอกลับมาก็ล้มตัวลงนอนแล้วบ่นว่าเหนื่อย

“เพราะหยุดเรียนมาตลอด เวลาออกไปข้างนอกก็รู้สึกไม่ดีเวลาเจอเพื่อนร่วมชั้น ดูเหมือนมีความท้อแท้ ทั้งการเรียนช้าไม่ทันเพื่อน และกับสภาพร่างกายที่ไม่ปกติ  จะมีวิธีการใดบ้างหนอที่จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้”

 

ยังมีนักเรียนมัธยมต้นที่อยู่ในภูมิภาคคันโตคนอื่น ๆ อีกที่ไม่สามารถไปโรงเรียนได้เนื่องจากปวดหัวอย่างรุนแรงหลังจากที่ฉีดมาแล้ว จากอีเมลที่ตอบกลับมาจากบรรดาผู้ปกครองโดยมีเงื่อนไขไม่ให้มีการเปิดเผยอายุและเพศ

 

“เริ่มมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรงโดยทันทีหลังจากไปฉีดครั้งที่ 2 เมื่อต้นเดือนพ.ย. ปีก่อน  แม้จะกินยาแก้ปวดที่หมอประจำครอบครัวสั่งให้ ก็ไม่ได้ผลเลย ผ่านไป 1 สัปดาห์ก็ยังไม่หาย  พอไปรับการตรวจซ้ำ หมอกลับบอกว่าไม่ได้เป็นผลมาจากวซ  ขอให้ใช้โทรศัพท์มือถือแค่พอประมาณ และหมั่นกินตับ ทั้ง ๆที่ดิฉันก็ไม่ได้ให้ลูกใช้โทรศัพท์มือถือ”

            ตอนที่ไปตรวจซ้ำก็สั่งยาแก้ปวดตัวอื่นมาให้ แต่แม้ว่าจะผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ก็ยังไม่หาย คราวถัดมาก็ไปตรวจที่แผนกศัลยกรรมประสาทที่โรงพยาบาลทั่วไปตามคำแนะนำของเภสัชกรที่จ่ายยาให้  แต่ที่นั่นก็ตรวจออกมาเหมือนกันว่าไม่เกี่ยวกับวซ

“แม้จะผ่านไป 3 สัปดาห์แล้วแต่ก็ยังไม่ดีขึ้น เลยไปตรวจที่แผนกศัลยกรรมประสาทอีกครั้ง โดยร้องขอให้ตรวจสอบอย่างละเอียดขึ้นอีกเพราะมันเป็นเรื่องผิดปกติที่ปวดศีรษะแบบนี้มาอย่างต่อเนื่อง  ทว่า คุณหมอกลับบอกว่า ผลข้างเคียงจากวซไม่น่าจะออกมาแบบนี้ ทางเราจ่ายได้แค่ยาแก้ปวดเท่านั้น  เลยร้องขอให้เขาตรวจสมองด้วยการ MRI ทางรพ.จึงยอมทำให้

ผลไม่พบความผิดปกติใดๆ  คุณหมอกลับปฏิเสธออกมาว่า ไม่สามารถทำอะไรไปได้มากกว่านี้แล้ว หากยังคงยืนยันว่าเป็นผลมาจากวซ ขอให้ไปหารพ.ที่สามารถตรวจให้ได้เอาเองละกัน”

ในที่สุดตอนปลายปี ด้วยการแนะนำจากคนที่รู้จักจึงได้พบรพ.ที่กรุณารับตรวจให้ นับเป็นครั้งแรกที่ได้รู้สึกว่าครอบครัวได้รับการช่วยเหลือ แต่ก็เป็นการรักษาแบบลองผิดลองถูก ปัจจุบันอาการที่เป็นอยู่ก็ยังเหมือนเดิม

“ลูกพยายามไปโรงเรียนแล้ว แต่ไม่อาจอดทนต่ออาการปวดหัวได้ สุดท้ายก็เรียนไม่ไหว ทุกวันต้องเลิกเรียนเร็วให้พ่อแม่มารับ เราที่เป็นพ่อแม่ก็แทบจะทรุดไปด้วยเหมือนกันต่อสภาพที่มองไม่เห็นว่าวันข้างหน้าจะเป็นเช่นไร ใช้ชีวิตแต่ละวันไปได้จากกำลังใจจากครอบครัว”

 

แม้แต่การเสียชีวิตหลังจากฉีดก็เช่นกัน “ไม่มีสาเหตุที่เกี่ยวข้อง”

เมื่อฤดูกาลสอบเข้ามาถึง ทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ก็ต่างออกข่าวเรื่องการให้นร.ที่จะเข้าสอบได้ฉีดก่อน และ ข่าวการปิดโรงเรียนเนื่องจากโอไมครอน แต่กลับไม่มีรายงานข่าวที่เผยถึงเสียงของเด็กๆที่ได้รับความทุกข์ทรมานหลังจากฉีดวซเลย แต่กรณีเช่นนี้ของพวกเด็กๆก็ไม่ใช่เรื่องแปลก

ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขและแรงงาน ทุกๆ 3 สัปดาห์จะมีการเปิดประชุม อนุกรรมการวซกับการฉีดป้องกัน และอนุกรรมการทบทวนผลข้างเคียง และเผยแพร่จำนวนรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่น่าสงสัยที่ได้รับรายงานมาจากสถาบันทางการแพทย์และบริษัทผู้ผลิตยา  ตามจำนวนล่าสุดที่เผยแพร่ไปเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2022  จำนวนกรณีที่รายงานว่ามีความรุนแรงหลังจากฉีดวซ ในวัยรุ่น มีเพิ่มขึ้นถึง 387 ราย

นิยามคำว่า “ความรุนแรง” ของกระทรวงสาธารณสุขและแรงงาน หมายถึง กรณีจำเป็นต้องเข้ารพ. และเสียชีวิต หรือมีแนวโน้มจะอยู่ในสภาพผิดปกติหรือตกอยู่ในสภาพผิดปกติอย่าถาวร และรู้ได้ถึงสภาพที่ไม่เป็นปกติ   ยิ่งไปกว่านั้น ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่ายังมีอีกหลายเคสที่ไม่ได้รับการรายงาน เนื่องจากแพทย์ไม่ยอมรับถึงความสัมพันธ์กับวซ

            เคสที่ถึงขั้นเสียชีวิตหลังจากฉีดในช่วงวัย 10 – 19 ปีมีรายงานถึง 5 ราย 

            หนึ่งในนั้น เป็นเด็กอายุ 13 ปี ที่อาศัยอยู่ในเมืองคามาคุระ จังหวัดคานางาวะ  ในวันที่ 30 ต.ค. 2021 เด็กคนนี้กลับมาบ้านหลังจากได้รับเข็มที่ 2   กินอาหาร 2 ชั่วโมงครึ่งหลังจากนั้น   4 ชั่วโมงหลังจากนั้นได้อาบน้ำตอนประมาณ 2 ทุ่มกว่าๆ  แต่ครอบครัวมาพบว่ากำลังจมอยู่ในอ่างอาบน้ำ จึงนำตัวส่งรพ. และได้รับการยืนยันว่าเสียชีวิต ครอบครัวของเด็กที่เสียชีวิตได้อ่านข้อความในที่ประชุมเมือง เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.

“ขอขอบคุณมากที่ออกมาเตือนและยกประเด็นการเสียชีวิตของเด็กช่วงวัย 10 – 19 ปี หลังจากฉีดวซโควิดขึ้นมา ลูกๆอันแสนล้ำค่าของดิฉัน หลายชั่วโมงหลังจากที่ไปฉีดวซมา กลับมีลักษณะผิดปกติอย่างฉับพลัน และได้จากโลกนี้ไปเสียแล้ว นับแต่นั้นมา ไม่ว่าอะไรก็ไม่อาจไว้ใจได้ แม้แต่เสียงใครก็ไม่รับรู้ ใช้ชีวิตอย่างทุรนทุราย ทั้งเจ็บปวดใจ และโศกเศร้า

ปรารถนาเหลือเกินที่จะทำให้หลักฐานในการเคยมีชีวิตอยู่ของลูกให้มีความหมายที่สุด ในที่สุดฉันก็เริ่มมีความรู้สึกแบบนี้ขึ้นมาจนได้ แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง ได้โปรดส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้องให้เป็นวงกว้าง อย่างน้อยก็ขอให้ปกป้องรักษาร่างกายที่แข็งแรง และชีวิตของหนุ่มสาวทั้งหลายที่ยังมีอนาคต”

 

            เมื่อดูกรณีตัวอย่างของเด็กชายที่ได้รับการตีพิมพ์ในรายงายของคณะอนุกรรมการทบทวนผลข้างเคียงของกระทรวงสาธารณสุขและแรงงาน สถาบันทางการแพทย์สรุปว่ามีความเกี่ยวข้องกับวซ แต่หน่วยงานที่ชันสูตรพลิกศพตัดสินว่าไม่สามารถประเมินได้

            ส่วนการประเมินเมื่อวันที่ 21 ม.ค. โดยผู้เชี่ยวชาญของคณะอนุกรรมการเดียวกัน มีการบันทึกไว้ว่า “แม้จะพิจารณาได้ว่าเกิดหัวใจเต้นผิดปกติถึงขั้นเสียชีวิตจากอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน แต่จากผลของ Troponin (การตรวจสอบกล้ามเนื้อหัวใจตาย และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ) จึงพิจารณาว่ามีความเป็นได้น้อยถึงความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจและสรุปผลว่าไม่สามารถประเมินได้ถึงสาเหตุการตายที่มีความสัมพันธ์กับวซเนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ” 


แต่จะดีเหรอที่เราจะปล่อยให้กรณีที่เสียชีวิตเลยในวันที่ฉีด สรุปว่าไม่ทราบสาเหตุ?  

            นพ. เซจิ โคจิมะ ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ (แผนกกุมารเวช) มหาวิทยาลัยนาโงย่า ผู้เกี่ยวข้องในการวิจัยและรักษามะเร็งในเด็ก เช่น ลูคีเมีย และเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาพันธุกรรมบำบัด (Gene Therapy) ที่ได้ประยุกต์เทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกับวซโควิด กล่าวว่า

            “โดยพื้นฐานแล้ว วซมีไว้สำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรงและสามารถมีชีวิตอยู่ได้ตามปกติจนถึงตอนนั้น หากเสียชีวิตในวันที่ไปฉีดมา ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ครอบครัวจะสงสัยว่ามีความเกี่ยวข้องกับวซหรือไม่

แม้ว่าจะทำการตรวจสอบต่างๆแล้ว หากไม่พบความผิดปกติ หากพิจารณาปัจจัยอื่นๆไม่ได้ พื้นฐานของพยาธิวิทยาคือการพิจารณาหาว่าสิ่งนี้แหละเป็นสาเหตุ เคสที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ไม่อาจจะบอกได้ว่าไม่เกี่ยวกับวซ ผู้ป่วยนอกของผมก็เช่นกัน มีอาการเหนื่อยอ่อนหลังจากฉีดมา คนไข้ที่เป็นเด็กๆที่หยุดเรียนไปถึง 2 สัปดาห์ก็มี”

            วซโควิดที่มาจากไฟ-และโม- มีองค์ประกอบหลักเป็นยีนของโปรตีนไวรัสที่ถูกห่อหุ้มด้วยไขมัน ด้วยการฉีดเข้าไปในร่างกาย ยีนที่ถูกไขมันห่อหุ้มไว้จะเข้าไปในเซลล์ของร่างกาย เซลล์นั้นๆ จะเริ่มสร้างโปรตีนสไปค์ที่เป็นหนามยื่นออกมาซึ่งอยู่บนผิวของตัวไวรัส  เมื่อเซลล์ภูมิคุ้มกันตรวจจับสิ่งนี้ได้ แอนตี้บอดี้จึงสามารถต่อต้านไวรัสในร่างกายได้

            แม้แต่ในนิตยสาร Josei Seibun ฉบับวันที่ 3 ก.พ. 2022 ยังได้นำเสนอความคิดเห็นของทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยาว่า โปรตีนสไปค์น่าจะเป็น trigger ของอาการที่เกิดขึ้นภายหลังของวซ ซึ่งนพ. เซจิ โคจิมะก็ชี้ให้เห็นถึงความเป็นได้นี้เช่นกัน

“เป็นที่ทราบกันว่าเมื่อติดเชื้อโควิดแล้ว จะเกิดอาการอักเสบเนื่องจากสารที่หลั่งมาจากเซลล์ภูมิคุ้มกัน เกิดเป็นปรากฏการณ์ Cytokine Storm ที่ทำให้อวัยวะภายในเสียหาย แม้ภาพรวมทั้งหมดยังไม่กระจ่างชัดแต่โปรตีนสไปค์ที่ถูกสร้างมาจากวซก็สามารถก่อให้เกิด Cytokine Storm และอาจมีความเป็นไปได้ของปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยอ่อน จากรายงานการวิจัยทั้งในและต่างประเทศก็บอกไว้”

 

ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้ นพ. เซจิ โคจิมะจึงออกมาเตือนถึงความเสี่ยงที่มีมากกว่าผลดีในการฉีดให้เด็ก

“เดิมที แม้เด็กติดโควิด ส่วนใหญ่อาการเบาและไม่แสดงอาการ จากข้อมูลปัจจุบันเมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่จังหวัดไอจิ  มีเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี มากกว่า 2 หมื่นคนที่มีผลตรวจเป็นบวก  และไม่มีวัยรุ่นคนใดที่ป่วยหนัก  ในทางกลับกัน กลับมีวัยรุ่นไม่น้อยที่มีความทุกข์ทรมานจากอาการที่เกิดขึ้นภายหลัง หรือเสียชีวิตหลังจากการฉีด”

            จากเคสทั่วประเทศญี่ปุ่น จำนวนเด็กวัยรุ่นที่มีอาการถึงชีวิตจากการติดโควิดมีเพียง 4 ราย  ณ ปัจจุบัน รายงานการเสียชีวิตหลังจากฉีดมีจำนวนลดลง เป็นเรื่องยากสำหรับเด็กเล็กที่ตัดสินใจด้วยตัวเอง  ดังนั้น เรื่องนี้จึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน

 

ที่มา: https://www.news-postseven.com/archives/20220128_1722604.html?DETAIL








วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

นโยบายการจัดการกับโควิด -๑๙ ของประเทศไทยหลังการรับวัคซีนกับข้อเท็จจริงที่ถูกมองข้าม

      

 

        บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงทางสถติของสัดส่วนประชากรที่ติดเชื้อโควิด-๑๙  ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศหลังการรับวัคซีน  เพื่อเป็นข้อมูลให้ทั้งภาครัฐ สื่อมวลชน และ ประชาชน ได้ทบทวนมาตรการการเช็คประวัติการรับวัคซีนในการเดินทาง การใช้บริการจากหน่วย งานรัฐ เอกชน การสมัครเข้าทำงาน ว่าควรมีอยู่หรือไม่ในสังคมไทย รวมถึงประเด็น ที่ควรพิจารณาอย่างเร่งด่วน นั่นคือ นโยบายรับวัคซีนของเด็ก

        โดยบทความนี้จะใช้ข้อมูลทางสถติของจำนวนประชากรทั้งหมด จำนวนประชากรที่รับวัคซีน และ จำนวนประชากรทที่ติดโควิดมานำเสนอ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีที่มาทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ

การใช้วัคซีนโควิด-๑๙ ในการรับมือกับปัญหาโควิดในประเทศไทย 

         ประเทศไทยเริ่มมีการฉีดวัคซีน มาตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๔ และดูเหมือนว่า รัฐบาลไทยเลือกที่จะใช้การฉีดวัคซีนเป็นแนวทางหลักในการแก้ปัญหาโควิดจนถึงปัจจุบัน โดยขาดการพิจารณาสถิติและข้อมูล ทั้งจากประเทศฝั่งตะวันตกทที่รับวัคซีนก่อนเรา หรือจากข้อมูลในประเทศที่แจ้งสัดส่วนประชากรผู้ติดโควิด-๑๙ หลังจากการระดมฉีดไปแล้ว เพื่อทบทวนและปรับนโยบาย การจัดการต่อโรคให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งในแง่สุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมต่อไป 


Inform & Consent ขั้นตอนที่ถูกละเลย 

        แม้ว่า ในช่วงต้นปี๒๕๖๓ ซึ่งเป็นช่วงของการระบาดของไวรัสโควิด-๑๙  ทางรัฐบาลได้มีแนวทางทั้งการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ที่มีหลักฐานว่าสามารถดูแลผู้ป่วยโควิดในเรือนจำเชียงใหม่ได้ทั้งสี่พันกว่าราย และไม่มีผู้เสียชีวิต  แต่แนวทางการใช้ทางเลือกต่าง ๆ และการดูแลตนเองให้มภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่แข็งแรงกลับค่อยๆเลือนหายไปจากสื่อกระแสหลัก คงเหลือเพียงการประโคมข่าวการตรวจหาเชื้อจำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน ยอดสะสม คลัสเตอร์ต่าง ๆ  Time Line ซึ่งเป็นการเน้นให้เกิดความตื่นกลัวมากกว่าการให้ความรู้กับประชาชน จากนั้นก็มีการพูดถึงการสั่งซื้อวัคซีนโควิด-๑๙ ยี่ห้อต่างๆ และช่วงเวลาที่จัดสรรวัคซีนให้แก่ประชาชน   แต่หลงลืมที่จะให้ข้อมูลที่สำคัญกว่าวัคซันโควิด -๑๙ ที่นำมาใช้ทั่วไป คือวัคซีนฉุกเฉินที่อยู่ในขั้นทดลอง ก่อนที่ประชาชนจะได้ลงชื่อยินยอมรับวัคซีนนี้เข้าร่างกาย


อ้างอิง https://www.healthline.com/health-news/heres-exactly-where-were-at-with-vaccines-and-treatments-f or-covid-19  เว็บไซด์healthline  ณ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕



        บริษัทประกาศเมื่อปลายเดือนตุลาคมว่าได้เสร็จสิ้นการสรรหาผู้เข้าร่วมการทดลองเฟส ๓ ทั้ง ๓๐,๐๐๐ คนแล้ว ซึ่งรวมถึงผู้คนมากกว่า ๗,๐๐๐ คนที่มีอายุเกิน ๖๕ ปีและคนอายุน้อยกว่า ๕,๐๐๐ คนที่เป็นโรคเรื้อรังที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ที่รุนแรง

        ในช่วงต้นเดือนตุลาคม เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกาศว่า วัคซีนของพวกเขาจะไม่มีจำหน่ายในวงกว้างจนถึงฤดูใบไม้ผลิปี ๒๐๒๑ ปลายเดือน  CEO ของ Moderna บอกกับนักลงทุนว่า ข้อมูลการทดลองและคณะกรรมการตรวจสอบความปลอดภัยสามารถเริ่มวิเคราะห์ข้อมูลการ ศึกษาในเดือนพฤศจิกายน

        ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ของ Moderna รายงานว่าวัคซีนของพวกเขา บรรลุอัตราที่ได้ผลร้อยละ 94 ในผลการทดลองระยะที่ 3 เริ่มแรก  ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าจำเป็นต้องมีการทดสอบและข้อมูลเพิ่มเติม

        เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ของ Moderna กล่าวว่าพวกเขาจะยื่นขอวัคซีนกับ FDA เพื่อขออนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน

        จากข้อมูลข้างต้น คำจำกัดความของวัคซีนเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินตามความหมายของ FDA คือ ผู้รับวัคซีนจะได้รับอนุญาตให้ได้รับวัคซีน เฉพาะในช่วงระยะเวลาของการประกาศว่ามีสถานการณ์ที่สมเหตุสมผล ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ไม่เคยถูกนำมาพูดถึงให้ประชาชนรับทราบตามคำอธิบายเกี่ยวกับวัคซีนกรณีฉุกเฉิน (Approved for Emergency use)

อ้างอิงคำอธิบายเกี่ยวกับความหมายของวัคซีนกรณีฉุกเฉิน https://www.pfizer.com/news/press-release/press-release-detail/pfizer-and-biontech-initiate-study-evaluate-omicron-based

ข้อมูลจากเว๊บไซด์ของบริษัท Pfizer ณ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕

 

การใช้ข้อมูลทางสถิติ “จำนวนรับวัคซีนแล้วติดโควิด” ในการทบทวนนโยบายของรัฐ

ตารางที่ ๑ ประชากรในประเทศไทยรับวัคซีนแล้วกว่าร้อยละ ๗๕ 



ตารางที่ ๒


บาร์สีฟ้า แสดงถึงผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-๑๙) ที่ฉีดวัคซีนครบ ๒ โดสแล้ว

บาร์สีน้ำเงิน แสดงถึงผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-๑๙) ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนครบ หรือที่ไม่ได้แจ้งสถานะการฉีดวัคซีน



        สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี  รายงานสถานการณ์ "โควิดวันนี้" ผู้ป่วยยืนยันโควิด19 จ.นนทบุรี ประจำวันที่ 28 มกราคม 2565 จำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 438 ราย  เพศหญิง 248 ราย เพศชาย 190 ราย ต่างชาติ 4 ราย (ลาว 4 ราย) มีอาการ 217 ราย คิดเป็น 49.54% ไม่มีอาการ 221 ราย คิดเป็น 50.46%

ประวัติการรับวัคซีนของผู้ติดเชื้อ

     รับวัคซีนเข็มที่ 1 แล้ว 14 ราย 3.09 %

     รับวัคซีนเข็มที่ 2 แล้ว 235 ราย 53.65 %

     รับวัคซีนเข็มที่ 3 แล้ว 40 ราย 9.13 %

     รับวัคซีนเข็มที่ 4 แล้ว 4 ราย 0.91%

(มีประวัติรับวัคซีน 293 ราย 66.89%) ไม่เคยได้รับวัคซีน 145 ราย 33.10%

อ้างอิง https://www.bangkokbiznews.com/news/985316             


เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากตารางที่ ๑ , ๒ และสัดส่วนของผู้ที่ติดโควิดจากสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีข้างต้น แสดงให้เห็นว่าผู้ที่รับวัคซีนแล้วมีสัดส่วนการติดโควิด มากกว่าผู้ที่ยังไม่รับวัคซีน ซึ่งเป็นในทิศทางที่สอดคล้องกันกับข้อมูลจากรัฐเมสซาชูเซตส์

 

ความเสี่ยงที่ประชาชนต้องเผชิญกับนโยบายแก้ปัญหาโควิดโดยใช้วัคซีนเป็นทางออกเดียว

ตารางที่ ๓

ยอดผู้ได้รับผลข้างเคียง (ที่เข้าเกณฑ์) จำนวนทั้งสิ้น ๑๓,๙๐๔ ราย และรัฐจ่ายเงินช่วยเหลือไปแล้วกว่า ๑,๒๐๐ ล้านบาท 


ข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ณ วันที่  ๓๐ มกราคม ๒๕๖๕

 https://subsidy.nhso.go.th/subsidy/#/dashboard


        หลักฐานที่ได้แสดงมาจากแหล่งข้อมูลทั้งในไทยและต่างประเทศ ทั้งทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางปรากฏการณ์จริง ทางสถิติ จากหน่วยงานสําคัญพร้อมการยืนยันโดยบุคคลสําคัญในหน่วยงานเหล่านี้ล้วนพิสูจน์ว่า

๑.วัคซีนไม่ได้สามารถป้องกันการติดหรือการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-๑๙) ได้

โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ ๒ โดสไปแล้ว ยังสามารถติด และแพร่เชื้อไม่ต่างกับผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน และในหลายกรณีกลับติดเชื้อและแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-๑๙) มากกว่าผู้ไม่ได้ฉีดวัคซีน

ขณะนี้จึงเหลือเพียงข้ออ้างที่ว่า วัคซีนช่วยให้ลดอาการจากหนักเป็นเบา แต่ถ้าได้พิจารณา ตามตารางที่ ๓ ที่แสดงให้เห็นถึงจำนวนประชากรไทย ที่รับวัคซีนมาแล้ว เกิดผลข้างเคียงกับร่างกาย กว่าหมื่นราย ยังไม่รวมผู้ที่ไม่เข้าข่าย ผู้ที่ถูกแพทย์ปฏิเสธว่าอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับวัคซีน (แม้ว่าก่อนรับวัคซีนจะมี ร่างกายแข็งแรง ปกติดี) และผู้ที่เกิดผล ข้างเคียงแต่ไม่ได้แจ้งกับแพทย์หรือ สปสช  คำถามคือ แนวทางการจัดการกับโรคไวรัส โคโรน่า(Covid-๑๙) ที่ใช้อยู่ขณะนี้ รัฐทำถูกทางแล้วหรือไม่?


แหล่งข่าว ไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/news/local/2185415

๒.วัคซีนไม่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่

ด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมาร เวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุถึงภูมิคุ้มกันหมู่ว่า ปัจจุบันเห็นได้ชัดแล้วว่า วัคซีนทุกชนิดไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เพียงแต่ลดความรุนแรงของโรค ลดอัตราการตายและผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วกับผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน เมื่อติดเชื้อปริมาณไวรัสที่อยู่ในตัวสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ ดังนั้นวัคซีนที่ใช้ในขณะนี้ ไม่สามารถทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้ เพราะถึงแม้มีภูมิคุ้มกันก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันลดลงตลอดเวลา แต่ลดความรุนแรงของโรคได้ พร้อมระบุด้วยว่าการฉีดวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ไม่สามารถนำมาใช้ได้ในขณะนี้ ทั้งๆที่แต่เดิมคิดว่าถ้าประชากรได้วัคซีนถึง 70 เปอร์เซ็นต์ แล้วโรคจะทุเลาลง แต่ความจริงแล้ว ประเทศที่ฉีดวัคซีนได้มากแล้วยังพบการระบาดของโรค พร้อมยกตัวอย่าง สหรัฐอเมริกา และอิสราเอล


สิ่งที่รัฐบาลควรทบทวนต่อนโยบายการจัดการกับโควิด-๑๙ ของประเทศไทย

“ฉีดวัคซีนเพื่อส่วนรวม” ข้ออ้างที่ต้องทำให้กระจ่างและต้องหยุดใช้

        จากข้อมูลข้างต้นทั้งหมด แน่นอนว่าช่วงแรกของการใช้วัคซีน ข้อมูลด้านประสิทธิภาพของวัคซีน หรือผลข้างเคียงอาจไม่มากพอ  นโยบายที่รัฐเร่งให้ฉีดวัคซีนเพื่อหวังว่าจะทำให้กันติด กันแพร่ หรือแม้แต่เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ดูจะเป็นเรื่องสมเหตุผล และประชาชนจำนวนหนึ่งก็สมัครใจที่จะรับวัคซีน เพราะหวังว่าจะเกิดผลที่คาดหวังดังกล่าว จนกระทั่งเกิดแนวคิดแบ่งแยก รังเกียจว่ากลุ่มคนที่ไม่รับวัคซีนนั้นเห็นแก่ตัว ไม่ทำเพื่อสังคม แต่เมื่อการใช้วัคซีนเป็นไปอย่างแพร่หลาย และนานพอที่จะทำให้ได้รับข้อมูลที่แท้จริงมากขึ้น จนสามารถสรุปได้ว่า วัคซีนไม่ได้กันติด กันแพร่ และไม่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่

 

ควรปรับเปลี่ยนมาตรการรัฐ เมื่อประสิทธภาพของวัคซีนไม่เป็นตามคาด

        เมื่อไม่มีหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ใดรองรับ การใช้มาตรการมีลักษณะแบ่งแยก ๒ มาตรฐาน อันเกิดจาการใช้เกณฑ์การรับวัคซีนเป็นตัวกำหนดจึงเหมือนการสนับสนุน ให้ประชาชนจำต้องยอมรับมาตรการดังกล่าวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาวะของคนในสังคม แต่เป็นมาตรการที่มีลักษณะเหมือนกฎหมู่ มากกว่ากฎหมายตามรัฐธรรมนูญ

        รัฐควรสื่อสารให้เกิดความเข้าใจต่อผลของการรับวัคซีนที่เกิดขึ้นนี้ และยกเลิก มาตรการการเข้ารับบริการ และใช้สถานที่ต่าง ๆ โดยใช้ข้อมูลในการรับวัคซีน ของแต่ละบุคคล เพราะเป็น มาตรการที่ขัดต่อหลักจริยธรรมจนกระทั่งเกิดคำถาม แก่ประชาชนว่ารัฐมีส่วนได้เสียใด กับบริษัทผู้ผลิตวัคซีน หรือไม่อย่างไร? ที่ทำให้ รัฐต้องใช้มาตราการเข้มงวดในการแสดงผล การรับวัคซีนอย่างที่เป็นอยู่ มาตรการดังกล่าว ไม่ส่งผลใด ๆ ต่อการติด หรือแพร่โรคต่อสังคม ซึ่งขัดกับจุดประสงค์ที่แท้จริงของการรับวัคซีน แต่มาตรการ แสดงผลรับวัคซีนนี้เป็นเพื่อใช้การ รับวัคซีน มาเป็นข้อต่อรอง และให้อภิสิทธิแก่ประชาชนชน กลุ่มหนึ่ง (กลุ่มที่บริษัทวัคซีนได้ผลประโยชน์) แต่กลั่นแกล้ง ลดทอนคุณค่า ทำให้ประชาชนอีกกลุ่มต้องลำบากในการใช้ ชีวิตประจำวัน การเข้าเรียน การทำงาน การเดินทาง การเข้ารับบริการ จากภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งเป็นการละเมิดลิดรอนสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียม ที่พึงมีของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

        แนวทางล่าสุดของการจัดการสถาณการณ์โควิด รัฐบาลได้สั่งวัคซีน กว่า ๓ แสนโดส เพื่อพร้อมฉีดให้เด็กวัย ๕-๑๑ ปี จึงเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้น และจากผลการใช้ วัคซีนในผู้ใหญ่หรือไม่? เหตุใดรัฐบาล สาธารณสุข ศบค. จึงไม่แสดงออกถึงความพยายามในการใช้แนวทางอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาวะของประชาชน นอกเหนือไปจากการย้ำคิด ย้ำทำ และมุ่งหวังจะใช้เพียง “วัคซีนขั้นทดลองและเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน” มาแก้ปัญหาให้กับสังคมไทย